ข้ามไปเนื้อหา

เทศมณฑลของอังกฤษ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เทศมณฑลของประเทศอังกฤษ
หรือเรียกว่า
ไชร์ (Shire)
เทศมณฑลทางพิธีการ
เทศมณฑลมหานครและนอกมหานคร
หมวดหมู่เทศมณฑล (County)
ที่ตั้ง อังกฤษ
พบในภูมิภาค
ก่อตั้งก่อตั้งในยุคกลาง
สถานะที่เป็นไปได้เทศมณฑลทางพิธีการ (48 แห่ง)
เทศมณฑลมหานครและนอกมหานคร (82 แห่ง)

เทศมณฑลของประเทศอังกฤษ เป็นการแบ่งพื้นที่เพื่อใช้ในวัตถุประสงค์ต่าง ๆ ได้แก่ การบริหาร ภูมิศาสตร์ วัฒนธรรม และการเมือง คำว่า "เทศมณฑล" ถูกจำกัดความในหลายลักษณะ บางแห่งใช้กำหนดในพื้นที่เดียวกัน และบางแห่งก็ใช้กำหนดพื้นที่ที่ต่างกันเล็กน้อย[1] ประเภทของเทศมณฑลที่แตกต่างกันเหล่านี้ต่างมีชื่อเรียกที่เป็นทางการกว่า แต่ก็มักเรียกกันโดยทั่วไปว่า "เทศมณฑล" การจัดระเบียบโครงสร้างของเทศมณฑลมีการปฏิรูปเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน เทศมณฑลของประเทศอังกฤษสามารถเทียบได้กับจังหวัดของประเทศไทย

มณฑลในปัจจุบันมีรากฐานมาจากการแบ่งเขตการปกครองของระบบการปกครองในประวัติศาสตร์เช่นในสมัยแองโกล-แซ็กซอน คำว่ามณฑลที่ในภาษาอังกฤษใช้คำว่า “County” ซึ่งมาจากบริเวณเขตการปกครองของขุนนางระดับเคานท์ แต่ในอังกฤษตำแหน่ง “เคานท์” เท่ากับตำแหน่ง เอิร์ล ของแซ็กซอนโบราณ แต่ภรรยาของเอิร์ลยังคงมีตำแหน่งเป็น “เคานเทส”

ชื่อ, เขตแดน และลักษณะการบริหารของเขตการปกครองของมณฑลเปลี่ยนแปลงไปมากจากที่เป็นมาในอดีตกาล และการปฏิรูปเขตการปกครองต่างๆ ที่เกิดเริ่มตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 19 เป็นต้นมาทำให้ความหมายคำว่า “มณฑล” ที่ใช้กันในอังกฤษค่อนข้างจะสับสนและกำกวม ฉะนั้นคำว่า “มณฑลของอังกฤษ” โดยทั่วไปจึงมิได้หมายถึงหน่วยเขตการปกครองที่แจ่มแจ้งเช่นในความหมายอย่างเป็นทางการของคำว่า “มณฑล” ตามที่เข้าใจกัน เช่นในการใช้คำว่า “มณฑล” สำหรับกรณีอื่นๆ นอกไปจากการบริหารการปกครองส่วนท้องถิ่นเช่น มณฑลภูมิศาสตร์ (Ceremonial counties), มณฑลลงทะเบียน (Registration county), มณฑลในประวัติศาสตร์ (Historic counties) หรือมณฑลไปรษณีย์ (Postal counties) เป็นต้น

มณฑลในประวัติศาสตร์

[แก้]
แผนที่มณฑลในประวัติศาสตร์

มณฑลในประวัติศาสตร์หรือที่รู้จักกันในฐานะมณฑลโบราณ 39 มณฑล ระบบมณฑลเดิมเรียกว่า “ไชร์” ที่เริ่มใช้ครั้งแรกภายในราชอาณาจักรเวสเซ็กซ์ อาจจะประมาณคริสต์ศตวรรษที่ 7 และขยายไปทั่วประเทศกระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 9, 10 และ 11 ระบบ “ไชร์” จึงกลายเป็นระบบเขตการปกครองทางภูมิศาสตร์ที่เป็นพื้นฐานของโครงสร้างของระบบการปกครองของมณฑลตลอดมาในประวัติศาสตร์ ระบบ “ไชร์” เลิกใช้เป็นระบบการรายงานจำนวนประชากรในปี ค.ศ. 1841 มณฑลในประวัติศาสตร์เกือบทั้งหมดเป็นพื้นฐานของการจัดระบบรัฐบาลส่วนท้องถิ่นโดยมีการปฏิรูปจากเดิมไปบ้าง[2]

