อิงฟังตาอานา ดึ ฌึซุช มารีอาแห่งบรากังซา
อิงฟังตาอานา ดึ ฌึซุช มารีอา | |||||
---|---|---|---|---|---|
เจ้าหญิงแห่งโปรตุเกส มากรีสแห่งลูเล | |||||
ประสูติ | 23 ตุลาคม พ.ศ. 2349 ณ มาฟรา ประเทศโปรตุเกส | ||||
สวรรคต | 22 มิถุนายน พ.ศ. 2400 ณ โรม ประเทศอิตาลี (พระชนมายุ 50 พรรษา) | ||||
พระราชสวามี | นูโน โจเซ เซเวโร เดอ เมนโดคา โรลิม เดอ เมารา บาร์เรโต ดยุคที่ 1 แห่งลูเล | ||||
พระราชบุตร | อนา คาร์ลอตา เดอ เมนโดคา โรลิม เดอ เมารา บาร์เรโต มาเรีย โด คาร์โม เดอ เมนโดคา โรลิม เดอ เมารา บาร์เรโต เปโดร โจเซ อกอสตินโฮ เดอ เมนโดคา โรลิม เดอ เมารา บาร์เรโต ดยุคที่ 2 แห่งลูเล มาเรีย อเมเลีย เดอ เมนโดคา โรลิม เดอ เมารา บาร์เรโต ออกุสโต เปโดร เดอ เมนโดคา โรลิม เดอ เมารา บาร์เรโต เคานท์ที่ 3 แห่งอซัมบูยา | ||||
| |||||
ราชวงศ์ | บราแกนซา | ||||
พระราชบิดา | พระเจ้าฌูเอาที่ 6 แห่งโปรตุเกส | ||||
พระราชมารดา | อินฟันตาการ์โลตา โฆอากินาแห่งสเปน |
อิงฟังตาอานา ดึ ฌึซุช มารีอาแห่งโปรตุเกส (23 ตุลาคม พ.ศ. 2349 - 22 มิถุนายน พ.ศ. 2400) ทรงเป็นอิงฟังตาแห่งโปรตุเกส และเป็นพระราชธิดาพระองค์เล็กในพระเจ้าฌูเอาที่ 6 แห่งโปรตุเกสกับอินฟันตาการ์โลตา โฆอากินาแห่งสเปน
พระประวัติ
[แก้]อิงฟังตาอานา ดึ ฌึซุช มารีอาแห่งโปรตุเกส ประสูติในวันที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2349 ณ มาฟรา ประเทศโปรตุเกส มีพระนางเต็มว่า อานา ดึ ฌึซุช มารีอา ลูอิซ กอนซากา โจวควินา มิคาเอลา ราฟาเอลา ซาเวียร์ เดอ เปาลา เดอ บราแกนซา อี บูร์บง
ในวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2370 เจ้าหญิงทรงอภิเษกสมรสกับนูโน โจเซ เซเวโร เดอ เมนโดคา โรลิม เดอ เมารา บาร์เรโต มาควิสแห่งลูเลและเป็นเคานต์แห่งวาเล เดอ ราอิซ และในอนาคตได้เป็นดยุคแห่งลูเล ในเวลาต่อมาเขาได้เป็นนายกรัฐมนตรีแห่งโปรตุเกสหลายสมัย พระราชพิธีอภิเษกสมรสถูกจัดขึ้นอย่างเป็นทางการในห้องสวดมนต์ของพระราชวังหลวงอาจูดาและเป็นเหตุการณ์ที่ถูกกล่าวถึงมากในช่วงเวลานั้น ถึงแม้ว่าลูเลจะเป็นขุนนางและมีเชื้อสายห่างๆกับพระราชวงศ์โปรตุเกส อิงฟังตาอานา ดึ ฌึซุช มารีอาทรงเป็นอิงฟังตาแห่งโปรตุเกสพระองค์แรกนับตั้งแต่ยุคกลางโดยอภิเษกสมรสกับบุรุษซึ่งไม่ใช่เชื้อพระวงศ์
เหตุผลในการอภิเษกสมรสนั้นไม่น่าจะเป็นเรื่องการเมือง เนื่องจากพระธิดาองค์แรกประสูติในวันที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2370 เพียง 22 วันหลังการอภิเษกสมรส ดังนั้นพระองค์ทรงตั้งพระครรภ์ก่อนการอภิเษกสมรสเสียอีก การอภิเษกสมรสไม่ได้รับการเห็นชอบจากพระราชบิดาของพระองค์ พระเจ้าฌูเอาที่ 6 แห่งโปรตุเกส จนกระทั่งเสด็จสวรรคต (เป็นที่เคร่งครัดมาก เนื่องจากกฎหมายโปรตุเกสในเวลานั้นกำหนดว่าการอภิเษกสมรสของทายาทโดยสันนิษฐาน จะต้องได้รับการอนุญาตจากผู้ปกครองเสียก่อน ซึ่งอิงฟังตาอานามิใช่ทายาทโดยสันนิษฐาน) ไม่มีพระเชษฐาของพระนางองค์หนึ่งองค์ใดเลยที่มาเข้าร่วมงานอภิเษกสมรส (ซึ่งทั้งสองพระองค์ต่างอ้างสิทธิในราชบัลลังก์จากต่างประเทศ)
