ออตโต วอร์มเบียร์
ออตโต วอร์มเบียร์ | |
---|---|
เกิด | ออตโต เฟรเดอริก วอร์มเบียร์ (Otto Frederick Warmbier) 12 ธันวาคม ค.ศ. 1994 ซินซินแนติ, รัฐโอไฮโอ, สหรัฐอเมริกา |
เสียชีวิต | 19 มิถุนายน ค.ศ. 2017 ซินซินแนติ, โอไฮโอ, สหรัฐอเมริกา | (22 ปี)
การศึกษา | โรงเรียนมัธยมไวโอมิง |
ศิษย์เก่า | มหาวิทยาลัยเวอร์จิเนีย วิทยาลัยเศรษฐศาสตร์และรัฐศาสตร์แห่งลอนดอน |
การคุมขัง | |
ประเทศ | เกาหลีเหนือ |
คุมขัง | 2 มกราคม 2016 |
ข้อหา | บ่อนทำลาย (จากการถูกกล่าวหาในฐานพยายามโจรกรรมโปสเตอร์โฆษณาชวนเชื่อ) |
คำตัดสิน | จำคุก 15 ปี |
ปล่อยตัว | 12 มิถุนายน 2017 |
ออตโต เฟรเดอริก วอร์มเบียร์ (อังกฤษ: Otto Frederick Warmbier, 12 ธันวาคม 2537 – 19 มิถุนายน 2560) เป็นนักศึกษาระดับอุดมศึกษาชาวอเมริกัน ในปี 2559 เขาถูกคุมขังในประเทศเกาหลีเหนือในข้อหาบ่อนทำลาย ต่อมาในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2560 เขาได้รับการปล่อยตัวจากเกาหลีเหนือในสภาพผักเรื้อรังและเสียชีวิตลงในเวลาไม่นานหลังได้รับการปล่อยตัว
วอร์มเบียร์เข้าประเทศเกาหลีเหนือในวันที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2558 โดยเป็นส่วนหนึ่งของคณะทัวร์ ต่อมาในวันที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2559 เขาถูกจับกุมที่ท่าอากาศยานนานาชาติเปียงยางระหว่างการรอเครื่องบินขากลับประเทศ เขาถูกตัดสินให้มีความผิดฐานพยายามโจรกรรมโปสเตอร์โฆษณาชวนเชื่อจากโรงแรม นำไปสู่การถูกจำคุก 15 ปีประกอบกับให้ใช้แรงงานอย่างหนัก[1]
ต่อมาในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2559 ไม่นานหลังถูกพิพากษาให้คุมขัง วอร์มเบียร์ได้รับบาดเจ็บทางประสาทอย่างหนักและเข้าสู่อาการโคม่า เขายังคงอยู่ในภาวะนี้จนกระทั่งเสียชีวิต ทางด้านสาเหตุนั้นยังไม่ได้รับการยืนยัน[2] ส่วนทางการของเกาหลีเหนือก็ไม่ได้ประกาศถึงอาการป่วยของเขา จนเมื่อเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2560 ก็ได้มีการประกาศถึงอาการป่วย พร้อมบอกว่าอาการโคม่านั้นมีต้นเหตุจากโรคโบทูลิซึมและการใช้ยานอนหลับ ต่อมาภายในเดือนเดียวกัน เขาก็ถูกปล่อยตัวในภาวะโคม่า หลังจากถูกคุมขังมานานถึง 17 เดือน เขาเดินทางกลับประเทศสหรัฐอเมริกา และถูกส่งตัวไปยังซินซินแนติ รัฐโอไฮโอ ในวันที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2560 เพื่อเข้ารับการประเมินและการรักษาอย่างเร่งด่วนที่ ศูนย์สุขภาพแห่งมหาวิทยาลัยซินซินแนติ