มณฑลลงทะเบียน

[แก้]

มณฑลลงทะเบียนใช้ระหว่าง ค.ศ. 1851 ถึง ค.ศ. 1930 ในกรรายงานจำนวนประชากรระหว่าง ค.ศ. 1851 ถึง ค.ศ. 1911 มณฑลลงทะเบียนเกิดจากการรวมบริเวณอำเภอลงทะเบียนที่เล็กกว่าเข้าด้วยกัน เดิมมีรากฐานมาจากระบบเทศบาลเมือง (Municipal borough), เขตสังคมสงเคราะห์ของสหราชอาณาจักร (Poor Law Union) และต่อมาเขตสุขาภิบาลของอังกฤษและเวลส์ เขตมณฑลลงทะเบียนคาบเขตแดนประวัติศาสตร์ของมณฑลที่ทำให้เขตมณฑลลงทะเบียนแตกต่างจากมณฑลในประวัติศาสตร์

ค.ศ. 1889 ถึง ค.ศ. 1974

[แก้]
มณฑลในปี ค.ศ. 1974
มณฑลตั้งแต่ปี ค.ศ. 1998

เมื่อมาถึงปลายคริสต์ศตวรรษ 19 ความจำเป็นที่จะต้องปฏิรูประบบรัฐบาลบริหารส่วนท้องถิ่นของมณฑลก็ยิ่งเพิ่มมากขึ้น ซึ่งเป็นผลให้เกิดการแต่งตั้งคณะกรรมาธิการเขตการปกครอง (Local Government (Boundaries) Act) ขึ้นในปี ค.ศ. 1887 เพื่อสำรวจเขตการปกครองของมณฑลในอังกฤษและเวลส์ทั้งหมด คณะกรรมาธิการยื่นร่างพระราชบัญญัติรัฐบาลส่วนท้องถิ่นต่อรัฐสภาในปีต่อมา

ผลของร่างพระราชบัญญัติก็ออกมาเป็นพระราชบัญญัติรัฐบาลส่วนท้องถิ่น ค.ศ. 1888 (Local Government Act 1888) ที่ก่อตั้งระบบเทศบาลมณฑล (County council) ผู้มาจากการเลือกตั้งในอังกฤษในปี ค.ศ. 1889 ที่มาแทนหน้าที่หลายหน้าที่ของระบบศาลปกครองสี่สมัย (Quarter Sessions) และหน้าที่อื่นที่ได้รับในปีต่อๆ มา นครลอนดอนก่อตั้งจากบางส่วนของมณฑลเค้นท์, มิดเดิลเซ็กซ์ เซอร์รีย์[3] มณฑลแบ่งเป็นสองประเภท: มณฑลบริหาร (Administrative county) (บริเวณที่บริหารโดยเทศบาลมณฑล) และหน่วยงานบริหารอิสระเทศบาลมณฑล (County council) [4] ตามทฤษฎี “เทศบาลมณฑล” ของมณฑลเป็นระบบการบริหารที่เป็นหน่วยงานบริหารหน่วยเดียวเมื่อเทียบกับ “มณฑลบริหาร” ของมณฑลอื่นๆ ที่แบ่งเป็นหน่วยงานบริหารเป็นหลายหน่วย มณฑลที่เป็นระบบ “เทศบาลมณฑล” ก็ได้แก่เคมบริดจ์เชอร์, แฮมป์เชอร์, ลิงคอล์นเชอร์, นอร์ทแธมป์ตันเชอร์, ซัฟโฟล์ค, ซัสเซ็กซ์ และยอร์คเชอร์

“มณฑล” ใช้ในความหมายอื่นนอกไปจากการใช้สำหรับรัฐบาลส่วนท้องถิ่นด้วย เช่นระบบการแต่งตั้งลอร์ดเล็ฟเทนแนนท์ที่เปลี่ยนไปที่อาจจะหมายถึงระบบมณฑลบริหารหน่วยเดียวหรือระบบเทศบาลมณฑลที่เป็น “ภาคี” กัน โดยมีข้อยกเว้นของนครหลวงลอนดอนซึ่งเป็น “มณฑลอิสระ” (County corporate) ที่มีผู้บริหารมณฑลแทนพระองค์ของตนเอง ตามกฎหมายหลังปี ค.ศ. 1888 ความหมายโดยทั่วไปของคำว่า “มณฑล” ก็หมายถึงเขตการบริหารที่กล่าวนี้ แต่ความหมายอย่างไม่เป็นทางการใช้คำว่า “มณฑลทางภูมิศาสตร์” สำหรับเพื่อแสดงความแตกต่างจาก “มณฑลบริหาร” มณฑลเหล่านี้ปรากฏในแผนที่ของกรมแผนที่ (Ordnance Survey) ในเวลานั้นโดยใช้ทั้งสองชื่อและมีความหมายเช่นเดียวกับคำว่า “มณฑลผู้บริหารแทนพระองค์

