ข้ามไปเนื้อหา

อินโด-ไซเทีย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อาณาจักรอินโด-ไซเทีย

ป. 150 ปีก่อนคริสตกาล–ค.ศ. 400
ดินแดน (เขียว) และการแผ่ขยาย (เหลือง) ของอาณาจักรอินโด-ไซเทียในช่วงที่รุ่งเรืองที่สุด
ดินแดน (เขียว) และการแผ่ขยาย (เหลือง) ของอาณาจักรอินโด-ไซเทียในช่วงที่รุ่งเรืองที่สุด
เมืองหลวง
ภาษาทั่วไปภาษาซากา,[1]
ภาษากรีกคอยนี,
ภาษาบาลี (อักษรขโรษฐี),
ภาษาสันสกฤต,
ภาษาปรากฤต (อักษรพราหมี)
ศาสนา
การปกครองราชาธิปไตย
กษัตริย์ 
• 85–60 ปีก่อนคริสตกาล
Maues
• ค.ศ. 10
Hajatria
ยุคประวัติศาสตร์สมัยโบราณ
• ก่อตั้ง
ป. 150 ปีก่อนคริสตกาล
• สิ้นสุด
ค.ศ. 400
พื้นที่
20 est.[3]2,600,000 ตารางกิโลเมตร (1,000,000 ตารางไมล์)
ก่อนหน้า
ถัดไป
อาณาจักรกรีก-แบกเตรีย
อาณาจักรอินโด-กรีก
ราชวงศ์โมริยะ
จักรวรรดิกุษาณะ
จักรวรรดิซาเซเนียน
อาณาจักรอินโด-พาร์เธีย
จักรวรรดิคุปตะ

อินโด-ไซเทีย (อังกฤษ: Indo-Scythians) หรือบางครั้งเรียก อินโด-ซากา (Indo-Sakas) เป็นกลุ่มชนอิหร่านร่อนเร่กลุ่มหนึ่งที่มีต้นกำเนิดจากชาวซากาและชาวไซเทีย ต่อมาพวกเขาอพยพจากเอเชียกลางมาตั้งถิ่นฐานในภูมิภาคตอนเหนือและตะวันตกของอินเดียช่วงกลางศตวรรษที่ 2 ก่อนคริสตกาลถึงคริสต์ศตวรรษที่ 4

ผู้ปกครององค์แรกของชาวอินโด-ไซเทียคือ Maues (ศตวรรษที่ 1 ก่อนคริสตกาล) ผู้สถาปนาอำนาจในแคว้นคันธาระและหุบเขาสินธุ ชาวอินโด-ไซเทียแผ่ขยายอำนาจลงมาทางตะวันตกเฉียงเหนือของอินเดีย พิชิตอาณาจักรอินโด-กรีกและอาณาจักรท้องถิ่นอื่น ๆ ก่อนถูกปราบโดยจักรวรรดิกุษาณะ[4] และกลายเป็นประเทศราชที่มีเซแทร็ปปกครองแยกกันทางเหนือและตะวันตก[5] ผู้ปกครองชาวซากาเริ่มเสื่อมอำนาจในคริสต์ศตวรรษที่ 2 หลังพ่ายแพ้ให้กับจักรวรรดิสาตวาหนะ[6][7] การปกครองของชาวอินโด-ไซเทียในตะวันตกเฉียงเหนือของอินเดียสิ้นสุดลงเมื่อเซแทร็ปองค์สุดท้ายของฝ่ายตะวันตกถูกพระเจ้าจันทรคุปต์ที่ 2 แห่งจักรวรรดิคุปตะพิชิตในค.ศ. 395[8][9]

นักประวัติศาสตร์โรมันโบราณ เช่น แอร์เรียน[10] และทอเลมีบันทึกว่าชาวซากาเป็นชนร่อนเร่[11] อย่างไรก็ตามอิตาโล รอนกาบรรยายในการศึกษาของเขาว่าข้อความของทอเลมีที่ว่า "ดินแดนของชาวซากาเป็นดินอดนของชนร่อนเร่ พวกเขาไม่สร้างเมือง แต่อาศัยอยู่ในป่าและถ้ำ" นั้นไม่จริง[12]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Diringer, David (1948). The Alphabet: A Key to the History of Mankind (ภาษาอังกฤษ) (Second and revised ed.). London: Hutchinson's Scientific and Technical Publications. p. 350.
  2. The Decline and Fall of the Hindus: The Book on India's Regeneration
  3. Taagepera, Rein (1979). "Size and Duration of Empires: Growth-Decline Curves, 600 B.C. to 600 A.D". Social Science History. 3 (3/4): 115–138. doi:10.2307/1170959. JSTOR 1170959.
  4. Kharapallana and Vanaspara are known from an inscription discovered in Sarnath, and dated to the 3rd year of Kanishka, in which they were paying allegiance to the Kushanas. Source: "A Catalogue of the Indian Coins in the British Museum. Andhras etc." Rapson, p ciii
  5. "The titles "Kshatrap" and "Mahakshatrapa" certainly show that the Western Kshatrapas were originally feudatories" in Rapson, "Coins of the British Museum", p.cv
  6. World history from early times to A D 2000 by B .V. Rao: p.97
  7. A Brief History of India, by Alain Daniélou p.136
  8. India in a Globalised World, by Sagarika Dutt p.24
  9. Ancient India, by Ramesh Chandra Majumdar p. 234
  10. "Arrian: Anabasis Alexandri: Book VIII (Indica); Section V". Ancient History Sourcebooks. Fordham University. สืบค้นเมื่อ 2019-01-21.
  11. Ptolemy vi, xiii (1932), p. 143.
  12. Ronca (1971), pp. 39, 102, 108.