ตลอดระยะเวลารักษาตัว เขาไม่ได้สติกลับคืนมาและเสียชีวิตลงในวันที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2560 เพียง 6 วันหลังจากกลับมายังสหรัฐอเมริกา โดยทางครอบครัวเป็นผู้ร้องขอให้ถอดสายให้อาหารออก[3] จากรายงานของเจ้าหน้าที่ชันสูตรพลิกศพ ให้สาเหตุการเสียชีวิตว่า เขาเสียชีวิตจากอาการสมองขาดออกซิเจนเนื่องด้วยการบาดเจ็บอันไม่ทราบสาเหตุ[4] ผลจากการการสแกนภายในแบบไม่รุกล้ำให้ผลว่า ไม่ปรากฏถึงร่องรอยของรอยร้าวบนกะโหลกศีรษะ[3]
ในปี 2561 ศาลรัฐบาลกลางสหรัฐฯ ตัดสินให้รัฐบาลเกาหลีเหนือต้องรับผิดชอบตามกฎหมาย ในข้อหาทรมานและเป็นเหตุให้วอร์มเบียร์เสียชีวิต ตามคำเรียกร้องของผู้ปกครองของวอร์มเบียร์ ประกอบกับการที่เกาหลีเหนือไม่ได้เข้าสู้คดีความ ศาลจึงให้คำพิพากษาโดยขาดนัด (Default judgment) เอื้อประโยชน์แก่ผู้ปกครองของวอร์มเบียร์[5][6] ต่อมาในปี 2562 คำพูดของประธานาธิบดีสหรัฐ ดอนัลด์ ทรัมป์ ได้ก่อให้เกิดความขัดแย้ง ที่ว่า เขาเชื่อในคำของผู้นำเกาหลีเหนือ คิม จ็อง-อึน ที่ว่า คิมไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการเสียชีวิตของวอร์มเบียร์ เพื่อเป็นการตอบโต้ ผู้ปกครองของวอร์มเบียร์ได้วิพากษ์วิจารณ์ทรัมป์ว่า "หาข้อแก้ตัวให้คิมและระบอบการปกครองอันชั่วร้ายของเขา"[7][8]
ชีวิตในช่วงต้น
[แก้]ออตโต วอร์มเบียร์ เกิดในเมืองซินซินแนติ รัฐโอไฮโอ เมื่อวันที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2537 เป็นลูกคนโตในบรรดาลูก ๆ ทั้ง 3 คนของซินเทีย ("Cindy", née Garber) และ เฟร็ด วอร์มเบียร์ ลูก ๆ ของพวกเขาถูกเลี้ยงดูขึ้นมาในเมืองซินซินแนติ รัฐโอไฮโอ[9][10] ต่อมาเขาเข้าเรียนที่โรงเรียนมัธยมไวโอมิง เขาถูกมองว่าเป็นนักเรียนที่กระตือรือร้นและเป็นที่นิยมในหมู่นักเรียนด้วยกัน เขาสำเร็จการศึกษาในปี 2556 ในฐานะ Salutatorian[11][12] หลังจากนั้นได้เข้าศึกษาที่มหาวิทยาลัยเวอร์จิเนียในสองสาขาวิชาเอกคือ วิชาด้านพาณิชยศาสตร์และเศรษฐศาสตร์ เขายังได้เป็นนักเรียนแลกเปลี่ยนที่วิทยาลัยเศรษฐศาสตร์ ลอนดอน อีกด้วย วิชาโทของเขาคือ วิชาด้านความยั่งยืนของโลก[11] วอร์มเบียร์เป็นชาวยิวผ่านทางแม่ของเขาและได้เข้าร่วมองค์กร Hillel ในวิทยาเขตของวิทยาลัยของเขา[13] เขายังเป็นสมาชิกของภราดร Theta Chi และจากการที่เขามีความสนใจในวัฒนธรรมต่าง ๆ[3] เขาได้ไปเยือนอิสราเอล (เดินทางกับองค์กร Birthright Israel)[13], ทวีปยุโรป, คิวบาและเอกวาดอร์[10]
เกาหลีเหนือ
