เซิมบะฮ์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เจ้าสาวชาวบาหลีทำเซิมบะฮ์ก่อนสวดภาวนา

เซิมบะฮ์ (อินโดนีเซีย: Sembah; ชวา: ꦱꦼꦩ꧀ꦧꦃ; ซุนดา: ᮞᮨᮙᮘᮃᮠ; บาหลี: ᬲᬾᬫ᭄ᬩᬄ) เป็นการทักทายของชาวอินโดนีเซีย เพื่อแสดงความเคารพนับถือหรือบูชาด้วยการพนมมือ ภาษาชวาเรียกการทักทายนี้ว่า ซูฮุน (suhun) หรือ ซูซูฮุน (susuhun) ส่วนภาษาอินโดนีเซียเรียกว่า เมินยูซุนจารีเซอปูลุฮ์ (menyusun jari sepuluh "สิบนิ้วพนม") การทำ เซิมบะฮ์ จะพนมมือไว้กลางหน้าอก แล้วขยับมือขึ้นไปที่คางหรือจนกว่านิ้วหัวแม่มือไปแตะที่ปลายจมูกก่อนก้มศีรษะลงเล็กน้อย[1]

เซิมบะฮ์ เป็นวัฒนธรรมเฉพาะถิ่นที่แพร่หลายโดยทั่วไปในอินโดนีเซียโดยเฉพาะชาวบาหลี ชวา และซุนดา ที่ปฏิบัติสืบมาแต่ยุควัฒนธรรมฮินดู-พุทธที่เคยรุ่งเรืองในอดีต มีลักษณะใกล้เคียงกับการไหว้ของไทย ซึ่งตกทอดมาจากการ อัญชลีมุทรา จากวัฒนธรรมอินเดียเช่นกัน

ในภาษาอินโดนีเซีย เซิมบะฮ์ (sembah) แปลว่า "การให้เกียรติ การคำนับ การเคารพ และการสักการะ"[1] ปัจจุบันในภาษาอินโดนีเซียมีคำว่า เซิมบะฮ์ยัง (sembahyang) มีความหมายตรงกับว่าละหมาดหรือการนมัสการพระเจ้าตามหลักอิสลาม[2]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 "Sembah" (ภาษาอินโดนีเซีย). Kamus Besar Bahasa Indonesia (KBBI). สืบค้นเมื่อ 28 May 2015.
  2. "Sembahyang" (ภาษาอินโดนีเซีย). Kamus Besar Bahasa Indonesia (KBBI). สืบค้นเมื่อ 28 May 2015.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

  • วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ เซิมบะฮ์