เจน แคมเปียน
เจน แคมเปียน | |
---|---|
แคมเปียนในปี 2016 | |
เกิด | เอลิซาเบธ เจน แคมเปียน 30 เมษายน ค.ศ. 1954 เวลลิงตัน ประเทศนิวซีแลนด์ |
พลเมือง | ซิดนีย์ รัฐนิวเซาท์เวลส์ ประเทศออสเตรเลีย |
อาชีพ |
|
คู่สมรส | Colin David Englert (สมรส 1992; หย่า 2001) |
บุตร | 2; รวมถึง Alice Englert |
เดม เอลิซาเบธ เจน แคมเปียน (อังกฤษ: Dame Elizabeth Jane Campion, DNZM; เกิดวันที่ 30 เมษายน ปี ค.ศ. 1954) หรือที่รู้จักกันในชื่อ เจน แคมเปียน เป็นผู้กำกับภาพยนตร์, นักเขียนบทและผู้อำนวยการสร้างภาพยนตร์ชาวนิวซีแลนด์[1] แคมเปียนได้รับการยอมรับและมีชื่อเสียงในวงกว้างในฐานะผู้กำกับภาพยนตร์หญิงจากผลงานในเรื่อง เดอะ เปียโน (1993) ที่เธอทำหน้าที่ทั้งเขียนบทภาพยนตร์และกำกับการแสดงด้วยตนเอง จากผลงานเรื่องดังกล่าวทำให้เธอได้รับรางวัลออสการ์ สาขาบทภาพยนตร์ดั้งเดิมยอดเยี่ยม และได้รับรางวัลปาล์มทองคำ ในสาขาผู้กำกับภาพยนตร์ยอดเยี่ยม โดยเธอเป็นผู้กำกับภาพยนตร์หญิงคนแรกที่ได้รับรางวัลปาล์มทองคำ
นอกจากนี้ เจน แคมเปียน ยังเป็นผู้กำกับภาพยนตร์หญิงคนที่ 2 จากจำนวน 7 คนที่เคยได้รับการเสนอชื่อให้เข้าชิงรางวัลออสการ์ สาขาผู้กำกับภาพยนตร์ยอดเยี่ยม[2] โดยในปี 2021 เธอประสบความสำเร็จและได้รับคำชื่นชมในฐานะผู้กำกับภาพยนตร์อย่างมากจากผลงานเรื่อง อำนาจบาดเลือดแค้น ที่ทำให้เธอได้รับทั้งรางวัลออสการ์, รางวัลลูกโลกทองคำและรางวัลแบฟตา ในสาขาผู้กำกับภาพยนตร์ยอดเยี่ยม และทำให้เธอกลายเป็นหนึ่งใน 3 ผู้กำกับภาพยนตร์หญิงที่ได้รับรางวัลออสการ์ในสาขานี้ นอกเหนือจากแคทริน บิเกโลว์ และโคลอี เจา[3]
ชีวิตช่วงแรก
[แก้]เจน แคมเปียน เกิดที่เมืองเวลลิงตัน ประเทศนิวซีแลนด์ เป็นลูกสาวคนที่ 2 ของคุณแม่ Edith (สกุลเดิม Beverley Georgette Hannah) นักแสดง นักเขียน และทายาท และคุณพ่อ Richard M. Campion เป็นผู้กำกับละครเวทีและโอเปรา[4][5][6] คุณปู่ของคุณแม่ คือ Robert Hannah (1845–1930) ผู้ผลิตรองเท้าบริษัทเก่าแก่ของเวลลิงตัน Antrim House ซึ่งปัจจุบันถือเป็นสถานที่มรดกทางวัฒนธรรมของประเทศนิวซีแลนด์ พ่อของเธอมาจากครอบครัว Exclusive Brethren[7] แคมเปียนมีพี่สาวคือ แอนนา และน้องชายชื่อ ไมเคิล แคมเปียนเติบโตในโลกของการละครในนิวซีแลนด์ พ่อแม่ของเธอเป็นผู้ก่อตั้งกลุ่มโรงละคร New Zealand Players[8] ตอนแรก ๆ เธอก็ปฏิเสธความคิดอาชีพทางละครเวทีหรือการแสดง เธอสำเร็จการศึกษาปริญญาตรีสาขามานุษยวิทยา (BA in Anthropology) จาก Victoria University of Wellington ในปี 1975