[แก้]วอร์มเบียร์ได้วางแผนเข้าร่วมโครงการศึกษาต่อในฮ่องกงในปี 2559 รวมถึงตัดสินใจไปเยือนประเทศเกาหลีเหนือในช่วงวันปีใหม่ เขาจองทัวร์เกาหลีเหนือกับบริษัททัวร์ราคาประหยัด Young Pioneer Tours ซึ่งเป็นบริษัทที่มีฐานที่ตั้งในประเทศจีน โดยทางบริษัทมีคำขวัญว่า "จุดหมายปลายทางที่แม่ของคุณคงอยากให้คุณอยู่ห่าง"[14] พ่อของวอร์มเบียร์ได้กล่าวว่า Young Pioneer ได้โฆษณาถึงความปลอยภัยของนักท่องเที่ยวชาวอเมริกัน[15][16]และทางตัววอร์มเบียร์เองก็ได้แสดงให้เห็นถึง "ความอยากรู้อยากเห็นในวัฒนธรรมของพวกเขา ... เขาต้องการพบปะผู้คนของเกาหลีเหนือ"[10]
ในวันที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2558 วอร์มเบียร์เดินทางจากปักกิ่งไปยังเกาหลีเหนือผ่านบริษัททัวร์ของเขา รวมถึงประชาชนชาวอเมริกันอีก 10 คน[17] พวกเขามาเที่ยวเนื่องในวันปีใหม่เป็นเวลา 5 วัน[1][3] กลุ่มของพวกเขาเฉลิมฉลองวันปีใหม่โดยการเดินเล่นในจัตุรัสคิม อิล-ซ็อง ก่อนเดินทางกลับโรงแรมนานาชาติยังกักโด โดยบางส่วนยังคงดื่มแอลกอฮอล์อยู่[18][19] อ้างอิงจากการพิจารณาคดีในศาล วอร์มเบียร์ได้พยายามขโมยโปสเตอร์โฆษณาชวนเชื่อจากพื้นที่เฉพาะพนักงานของโรงแรมในช่วงเวลาประมาณตี 2 ของวันปีใหม่[20]
การจับกุม
[แก้]ในวันที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2559 วอร์มเบียร์ถูกจับกุมที่ท่าอากาศยานนานาชาติเปียงยางระหว่างการรอเครื่องบินขาออกจากเกาหลีเหนือ แดเนียล กราตตัน นักท่องเที่ยวชาวบริติชในกลุ่มของวอร์มเบียร์ได้เห็นการจับกุมนั้น[21] เขาพูดว่า
เขาไม่ได้พูดอะไรออกมาเลย มียาม 2 คนมาแตะไหล่แล้วก็พาเขาไป ผมแค่พูดไปอย่างประหม่าว่า 'เอาล่ะ นี่คงเป็นครั้งสุดท้ายที่พวกเราจะได้เห็นนาย' มันเป็นการพูดประชดที่ใหญ่โตมาก แต่นั่นก็จบแล้วล่ะ นั่นเป็นครั้งสุดท้ายที่ผมได้เจอกับออตโตด้วยตาของผมเอง ทางออตโตไม่ได้ต่อต้านเลย เขาดูไม่กลัวนะ ประมาณว่ายิ้มออกมาหน่อย ๆ ด้วยทำนองนั้น[18]
เมื่อเครื่องบินใกล้จะออกจากท่าอากาศยาน มีเจ้าหน้าที่ขึ้นมาประกาศบนเครื่องบินว่า "ออตโตมีอาการป่วยอย่างหนักและถูกนำไปโรงพยาบาลแล้ว"[14] สื่อบางสำนักระบุว่าวอร์มเบียร์ได้ติดต่อกับมัคคุเทศก์ของบริษัททัวร์ Young Pioneer ผ่านทางโทรศัพท์หลังถูกจับกุม[18][22] แต่ก็ถูกปฏิเสธโดยโฆษกของบริษัทผ่านทางบีบีซีว่า "ไม่มีเจ้าหน้าที่คนใดได้รับการติดต่อจากออตโตหลังจากที่เขาถูกพาตัวไป"[11] ทางด้านคนอื่นที่มากับทัวร์ของเขาสามารถออกไปจากประเทศโดยไม่เกิดเหตุการณ์ใด ๆ ขึ้น[17]
