ฮังตัวะฮ์
ฮังตัวะฮ์ (อักษรโรมัน: Hang Tuah, อักษรยาวี: هڠ تواه, /tuha/ หรือ /toh/)[1] เป็นนักรบชาวมะละกาที่มีชีวิตอยู่ในรัชสมัยของสุลต่านมันซูร์ ชะฮ์ ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 15[2][3] ถือกันว่าฮังตัวะฮ์เป็นลักซามานาหรือนายพลเรือที่มีอำนาจสูงสุด และชาวมลายูถือให้ท่านเป็นเจ้าซีลัตที่ยิ่งใหญ่ที่สุด ปัจจุบันฮังตัวะฮ์ได้รับการเคารพอย่างสูงและเป็นหนึ่งในนักรบที่เป็นที่รู้จักมากที่สุดในวัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ และวรรณกรรมของมาเลเซีย
เรื่องราวของฮังตัวะฮ์ในฐานะนายพลเรือหรือลักซามานาระบุว่าท่านจงรักภักดีเต็มที่อย่างเสมอต้นเสมอปลายต่อสุลต่าน เรื่องราวบางส่วนปรากฏอยู่ใน เซอจาระฮ์เมอลายู[4] และใน ฮีกายัตฮังตัวะฮ์ นอกจากนี้ยังมีความเชื่อว่าท่านมีความสัมพันธ์กับหมู่เกาะรีวกีว[5]
สิ่งสืบเนื่อง
[แก้]ฮังตัวะฮ์ได้รับความนิยมสูงมากในประเทศมาเลเซีย เป็นตัวแทนของคุณค่าในวัฒนธรรมชนชั้นสูงมลายูในอดีต ในฐานะผู้ซึ่งจงรักภักดีต่อผู้บังคับบัญชาอย่างไม่มีข้อสงสัย อย่างไรก็ตาม ความแม่นยำในแง่ประวัติศาสตร์ของฮังตัวะฮ์อาจเป็นที่ถกเถียงอยู่[6]
ในมาเลเซียร่วมสมัย นิยมกล่าวถึงคำที่เชื่อว่าฮังตัวะฮ์เคยกล่าวไว้ว่า "Takkan Melayu Hilang di Dunia" ("ชาวมลายูจะไม่สูญสิ้นไปจากโลกนี้เป็นอันขาด") ซึ่งนิยมกล่าวขานกันในโอกาสแสดงความเป็นชาตินิยมมลายู[7][8]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Adam, Ahmat (2016-01-01). Antara Sejarah dan Mitos: Sejarah Melayu & Hang Tuah dalam Historiografi Malaysia (ภาษามาเลย์). SIRD. ISBN 978-967-2165-93-4.
- ↑ David Levinson & Karen Christensen (2002). Encyclopedia of Modern Asia, Vol. 4. Charles Scribners & Sons. pp. 39–139. ISBN 0-684-80617-7.
- ↑ Ainslie T. Embree (1988). Encyclopedia of Asian History, Volume 2. Charles Scribners & Sons. p. 390. ISBN 978-0-684-18899-7.
- ↑ Britannica CD - Sejarah Melayu เก็บถาวร 2011-10-25 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ↑ Aman, Azlansyah; Ros, Azhar Mad (2016). "Sejarah Perdagangan Maritim Ryukyu Serta Hubungannya Dengan Melaka". Sejarah (ภาษาอังกฤษ). 25 (2): 58–72. doi:10.22452/sejarah.vol25no2.4. ISSN 2756-8253.
- ↑ Arman Ahmad (12 December 2015). "Hang Tuah 'did not exist', claims historian". New Straits Times. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 20 May 2016.
- ↑ Liok Ee Tan (1988). The Rhetoric of Bangsa and Minzu. Monash Asia Institute. p. 14. ISBN 978-0-86746-909-7.
- ↑ Melanie Chew (1999). The Presidential Notes: A biography of President Yusof bin Ishak. Singapore: SNP Publications. p. 78. ISBN 978-981-4032-48-3.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- Richard O. Winstedt (January 1988). A History of Malaya (Second Reprint ed.). Kuala Lumpur, Malaysia: Marican & Sons. ASIN B001GQFEKS.