อู๋โจว
อู๋โจว 梧州市 • Vuzcouh Si Wuzhou | |
---|---|
อาคารห้องแถวมีชานระเบียงในอู๋โจว ปี 2018 | |
ที่ตั้งของจังหวัดอู๋โจวในเขตปกครองตนเองกว่างซี | |
พิกัด: 23°28′36″N 111°16′44″E / 23.4767°N 111.2790°E | |
ประเทศ | สาธารณรัฐประชาชนจีน |
เขตปกครองตนเอง | กว่างซี |
พื้นที่ | |
• นครระดับจังหวัด | 12,588 ตร.กม. (4,860 ตร.ไมล์) |
• เขตเมือง | 1,792 ตร.กม. (692 ตร.ไมล์) |
• รวมปริมณฑล | 1,792 ตร.กม. (692 ตร.ไมล์) |
ประชากร (ค.ศ. 2020)[1] | |
• นครระดับจังหวัด | 2,820,977 คน |
• ความหนาแน่น | 220 คน/ตร.กม. (580 คน/ตร.ไมล์) |
เขตเวลา | UTC+8 (เวลามาตรฐานจีน) |
รหัสไปรษณีย์ | 543XXX |
รหัสพื้นที่ | 0774 |
รหัส ISO 3166 | CN-GX-03 |
ป้ายทะเบียนรถ | 桂D |
เว็บไซต์ | www |
อู๋โจว (จีน: 梧州; พินอิน: Wúzhōu; จ้วง: Vuzcouh) เป็นนครระดับจังหวัดที่ตั้งอยู่ทางตะวันออกของเขตปกครองตนเองกว่างซีจ้วง ซึ่งตั้งอยู่ทางตอนใต้ของประเทศจีน
ภูมิศาสตร์และภูมิอากาศ
[แก้]อู๋โจว ตั้งอยู่ในภาคตะวันออกของเขตปกครองตนเองกว่างซีจ้วง มีพรมแดนติดกับมณฑลกวางตุ้ง และเป็นที่บรรจบกันของแม่น้ำกุ้ยและแม่น้ำสุนซึ่งก่อตัวเป็นแม่น้ำซี โดยน้ำร้อยละ 85 ของทั้งหมดที่ไหลในกว่างซีไหลผ่านอู๋โจว
มีพื้นที่ทั้งหมด 12,588 ตารางกิโลเมตร (4,860 ตารางไมล์) และตั้งอยู่บนเส้นทรอปิกออฟแคนเซอร์พอดี แม้มีละติจูดที่ค่อนไปทางเหนือ แต่อู๋โจวมีภูมิอากาศแบบอบอุ่นชื้นซึ่งมีสภาพคล้ายกึ่งเขตร้อนชื้นที่ได้รับอิทธิพลจากมรสุม (ตามระบบการแบ่งเขตภูมิอากาศแบบเคิพเพิน Cfa) โดยมีฤดูหนาวที่ไม่รุนแรงและช่วงสั้น ๆ และมีฤดูร้อนที่ยาวนานและร้อนชื้นมาก ฤดูหนาวจะเริ่มจากสภาพอากาศที่แห้งแต่ค่อย ๆ ชื้นและมีเมฆมากขึ้น ฤดูใบไม้ผลิโดยทั่วไปมีเมฆมากและมีฝนตกชุก ในขณะที่ฤดูร้อนมีฝนตกชุกและเป็นช่วงเวลาที่แดดจัดที่สุดของปี ฤดูใบไม้ร่วงมีแดดจัดและแห้ง อุณหภูมิเฉลี่ย 24 ชั่วโมงต่อเดือนอยู่ระหว่าง 12.2 °ซ (54.0 °ฟ) ในเดือนมกราคม ถึง 28.2 °ซ (82.8 °ฟ) ในเดือนกรกฎาคม และค่าเฉลี่ยรายปีคือ 21.24 °ซ (70.2 °ฟ) ปริมาณน้ำฝนรายปีสูงกว่า 1,450 มิลลิเมตร (57 นิ้ว) และตกหนักมาก (เฉลี่ยร้อยละ 47 ของพื้นที่) ตั้งแต่เดือนเมษายนถึงมิถุนายน ซึ่งเป็นช่วงที่เกิดฝนลูกพลัมและมักก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อน้ำท่วม อู๋โจวได้รับแสงแดดเฉลี่ย 1,738 ชั่วโมงต่อปี
ข้อมูลภูมิอากาศของอู๋โจว (1981−2010 ค่าเฉลี่ยปกติ) | |||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
เดือน | ม.ค. | ก.พ. | มี.ค. | เม.ย. | พ.ค. | มิ.ย. | ก.ค. | ส.ค. | ก.ย. | ต.ค. | พ.ย. | ธ.ค. | ทั้งปี |
อุณหภูมิสูงสุดที่เคยบันทึก °C (°F) | 29.4 (84.9) |
32.8 (91) |
34.3 (93.7) |
35.8 (96.4) |
36.8 (98.2) |
37.7 (99.9) |
39.7 (103.5) |
39.1 (102.4) |
38.6 (101.5) |
36.4 (97.5) |
33.4 (92.1) |
29.5 (85.1) |
39.7 (103.5) |
อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย °C (°F) | 17.2 (63) |
18.0 (64.4) |
21.1 (70) |
26.0 (78.8) |
30.1 (86.2) |
32.2 (90) |
33.6 (92.5) |
33.7 (92.7) |
32.0 (89.6) |
29.0 (84.2) |
24.3 (75.7) |
19.7 (67.5) |
26.41 (79.54) |
อุณหภูมิเฉลี่ยแต่ละวัน °C (°F) | 12.2 (54) |
13.7 (56.7) |
16.7 (62.1) |
21.5 (70.7) |
25.0 (77) |
27.2 (81) |
28.2 (82.8) |