ในปี 1976 แคมเปียนเข้าเรียนที่ Chelsea Art School ในลอนดอนและเดินทางไปทั่วยุโรป เธอสำเร็จการศึกษาปริญญาโทสาขา Visual Arts (จิตรกรรม) จาก Sydney College of the Arts ที่มหาวิทยาลัยแห่งซิดนีย์ ในปี 1981 จากการศึกษาทางศิลปะของเธอ แคมเปียนกล่าวถึงจิตรกรแนวลัทธิเหนือจริง Frida Kahlo และประติมากร Joseph Beuys ว่ามีอิทธิพลต่องานศิลปะของเธอ เธอไม่ชอบใจนักกับข้อจำกัดของการวาดภาพเพื่อการสื่อสาร จึงหันเหไปทางภาพยนตร์ และสร้างภาพยนตร์สั้นเรื่องแรก Tissues ในปี 1980 และในปี 1981 เธอเริ่มเรียนที่ Australian Film, Television and Radio School ซึ่งเธอก็ได้ทำภาพยนตร์สั้นหลายเรื่อง และสำเร็จการศึกษาในปี 1984[9]
อาชีพ
[แก้]ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
ชีวิตส่วนตัว
[แก้]ในปี 1992 แคมเปียนแต่งงานกับ Colin David Englert ชาวออสเตรเลียซึ่งทำงานเป็นผู้กำกับหน่วยสองกับภาพยนตร์ The Piano [10] มีลูกชายคนแรก Jasper (เกิดในปี 1993 แต่มีชีวิตอยู่ได้เพียง 12 วัน)[11] มีลูกสาวอีกคน คือนักแสดง Alice Englert (เกิดในปี 1994) ทั้งสองหย่ากันในปี 2001[12]
รางวัลเกียรติยศ
[แก้]แคมเปียนได้รับแต่งตั้งให้เป็นเดม DNZM (Dame Companion of the New Zealand Order of Merit) ในปี 2016 สำหรับภาระกิจเพื่อสาธารณะทางด้านภาพยนตร์[13][14]
ผลงานภาพยนตร์
[แก้]ปี | เรื่อง | เครดิตเป็น | หมายเหตุ | ||
---|---|---|---|---|---|
ผู้กำกับ | ผู้เขียนบท | ผู้สร้าง | |||
1980 | Tissues | ภาพยนตร์สั้น | |||
1981 | Mishaps of Seduction and Conquest | ภาพยนตร์สั้น | |||
1982 | Peel: An Exercise in Discipline | ภาพยนตร์สั้น | |||
1983 | Passionless Moments | ภาพยนตร์สั้น | |||
1984 | A Girl's Own Story | ภาพยนตร์สั้น | |||
After Hours | ภาพยนตร์สั้น | ||||
1986 | Two Friends | ภาพยนตร์โทรทัศน์ | |||
1989 | Sweetie | ภาพยนตร์เรื่องยาว (เปิดตัว) | |||
1990 | An Angel at My Table | ||||
1993 | The Piano | ||||
1996 | The Portrait of a Lady | ||||
1999 | Holy Smoke! | ||||
Soft Fruit | |||||
2003 | In the Cut | ||||
2006 | The Water Diary | ภาพยนตร์สั้น, ส่วนหนึ่งในภาพยนตร์มานุษยวิทยา 8 ปี 2008 | |||
Abduction: The Megumi Yokota Story | ภาพยนตร์สารคดี | ||||
2007 | The Lady Bug | ภาพยนตร์สั้น, ส่วนหนึ่งจากภาพยนตร์มานุษยวิทยา To Each His Own Cinema | |||
2009 | Bright Star | ||||
2012 | I'm the One | ภาพยนตร์สั้น | |||
2013 | Top of the Lake | มินิซีรีส์ | |||
2016 | Family Happiness | ภาพยนตร์สั้น | |||
2017 | They | ||||
Top of the Lake: China Girl | มินิซีรีส์ |
ดูเพิ่ม
[แก้]บรรณานุกรม
[แก้]- Cheshire, Ellen: Jane Campion. London: Pocket Essentials, 2000.
- Fox, Alistair: Jane Campion: Authorship and Personal Cinema. Bloomington–Indianapolis: Indiana University Press, 2011. ISBN 978-0-253-22301-2.