ทางสำนักข่าวกลางเกาหลี (Korean Central News Agency; KCNA) ซึ่งเป็นสำนักข่าวที่ดำเนินการโดยรัฐบาลเกาหลีเหนือ ได้ประกาศในขั้นต้นว่า วอร์มเบียร์ถูกคุมตัวเนื่องจากเขาได้ "กระทำการอันเป็นปฏิปักษ์ต่อรัฐ" โดยไม่ระบุรายละเอียดเพิ่มเติม[17] ทางการเกาหลีเหนือปฏิเสธในการเผยถึงความผิดที่แน่นอนของวอร์มเบียร์เป็นเวลานานถึง 6 สัปดาห์[14] แม้ว่าโฆษกหญิงของ Young Pioneer ได้บอกกับรอยเตอร์แล้วว่า "มีเหตุการณ์" เกิดขึ้นที่โรงแรมยังกักโด[17] ในวันที่ 29 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559 ในวันงานแถลงข่าว วอร์มเบียร์ได้เข้ามาอ่านคำแถลงที่เตรียมไว้ล่วงหน้า ยอมรับความผิดที่เขาพยายามขโมยโปสเตอร์โฆษณาชวนเชื่อจากพื้นที่เฉพาะพนักงานบนชั้น 2[a] ของโรงแรมเพื่อจะนำกลับบ้าน[24] บนโปสเตอร์มีข้อความเขียนว่า "จงจับอาวุธให้มั่นพร้อมใจรักชาติของคิม จ็อง-อิล!" (ในภาษาเกาหลี) การทำลายหรือโจรกรรมสิ่งของที่มีชื่อหรือรูปของผู้นำเกาหลีเหนือ ถือเป็นอาชญากรรมร้ายแรงโดยรัฐบาลเกาหลีเหนือ[25][26]
เนื่องจากวอร์มเบียร์ไม่ได้สติเลยตั้งแต่ที่เขากลับมาสหรัฐอเมริกา จึงไม่อาจทราบได้ว่าเกิดการบังคับให้สารภาพหรือไม่ อย่างไรก็ตาม นักสังเกตการณ์หลายคนได้ให้ความเห็นว่าเขาถูกบังคับอย่างชัดเจน[18] อดีตนักโทษจากเกาหลีเหนือได้เคยกลับคำสารภาพหลังถูกปล่อยตัว โดยบอกว่าพวกเขาบังคับให้รับสารภาพ[27][28][29]
มิกกี้ เบิร์กแมน ผู้เจรจาของสหรัฐฯ กล่าวในเวลาต่อมาว่า ครอบครัวของวอร์มเบียร์ได้รับคำแนะนำให้อย่าเผยข้อมูลเกี่ยวกับสายเลือดชาวยิวของเขาขณะที่ถูกจับกุมอยู่ เนื่องจากผู้เจรจาเชื่อว่าการปฏิเสธความเกี่ยวข้องของวอร์มเบียร์กับโบสถ์เม็ทโธดิสท์ต่อสาธารณะ อาจสร้างความเป็นปฏิปักษ์กับระบอบการปกครองของเกาหลีเหนือ[30]
การพิจารณาคดีและการพิพากษาลงโทษ
[แก้]ในวันที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2559 ไม่กี่ชั่วโมงหลังจากที่ บิลล์ ริชาร์ดสัน ทูตสหรัฐฯ เข้าพบกับนักการทูตเกาหลีเหนือจากสำนักงานสหประชาชาติ 2 คน ที่นครนิวยอร์ก เพื่อกดดันให้ปล่อยตัววอร์มเบียร์[31][32] หลังจากที่วอร์มเบียร์ถูกศาลสูงสุดของเกาหลีเหนือพิจารณาคดีและต้องโทษในข้อหาบ่อนทำลาย ตามประมวลกฎหมายอาญาของเกาหลีเหนือ มาตรา 60 ทางศาลยังตัดสินว่า เขาได้กระทำความผิด "ตามนโยบายอันมีเจตนาร้ายของสหรัฐฯ ที่มีต่อ [เกาหลีเหนือ] เพื่อพยายามบั่นทอนความสามัคคีของประชาชน หลังจากเข้ามาในฐานะนักท่องเที่ยว"[33][34] ช่วงการพิจารณาพยานหลักฐานในศาลความยาว 1 ชั่วโมง