เขตการปกครองของมณฑลเปลี่ยงแปลงไปเรื่อยๆ ตลอดมาที่อาจจะเกิดจากการผนวกบริเวณปริมณฑลเข้ากับตัวเมืองเป็นต้น การเปลี่ยงแปลงครั้งใหญ่เกิดขึ้นในปี ค.ศ. 1931 เมื่อกลอสเตอร์เชอร์, วอริคเชอร์, และ วูสเตอร์เชอร์ ถูกปรับเปลี่ยนโดยพระราชบัญญัติการจัดเขตการปกครองของกลอสเตอร์เชอร์, วอริคเชอร์, และวูสเตอร์เชอร์ (Provisional Order Confirmation (Gloucestershire, Warwickshire and Worcestershire)) ที่โยกย้ายท้องถิ่น/ตำบล (parish) 26 ท้องถิ่นระหว่าง 3 มณฑลนั้นเพื่อจะกำจัดมณฑลที่มีเขตการปกครองแตกแยก (List of county exclaves in England and Wales) ในอังกฤษและเวลส์

คณะกรรมาธิการจัดเขตแดนของรัฐบาลท้องถิ่น (Local Government Boundary Commission) ได้รับการก่อตั้งในปี ค.ศ. 1945 โดยมีอำนาจในการรวม, ก่อตั้งใหม่, หรือแบ่งแยกมณฑลบริหารและเทศบาลมณฑลที่มีอยู่ในขณะนั้นทั้งหมด ถ้าข้อเสนอของคณะกรรมาธิการได้รับการอนุมัติแผนที่เขตการปกครองระดับมณฑลของอังกฤษก็ต้องวาดใหม่ทั้งหมด แต่โครงการการตรวจสอบเขตการปกครองระดับมณฑลโดยคณะกรรมาธิการมาถูกละทิ้งหลังจากการเลือกตั้งทั่วไปในสหราชอาณาจักรอังกฤษในปี ค.ศ. 1950

ในปี ค.ศ. 1957 ก็มีการก่อตั้งราชกรรมาธิการเกี่ยวกับรัฐบาลท้องถิ่นของนครลอนดอนและปริมณฑล (Royal Commission on Local Government in Greater London) และคณะกรรมาธิการเกี่ยวกับรัฐบาลท้องถิ่นของอังกฤษ (Local Government Commission for England) ในปี ค.ศ. 1958 เพื่อเสนอโครงสร้างใหม่ของรัฐบาลส่วนท้องถิ่น ผลงานสำคัญของงานของกรรมาธิการในปี ค.ศ. 1965 คือ: นครลอนดอนเดิมถูกยุบและแทนที่ด้วย “เขตบริหาร” ของนครลอนดอนและปริมณฑล ที่รวมทั้งส่วนที่เหลือของมิดเดิลเซ็กซ์, บางส่วนของเซอร์รีย์, เค้นท์, เอสเซ็กซ์และฮาร์ทฟอร์ดเชอร์; ฮันติงดันเชอร์ถูกรวมกับโซคแห่งปีเตอร์เบรอเป็นฮาร์ทฟอร์ดเชอร์และปีเตอร์เบรอ; และมณฑลบริหารเคมบริดจ์เชอร์เดิมถูกรวมกับไอล์ออฟอีลีเป็น เคมบริดจ์เชอร์และไอล์ออฟอีลี

อ้างอิง

[แก้]
  1. "The problem of "county confusion" – and how to resolve it". County-wise. สืบค้นเมื่อ 28 July 2018.
  2. Her Majesty's Stationery Office, Aspects of Britain: Local Government (1996)
  3. Thomson, D., England in the Nineteenth Century (1815-1914) (1978)
  4. Bryne, T., Local Government in Britain, (1994)

ดูเพิ่ม

[แก้]