ข้ามไปเนื้อหา

อัลเฟรท ฟ็อน ชลีเฟิน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อัลเฟรท ฟ็อน ชลีเฟิน
Alfred von Schlieffen
หัวหน้าคณะเสนาธิการใหญ่จักรวรรดิเยอรมัน
ดำรงตำแหน่ง
7 กุมภาพันธ์ 1891 – 1 มกราคม 1906
กษัตริย์จักรพรรดิวิลเฮ็ล์มที่ 2
ก่อนหน้าอัลเฟรท ฟ็อน วัลเดอร์เซ
ถัดไปเฮ็ลมูท โยฮันเนิส ลูทวิช ฟ็อน ม็อลท์เคอ
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด28 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1833(1833-02-28)
กรุงเบอร์ลิน ราชอาณาจักรปรัสเซีย สมาพันธรัฐเยอรมัน
เสียชีวิต4 มกราคม ค.ศ. 1913(1913-01-04) (79 ปี)
กรุงเบอร์ลิน จักรวรรดิเยอรมัน
คู่สมรสอันนา เกรฟิน ฟ็อน ชลีเฟิน
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง
รับใช้ราชอาณาจักรปรัสเซีย ราชอาณาจักรปรัสเซีย
 เยอรมนี
สังกัดกองทัพบก
ประจำการ1853–1906
ยศ จอมพล
ผ่านศึกสงครามออสเตรีย-ปรัสเซีย
สงครามฝรั่งเศส-ปรัสเซีย

อัลเฟรท กราฟ ฟ็อน ชลีเฟิน (เยอรมัน: Alfred Graf von Schlieffen) เป็นจอมพลและนักยุทธศาสตร์ทหารเยอรมันจากราชอาณาจักรปรัสเซีย ดำรงตำแหน่งหัวหน้าคณะเสนาธิการใหญ่ระหว่าง ค.ศ. 1891–1906 เขาเป็นผู้คิดค้น "แผนชลีเฟิน" (Schlieffen-Plan) อันเป็นแผนเพื่อบุกโจมตีประเทศฝรั่งเศสและเบลเยียม

ประวัติ

[แก้]

อัลเฟรท ฟ็อน ชลีเฟิน เกิดเมื่อ ค.ศ. 1833 ที่กรุงเบอร์ลิน ราชอาณาจักรปรัสเซีย เป็นบุตรของนายทหารบกปรัสเซียนามว่าพันตรีมักนุส (Magnus) ตระกูลชลีเฟินเป็นตระกูลขุนนางเก่าแก่ซึ่งครองบรรดาศักดิ์กราฟ (Graf) เด็กชายอัลเฟรทอาศัยอยู่กับบิดาที่คฤหาสน์ในภาคไซลีเชีย และออกจากบ้านเพื่อเข้าศึกษาในโรงเรียนเมื่อ ค.ศ. 1842 ในช่วงวัยหนุ่มนี้ เขาไม่เคยมีความคิดหรือสนใจที่จะเป็นทหารเลย เขาไม่ได้เข้าศึกษาที่โรงเรียนเตรียมทหารปรัสเซีย แต่เข้าศึกษาวิชากฎหมายที่มหาวิทยาลัยเบอร์ลิน[1] ระหว่างศึกษาที่เบอร์ลินใน ค.ศ. 1853 เขาก็ถูกบังคับเกณฑ์ทหารเป็นเวลาหนึ่งปี[2] แต่แทนที่เขาจะเลือกเป็นเพียงทหารกองหนุน เขากลับเลือกเส้นทางสู่การเป็นทหารสัญญาบัตร

ใน ค.ศ. 1858 ชลีเฟินเข้าศึกษาที่โรงเรียนการสงครามขณะมีอายุเพียง 25 ปี ซึ่งค่อนข้างหนุ่มกว่าคนอื่น ๆ เขาจบการศึกษาใน ค.ศ. 1861 ด้วยเกียรตินิยม ซึ่งช่วยประกันเส้นทางสู่นายทหารเสนาธิการให้แก่เขา ใน ค.ศ. 1862 เขาได้เข้าสังกัดกรมแผนที่ทหาร[1] ซึ่งทำให้เขามีความรู้ด้านภูมิศาสตร์รวมถึงกลยุทธที่เหมาะสมกับแต่ละสภาพอากาศ นับเป็นประสบการณ์ที่ทรงคุณค่าและจะเป็นประโยชน์ต่อเขาในอนาคตอย่างมหาศาล เขารับราชการทหารติดต่อกันยาวนานกว่า 53 ปี ผ่านสงครามใหญ่สองครั้ง จนเกษียณตัวเองในจุดสูงสุดของกองทัพบก

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 Dupuy 1977, p. 128.
  2. V. J. Curtis, "Understanding Schlieffen," The Army Doctrine and Training Bulletin 6, no. 3 (2003), p. 56.