28.1 (82.6) |
26.6 (79.9) |
23.4 (74.1) |
18.4 (65.1) |
13.9 (57) |
21.24 (70.24) |
อุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ย °C (°F) | 8.7 (47.7) |
10.6 (51.1) |
13.6 (56.5) |
18.4 (65.1) |
21.6 (70.9) |
23.9 (75) |
24.7 (76.5) |
24.5 (76.1) |
22.9 (73.2) |
19.3 (66.7) |
14.2 (57.6) |
9.7 (49.5) |
17.68 (63.82) |
อุณหภูมิต่ำสุดที่เคยบันทึก °C (°F) | −0.2 (31.6) |
0.5 (32.9) |
1.7 (35.1) |
7.1 (44.8) |
13.0 (55.4) |
17.1 (62.8) |
20.3 (68.5) |
20.7 (69.3) |
14.8 (58.6) |
8.9 (48) |
2.8 (37) |
−1.5 (29.3) |
−1.5 (29.3) |
หยาดน้ำฟ้า มม (นิ้ว) | 56.5 (2.224) |
75.3 (2.965) |
90.2 (3.551) |
173.5 (6.831) |
249.8 (9.835) |
243.7 (9.594) |
186.8 (7.354) |
156.1 (6.146) |
101.9 (4.012) |
47.3 (1.862) |
41.6 (1.638) |
30.2 (1.189) |
1,452.9 (57.201) |
ความชื้นร้อยละ | 75 | 80 | 82 | 84 | 83 | 84 | 81 | 81 | 78 | 73 | 72 | 70 | 78.6 |
วันที่มีฝนตกโดยเฉลี่ย (≥ 0.1 mm) | 10.3 | 13.1 | 15.0 | 17.7 | 19.7 | 18.2 | 15.7 | 16.9 | 10.8 | 7.2 | 6.1 | 6.1 | 156.8 |
จำนวนชั่วโมงที่มีแดด | 95.0 | 62.2 | 62.2 | 79.5 | 134.9 | 167.4 | 226.9 | 209.2 | 192.9 | 187.9 | 169.3 | 150.8 | 1,738.2 |
แหล่งที่มา: กรมอุตุนิยมวิทยาแห่งประเทศจีน (วันที่ฝนตกและมีแดด ช่วงปี 1971–2000)[2][3] |
ข้อมูลประชากร
[แก้]จากสำมะโนจีนปี 2020 มีประชากรทั้งหมด 2,820,977 คน โดย 859,815 คนอาศัยอยู่ในพื้นที่ใจกลางเมือง ซึ่งประกอบด้วยเขตเมือง 3 เขต จำนวนประชากรเฉลี่ยต่อปีที่ลดลงในช่วงปี 2553-2563 อยู่ที่ร้อยละ -0.21
กลุ่มชาติพันธุ์ที่โดดเด่นในเมืองระดับจังหวัดคือ ชาวจีนฮั่น ตามด้วย จ้วง, เหยา และอื่น ๆ ด้วย อู๋โจวเป็นของภูมิภาควัฒนธรรมและภาษา กวางตุ้ง ดังนั้นคนส่วนใหญ่จึงพูดภาษากวางตุ้งสำเนียงอู๋โจว และใช้ภาษาจีนกลางอันเป็นผลมาจากนโยบายส่งเสริมภาษาจีนกลางของรัฐบาลกลาง
การปกครอง
[แก้]อู๋โจวแบ่งเขตการปกครองเป็น 3 อำเภอ, 1 นครระดับอำเภอ และ 3 เขต
แผนที่ | |||||
---|---|---|---|---|---|
เขตว่านซิ่ว
เขตฉางโจว
เขตหลงเหวย์
อำเภอชางอู๋
อำเภอเถิง
อำเภอเหมิงชาน
นครเฉินซี
| |||||
ชื่อ | ภาษาจีน | พินอิน | พื้นที่ (กม²) | ประชากร (2010) | ความหนาแน่น (/กม²) |
เขตฉางโจว | 长洲区 | Chángzhōu Qū | 378 | 160,000 | 423 |
เขตว่านซิ่ว | 万秀区 | Wànxiù Qū | 439 | 320,000 | 728 |
เขตหลงเหวย์ | 龙圩区 | Lóngwéi Qū | 971 | 270,000 | 278 |
นครเฉินซี | 岑溪市 | Cénxī Shì | 2,783 | 920,000 | 330 |
อำเภอชางอู๋ | 苍梧县 | Cāngwú Xiàn | 2,784 | 360,000 | 129 |
อำเภอเถิง | 藤县 | Téng Xiàn | 3,946 | 1,040,000 | 263 |
อำเภอเหมิงชาน | 蒙山县 | Méngshān Xiàn | 1,279 | 220,000 | 166 |
- เขตเตี๋ยชาน (蝶山) ถูกยกเลิกไปในปี 2013
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "China: Guăngxī (Prefectures, Cities, Districts and Counties) - Population Statistics, Charts and Map".
- ↑ 中国气象数据网 - WeatherBk Data (ภาษาChinese (China)). China Meteorological Administration. สืบค้นเมื่อ 2020-04-15.
- ↑ 中国地面国际交换站气候标准值月值数据集(1971-2000年). China Meteorological Administration. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-09-21. สืบค้นเมื่อ 2010-05-25.