การอภิเษกสมรสได้รับการลงลายพระอภิไธยรับรองโดยผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ในพระปรมาภิไธยจากกรุงลิสบอนซึ่งเป็นพระเชษฐภคินีของพระนาง อิงฟังตาอีซาแบล มารีอาแห่งบรากังซา การอภิเษกสมรสครั้งนี้มิใช่การหนีตามกัน ในฐานะของเชื้อพระวงศ์ทั้งคู่ต้องได้รับการรับรู้มีความตั้งพระทัยแน่วแน่ที่จะอภิเษกสมรส โดยพระราชมารดาของพระองค์ สมเด็จพระราชินีการ์ลอตา ฌูอากินาทรงอำนวยความสะดวกให้ทั้งคู่แทนที่จะทรงหาทางป้องกันมิให้การอภิเษกสมรสเกิดขึ้นหลังจากทั้งคู่ให้กำเนิดพระธิดา
ในวันที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2369 พระเจ้าฌูเอาที่ 6 แห่งโปรตุเกส พระราชบิดาขณะเสด็จกลับจากพระอารามเฮียโรนิไมท์ และทรงเข้าบรรทมที่พระราชวังเบ็มโปสตาด้วยพระอาการน่าเป็นห่วง พระองค์ทรงเจ็บปวดทรมานหลายวันจากพระอาการต่างๆรวมทั้งอาเจียนและการสั่นอย่างรุนแรง พระองค์ทรงปรากฏองค์ด้วยพระพลานามัยที่ดีขึ้นแต่ด้วยความรอบคอบ พระองค์ทรงลงพระปรมาภิไธยแต่งตั้งให้ อิงฟังตาอีซาแบล มารีอา พระราชธิดาเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ในกลางคืนของวันที่ 9 มีนาคม พระอาการประชวรของพระองค์กลับแย่ลงและเสด็จสวรรคตในเวลาประมาณ 5 โมงเช้าของวันที่ 10 มีนาคม สิริพระชนมายุ 58 พรรษา เจ้าหญิงผู้สำเร็จราชการทรงยอมรับในทันทีทันใดภายในรัฐบาลของโปรตุเกสและสมเด็จพระจักรพรรดิเปดรูทรงได้รับการยอมรับในฐานะองค์รัชทายาทที่ถูกต้องตามกฎหมายในฐานะ พระเจ้าเปดรูที่ 4 แห่งโปรตุเกส จากการศึกษาวิจัยพบว่า การสวรรคตของพระราชบิดาเกิดจากการรับสารพิษจำพวกสารหนูในปริมาณมาก
อย่างไรก็ตามสมเด็จพระจักรพรรดิเปดรูที่ 1 แห่งบราซิลหรือพระเจ้าเปดรูที่ 4 แห่งโปรตุเกส พระเชษฐาทรงสละราชบัลลังก์แก่อิงฟังตามารีอา ดา กลอเรียให้ครองราชบัลลังก์โปรตุเกสในพระนาม สมเด็จพระราชินีนาถมารีอาที่ 2 แห่งโปรตุเกส พระชนมายุ 7 พรรษา ผู้ซึ่งขณะนั้นทรงประทับอยู่ที่ลอนดอน ด้วยสถานะที่พระราชินีนาถมารอาต้องอภิเษกสมรสกับเจ้าชายมิเกล พระปิตุลา อิงฟังตาอีซาแบล มารีอาทรงดำรงเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ในพระภาติกาจนกระทั่งพ.ศ. 2371 เมื่อเกิดสงครามกลางเมืองขึ้นเรียกว่า สงครามเสรีนิยม ระหว่างฝ่ายอัตตาธิปไตยซึ่งสนับสนุนให้เจ้าชายมิเกล พระเชษฐาครองราชสมบัติในพระนาม สมเด็จพระเจ้ามิเกลแห่งโปรตุเกสกับฝ่ายเสรีนิยมซึ่งสนับสนุนสิทธิในราชบัลลังก์ของสมเด็จพระราชินีนาถมารีอาที่ 2 แห่งโปรตุเกสและอิงฟังตาอีซาแบล มารอาผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ในขั้นต้นพระเจ้ามีแกลด้วยการสนับสนุนจากอิงฟังตามารีอา ตึเรซาแห่งบรากังซา พระเชษฐภคินีพระองค์โตทำการถอดถอนสมเด็จพระราชินีนาถมารีอาที่ 2 ผู้เป็นพระนัดดาออกจากราชบัลลังก์และถอดถอนอิงฟังตาอีซาแบล มารีอาออกจากตำแหน่งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ แต่ในท้ายที่สุดฝ่ายเสรีนิยมเป็นฝ่ายได้รับชัยชนะ ผลที่ตามมาคือพระเจ้ามีแกลถูกเนรเทศออกจากประเทศอีกครั้ง และการครองราชบัลลังก์ครั้งที่สองของสมเด็จพระราชินีนาถมารีอาที่ 2