รวมการรับสารภาพ มีหลักฐานเป็น ภาพจากกล้องวงจรปิด, หลักฐานลายนิ้วมือ และคำให้การของพยาน[35][36] ภาพกล้องวงจรปิดแสดงให้เห็นชายคนหนึ่ง ถูกระบุว่าเป็นวอร์มเบียร์โดยมัคคุเทศก์ชาวเกาหลีเหนือของเขา ได้เข้าไปในพื้นที่เฉพาะพนักงาน[37] ต่อมาในวันที่ 18 มีนาคม KCNA เผยแพร่คลิปวิดีโอสั้น ความละเอียดต่ำ ระบุเวลา 01:57 นาฬิกา แสดงเห็นบุคคลหนึ่งนำโปสเตอร์ออกจากผนังแล้ววางลงบนพื้น[38][39]
วอร์มเบียร์ได้บอกไว้ในการรับสารภาพของเขาว่า เขาได้ทิ้งโปสเตอร์ไว้หลังพบว่ามันใหญ่เกินกว่าที่จะขนไป[24][40] พนักงานโรงแรมบอกกับศาลว่า "ตอนที่ฉันออกไปทำงาน มันไม่มีอะไรผิดปกติเลย แต่เมื่อฉันกลับมา ฉันคิดว่ามีบางคนนำสโลแกนลงมาอย่างจงใจ ก็เลยระดมพลเพื่อป้องกันความเสียหายและรายงานต่อเจ้าหน้าที่ในเวลาต่อมา"[37]
วอร์มเบียร์ถูกตัดสินจำคุก 15 ปี โดยให้ใช้แรงงานหนัก[41] ฮิวแมนไรตส์วอตช์เรียกการพิจารณาคดีว่าเป็นศาลเถื่อน[42] รวมถึงอธิบายการตัดสินโทษว่า "อุกอาจและน่าตกใจ"[43] โฆษกกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ มาร์ก โทเนอร์ ระบุว่า มันแน่ชัดแล้วว่า ที่เกาหลีเหนือจับกุมพลเมืองสหรัฐเพราะวัตถุประสงค์ทางการเมืองแม้จะอ้างในทางตรงกันข้ามก็ตาม[44]
การปล่อยตัว
[แก้]เฟร็ดและซินดี้ วอร์มเบียร์ ได้เข้าพบกับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบริหารของประธานาธิบดี บารัก โอบามา รวมทั้งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐ จอห์น เคอร์รี และเอกอัครราชทูตสวีเดน ผู้รับหน้าที่เป็นตัวแทนเจรจาระหว่างสหรัฐอเมริกาและเกาหลีเหนือ[45] ในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2560 เฟร็ด วอร์มเบียร์กล่าวว่า ทางฝ่ายบริหารของโอบามาได้บอกให้พวกเขาลดบทบาทในเรื่องของลูกชายพวกเขาลง แต่เขาและภรรยาอยากให้เรื่องของลูกชายได้เป็นส่วนหนึ่งของการเจรจาใด ๆ ก็ตามที่ทำระหว่างสหรัฐอเมริกาและเกาหลีเหนือ[46]
วันที่ 13 มิถุนายน 2560 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐ เร็กซ์ ทิลเลอร์สัน ประกาศถึงการปล่อยตัวของออตโต วอร์มเบียร์ และยังประกาศอีกว่ากระทรวงการต่างประเทศสหรัฐได้ทำการคุ้มครองการปล่อยตัวของออตโตตามแนวทางของประธานาธิบดี โดนัลด์ ทรัมป์[47][48] รวมถึงจะทำการเจรจาเพิ่มเติมในการปล่อยตัวชาวอเมริกันอีก 3 คนที่ถูกคุมขังในเกาหลีเหนือ[49][b]
