อับดุล ราซัก
อู้ ยาซะ ဦးရာဇတ် อับดุล ราซัก عبدالرزاق | |
---|---|
ประธานกระทรวงศึกษาธิการและแผนระดับชาติ | |
ดำรงตำแหน่ง กันยายน ค.ศ. 1946 – 19 กรกฎาคม ค.ศ. 1947 | |
นายกรัฐมนตรี | อองซาน |
ก่อนหน้า | ไม่ใช้ |
ถัดไป | ไม่ใช้ |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 20 มกราคม ค.ศ. 1898 เมะทีลา, พม่าภายใต้การปกครองของสหราชอาณาจักร, บริติชราช |
เสียชีวิต | 19 กรกฎาคม ค.ศ. 1947 ย่างกุ้ง, พม่าภายใต้การปกครองของสหราชอาณาจักร | (49 ปี)
ศาสนา | อิสลาม |
พรรคการเมือง | สันนิบาตเสรีภาพประชาชนต่อต้านฟาสซิสต์ |
บุพการี | เชกอับดุล เราะห์มาน (พ่อ) เญ่น-ละ (แม่) |
ศิษย์เก่า | มหาวิทยาลัยย่างกุ้ง |
ลายมือชื่อ | |
อับดุล ราซัก (อูรดู: عبدالرزاق) หรือ อู้ยาซะ (พม่า: ဦးရာဇတ်, ออกเสียง: [ʔú jàzaʔ]; เกิดเมื่อ 20 มกราคม พ.ศ. 2440) เป็นนักการเมืองและนักการศึกษาชาวพม่า เป็นรัฐมนตรีในคณะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการและการวางแผนแห่งชาติในรัฐบาลของอองซานก่อนได้รับเอกราช และเป็นประธานสภามุสลิมพม่า เขาถูกลอบสังหารเมื่อ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2490[1]
ราซักเกิดที่เมะทีลาในพม่าตอนบน บิดาของเขาคือเชกอับดุล ระห์มานซึ่งเป็นตำรวจชาวอินเดีย มารดาเป็นชาวพม่าและเป็นชาวพุทธชื่อ เญ่น-ละ พี่น้องของเขามีความใกล้ชิดกับพุทธศาสนาแต่เขายังคงใช้ชื่อมุสลิม ราซักต้องการเห็นเอกภาพของพม่าท่ามกลางความหลากหลาย เขาเข้าเรียนในโรงเรียนในมัณฑะเลย์ ไปศึกษาต่อที่วิทยาลัยย่างกุ้ง จนจบปริญญาตรีทางด้านภาษาอังกฤษ[2] ใน พ.ศ. 2463 ราซักเป็นผู้นำนักศึกษาในการประท้วงระบบการศึกษาของอังกฤษใน พ.ศ. 2464 เขาเป็นผู้นำของโรงเรียนมัธยมแห่งชาติมัณฑะเลย์ แม้ว่าราซักจะเป็นลูกผสมระหว่างพม่า-อินดียแต่เขาก็ได้รับความนิยมจากทุกชุมชน[2] ในช่วงที่ญี่ปุ่นรุกรานพม่า เขาถูกคุมขังอยู่ ใน พ.ศ. 2488 ราซักเป็นผู้นำของสันนิบาตเสรีชนต่อต้านฟาสซิสต์สาขามัณฑะเลย์ และได้รับเลือกตั้งเป็นตัวแทนจากมัณฑะเลย์ และได้รับตำแหน่งรัฐมนตรีในรัฐบาลของอองซานก่อนจะเสียชีวิตพร้อมกัน
ราซักเป็นผู้เรียกร้องให้มีเอกภาพระหว่างชาวพม่าที่เป็นพุทธและมุสลิม เขาเองเป็นมุสลิม แต่เขาก็สนใจพุทธศาสนาและเรียนภาษาบาลีด้วยตนเอง และมีส่วนร่วมช่วยก่อตั้งมหาวิทยาลัยมัณฑะเลย์