ด้วยการฟื้นฟูของอัตตาธิปไตยหรือสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ในปีพ.ศ. 2374 ทั้งคู่ได้ถูกเนรเทศและเริ่มต้นเดินทางไปทั่วยุโรป โดยทรงมีทั้งโอรสธิดาและเด็กคนอื่นๆตามเสด็จไปด้วย การอภิเษกสมรสต้องยุติลงด้วยการแยกทางกันโดยพฤตินัยในปีพ.ศ. 2378 อิงฟังตาอานาสิ้นพระชนม์ในวันที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2400 ณ โรม ประเทศอิตาลี สิริพระชนมายุ 50 พรรษา ก่อนที่พระสวามีจะได้รับการแต่งตั้งให้เป็น ดยุค
ทายาทของอิงฟังตาอานาเป็นประมุขแห่งตระกูลลูเล โดบเชื้อสายของพระนาง เปโดร ฟอลเก เดอ เมนโดคา โรลิม เดอ เมารา บาร์เรโต ดยุคที่ 6 แห่งลูเล เขาได้รับการพิจารณาให้เป็นทายาทที่มีสิทธิอันชอบธรรมในราชบัลลังก์โปรตุเกสที่ถูกล้มล้างไปแล้ว ด้วยความบริสุทธิ์ของสายสืบราชสันตติวงศ์ที่มีภูมิลำเนาเดิมอย่างไม่ขาดสายเป็นสิทธิโดยแผ่นดินโปรตุเกส ถึงแม้ว่าดยุคจะไม่อ้างสิทธิในราชบัลลังก์ตามพระราชมรดกและทรงยอมรับการรับรองตำแหน่งดยุคจากประมุขแห่งราชวงศ์สายอื่นคือ ดูอาร์เต ปิโอ ดยุคแห่งบราแกนซา ซึ่งเป็นผู้อ้างสิทธิในราชบัลลังก์คนปัจจุบัน
พระโอรสธิดา
[แก้]อิงฟังตาอานา ดึ ฌึซุช มารีอาแห่งบรากังซาทรงอภิเษกสมรสกับนูโน โจเซ เซเวโร เดอ เมนโดคา โรลิม เดอ เมารา บาร์เรโต ดยุคที่ 1 แห่งลูเล มีพระโอรสธิดาร่วมกัน 5 พระองค์ได้แก่
พระนาม | ประสูติ | สิ้นพระชนม์ | คู่สมรส และพระโอรส-ธิดา หมายเหตุ | |
อนา คาร์ลอตา เดอ เมนโดคา โรลิม เดอ เมารา บาร์เรโต | พ.ศ. 2370 |
27 ธันวาคมพ.ศ. 2436 |
31 ธันวาคมสมรสกับ โรดริโก เดอ เซาซา โคทินโฮ เตซีรา เดอ อันดราดา บาร์บอซา เคานท์ที่ 3 แห่งลินฮาเรซ มีบุตรธิดา 12 คน อนา นูโน วิตโตริโอ เฟอร์นันโด คาทารีนา นูโน เคานท์ที่ 4 แห่งลินฮาเรซ มาเรีย คาร์ลอตา โรดริโก มาเรีย อนา โจเซ อกอสตินโฮ อิซาเบล | |
มาเรีย โด คาร์โม เดอ เมนโดคา โรลิม เดอ เมารา บาร์เรโต | พ.ศ. 2372 | พ.ศ. 2450 | สมรสกับ เคานท์ที่ 3 แห่งเบลมองเต มีบุตร | |
เปโดร โจเซ อกอสตินโฮ เดอ เมนโดคา โรลิม เดอ เมารา บาร์เรโต ดยุคที่ 2 แห่งลูเล | พ.ศ. 2373 |
7 ตุลาคมพ.ศ. 2452 |
2 มีนาคมสมรสกับ คอนสแตนกา มาเรีย เดอ ฟิเกอเรโด คาบรัล ดา คามารา มีบุตรหญิง 2 คน หนึ่งในนั้นคือ มาเรีย เดอ เมนโดคา โรลิม เดอ เมารา บาร์เรโต ดัสเชสแห่งลูเล | |
มาเรีย อเมเลีย เดอ เมนโดคา โรลิม เดอ เมารา บาร์เรโต | พ.ศ. 2375 |
27 เมษายนพ.ศ. 2351 | สมรสกับ โจเอา ซาลาซาร์ เดอ เมสคาเรนฮาส แต่ชีวิตการสมรสต้องจบลงเมื่อมาเรีย อเมเลียได้บวชเป็นแม่ชี มีบุตรชาย 1 คน ออกุสโต ซาลาซาร์ อี บราแกนซา | |
ออกุสโต เปโดร เดอ เมนโดคา โรลิม เดอ เมารา บาร์เรโต เคานท์ที่ 3 แห่งอซัมบูยา | พ.ศ. 2378 | พ.ศ. 2457 | สมรส มีบุตรธิดา |