- Gillett, Sue: 'Views for Beyond the Mirror: The Films of Jane Campion.' St.Kilda: ATOM, 2004. ISBN 1-876467-14-2.[15][16]
- Hester, Elizabeth J.: Jane Campion: A Selective Annotated Bibliography of Dissertations and Theses. ISBN 978-1-4848-1838-1, 1-4848-1838-5.
- Jones, Gail: 'The Piano.' Australian Screen Classics, Currency Press, 2007.
- Margolis, Harriet (ed): 'Jane Campion's The Piano.' Cambridge University Press, 2000.
- McHugh, Kathleen: 'Jane Campion.'Urbana and Chicago: University of Illinois Press, 2007.
- Radner, Hilary, Alistair Fox and Irène Bessière (eds): 'Jane Campion: Cinema, Nation, Identity.'Detroit: Wayne State University Press,2009.
- Verhoeven, Deb: Jane Campion. London: Routledge, 2009.
- Wexman V.W.: Jane Campion: Interviews. Roundhouse Publishing. 1999.
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Fox, Alistair (2011). Jane Campion: Authorship and Personal Cinema. Indiana University Press. p. 32. สืบค้นเมื่อ 30 ธันวาคม 2015.
- ↑ Joel Calfee (1 มีนาคม 2023). "Only 7 Women Have Ever Been Nominated for Best Director at the Oscars—Here Are Their Films & Where to Watch Them". PureWow.
- ↑ "'Piano's' Jane Campion Is First Female Director to Win; 'Concubine's' Chen Kaige Has First Chinese-Film Victory: 'Piano', 'Concubine', Share the Palme D'Or", Los Angeles Times, 25 พฤษภาคม 1993; สืบค้นเมื่อ 6 พฤษภาคม 2012.
- ↑ Fox. Jane Campion profile. p. 25.
- ↑ McHugh, Kathleen (2007). Contemporary Film Directors: Jane Campion. United States of America: University of Illinois, Urbana. ISBN 978-0-252-03204-2.
- ↑ Canby, Vincent (30 พฤษภาคม 1993). "FILM VIEW; Jane Campion Stirs Romance With Mystery". The New York Times.
- ↑ Fox. Jane Campion profile. p. 26. สืบค้นเมื่อ 30 ธันวาคม 2015.
- ↑ Fox. Jane Campion profile. p. 41. สืบค้นเมื่อ 30 ธันวาคม 2015.
- ↑ Mark Stiles. "Jane Campion". Cinema Papers. ธันวาคม 1985. pp. 434–435, 471.
- ↑ "ENGLERT, COLIN DAVID Australia". Business Profiles. สืบค้นเมื่อ 30 ธันวาคม 2015.
- ↑ Franke, Lizzie (1999). "Jane Campbell Is Called the Best Female Director in the World. What's Female Got to Do with It?". ใน Wexman, Virginia Wright (บ.ก.). Jane Campion: Interview. University Press of Mississippi. p. 207. ISBN 978-1-57806-083-2. สืบค้นเมื่อ 31 มกราคม 2013.
- ↑ Sampson, Des (24 มกราคม 2013). "Alice Englert stars in Twilight successor". The New Zealand Herald. สืบค้นเมื่อ 31 มกราคม 2013.
- ↑ “New Year Honours 2016”. (15 มกราคม 2016) 2 New Zealand Gazette 1 at 3.
- ↑ "Richie McCaw surpasses knighthood, appointed NZ's top honour". TVNZ. 30 ธันวาคม 2015. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 7 มกราคม 2016. สืบค้นเมื่อ 30 ธันวาคม 2015.
- ↑ "Views From Beyond the Mirror: The Films of Jane Campion by Sue Gillett • Senses of Cinema". สืบค้นเมื่อ 30 ธันวาคม 2015.
- ↑ "The films of Jane Campion : views from beyond the mirror / Sue Gillett. - Version details". สืบค้นเมื่อ 8 มิถุนายน 2016.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- Jane Campion ที่อินเทอร์เน็ตมูวีเดตาเบส
- Jane Campion ที่ออลมูวี
- Jane Campion Bibliography, Berkeley.edu
- Senses of Cinema: Great Directors Critical Database
- Cantwell, Mary (19 กันยายน 1993). "Jane Campion's Lunatic Women". The New York Times.
- Campion, Jane in The Encyclopedia of Women and Leadership in Twentieth-Century Australia