อักษรเทงกวาร์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อักษรเทงกวาร์
คำว่า "เทงกวาร์"ที่เขียนโดยใช้อักษรเทงกวาร์
ชนิดทั้งอักษรสระประกอบ หรือ อักษร ตาม "แบบ"ผสม
ภาษาพูดภาษาประดิษฐ์ของโทลคีน, เควนยา, ซินดาริน และอังกฤษ
ผู้ประดิษฐ์เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน
ช่วงยุคทศวรรษที่ 1930s – ปัจจุบัน
ระบบแม่
อักษรซาราติ
  • อักษรเทงกวาร์
ISO 15924Teng
บทความนี้มีสัญลักษณ์สัทศาสตร์สัทอักษรสากล หากไม่มีการสนับสนุนเร็นเดอร์ที่เหมาะสม คุณอาจเห็นเครื่องหมายคำถาม กล่อง หรือสัญลักษณ์อื่นแทนอักขระยูนิโค้ด
ตัวอย่างภาษาอังกฤษที่เขียนด้วยอักษรเทงกวาร์

อักษรเทงกวาร์ (อังกฤษ: Tengwar) เป็นตัวอักษรที่ประดิษฐ์ขึ้นโดย เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน ปรากฏใช้อยู่ในปกรณัมชุด มิดเดิลเอิร์ธ สำหรับใช้เขียนภาษาต่าง ๆ เช่น ภาษาเควนยา และภาษาซินดาริน นอกจากนี้ยังสามารถนำมาใช้ในการเขียนภาษาอื่นได้อีก เช่น ภาษาอังกฤษ (ตัวอย่างการเขียนประโยคด้วยอักษรเทงกวาร์ของโทลคีน ส่วนใหญ่เขียนเป็นภาษาอังกฤษ) คำว่า tengwar เป็นคำเควนยาในรูปพหูพจน์ หมายถึง 'ตัวอักษร' รูปเอกพจน์เรียกว่า tengwa

ในวรรณกรรม[แก้]

ในปกรณัมของโทลคีน ผู้ประดิษฐ์อักษรเทงกวาร์คือ เฟอานอร์ เจ้าชายเอลฟ์ชาวโนลดอร์ ในยุคสมัยแห่งพฤกษา ก่อนหน้านั้นพวกเอลฟ์ใช้อักษรที่เรียกว่า ซารัต (sarat, พหูพจน์ - ซารัตติ sarati) ผลงานประดิษฐ์ของรูมิล ครูตำนานแห่งวาลินอร์ เฟอานอร์ปรับปรุงรูปแบบอักษรเหล่านั้นจนมีรูปแบบที่ดีขึ้น และตั้งชื่อว่า เทงกวา (tengwa, พหูพจน์ - เทงกวาร์ tengwar) ต่อมาอักษรเทงกวาร์กลายเป็นที่นิยมใช้แพร่หลายมากที่สุดในหมู่เอลฟ์

อักษรเทงกวาร์ประกอบด้วยตัวอักษรที่เป็นเสียงพยัญชนะ และเสียงสระ ซึ่งเรียกว่า โอมาเทคทาร์ (ómatehtar) เมื่ออักษรเทงกวาร์แพร่หลายมาถึงแผ่นดินเบเลริอันด์ มันถูกแปลงเป็นภาษาซินดาริน เรียกว่า tîw (เอกพจน์ têw) ส่วนอักษรดั้งเดิมที่ใช้กันในเบเลริอันด์เรียกว่า เคียร์ธ (cirth, เอกพจน์ certh มีรากกำเนิดมาพร้อมกับ ซารัตติ) หรือในภาษาเควนยาเรียกว่า certar (เอกพจน์ certa)

อ้างอิง[แก้]