การรายงานของสื่อในภายหลังได้เผยถึงการประชุมเมื่อ 6 มิถุนายน ที่นครนิวยอร์กว่าเจ้าหน้าที่ของเกาหลีเหนือได้ให้แจ้งแก่ผู้แทนพิเศษกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ โจเซฟ ยุน แล้วว่าวอร์มเบียร์มีอาการของโรคอาหารเป็นพิษโบทูลิซึมไม่นานหลังจากถูกกักขัง และเข้าสู่อาการโคม่าหลังจากทานยานอนหลับ คณะผู้แทนนำโดยยุนได้บินไปยังเปียงยางเพื่อดูแลการส่งตัวของวอร์มเบียร์[25][51][52]
หลังจากการคุมขังนานถึง 17 เดือน วอร์มเบียร์ที่ยังคงอยู่ในภาวะโคม่า ได้ถูกส่งกลับสายแพทย์จากโรงพยาบาลมิตรภาพเปียงยาง[53]ไปยังซินซินแนติ มาถึงในช่วงพลบค่ำของวันที่ 13 มิถุนายน เขาถูกนำตัวไปยังศูนย์สุขภาพแห่งมหาวิทยาลัยซินซินแนติ ทางแพทย์ได้พยายามหาสาเหตุของอาการโคม่าและหาสัญญาณของการฟื้นตัว[54][55]
อาการป่วย
[แก้]แพทย์ผู้ดูแลวอร์มเบียร์จากศูนย์สุขภาพแห่งมหาวิทยาลัยซินซินแนติ ได้ระบุว่า เขาอยู่ใน "ภาวะตื่นแต่ไม่รับรู้" หรือเรียกกันโดยทั่วไปว่า สภาพผักเรื้อรัง[51] เขายังสามารถหายใจและกะพริบตาเองได้ แต่ไม่แสดงอาการของการรับรู้ต่อสภาพแวดล้อม เช่น การเข้าใจภาษา แถมเขาเองก็ไม่ได้เคลื่อนไหวเป็นนัยหรือมีความหมายใด ๆ เลย[56] ไมเคิล ฟลูเอกเกอร์ แพทย์อำนวยการ ผู้ที่เป็นหนึ่งในทีมแพทย์ผู้ที่นำวอร์มเบียร์กลับมายังสหรัฐฯ ได้ระบุว่าวอร์มเบียร์ได้รับการดูแลรักษาอย่างดีที่โรงพยาบาลในเปียงยาง[53]
การเสียชีวิต
[แก้]หลังที่ทางผู้ปกครองของเขาร้องขอให้ถอดสายให้อาหารออก วอร์มเบียร์ได้เสียชีวิตลงในวันที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2560 ณ เวลา 14:20 น. เมื่อมีอายุได้ 22 ปี[3][57] ครอบครัวของเขาได้ออกแถลงการถึงความเสียใจและแสดงความขอบคุณกับพนักงานโรงพยาบาลที่ให้ความช่วยเหลือตลอดมา[58] ทางประธานาธิบดี ทรัมป์ ก็ได้ออกแถลงการในการเสียชีวิตของวอร์มเบียร์ว่า "ไม่มีอะไรจะน่าเศร้าไปกว่าการที่พ่อแม่ต้องเสียลูกในช่วงที่ดีที่สุดของชีวิต ความคิดและคำอธิษฐานของเรานั้นจะสถิตอยู่กับครอบครัว เพื่อนและคนทุกคนที่เป็นที่รักของเขา" และยังบอกอีกว่า "สหรัฐอเมริกาขอประณามความโหดร้ายของระบอบการปกครองของเกาหลีเหนืออีกครั้ง พร้อมกับขอไว้อาลัยแก่ผู้สูญเสียคนล่าสุดด้วย"[58][59]
เจ้าหน้าที่เกาหลีเหนือกล่าวว่า ประเทศของเขาตกเป็น "เหยื่อรายใหญ่ที่สุด" ในการเสียชีวิตของวอร์มเบียร์ อันเป็นผลมาจาก "การใส่ร้ายป้ายสี" พร้อมกับระบุการรักษาของเขาว่ามี "มนุษยธรรม" โฆษกกล่าวเสริมว่า
แม้ว่าทางเราไม่มีเหตุผลที่จะต้องแสดงความเมตตาต่ออาชญากร ผู้ที่เป็นปรปักษ์กับรัฐก็ตาม ทางเราก็ยังให้การรักษาและการเลี้ยงดูอย่างมีมนุษยธรรม จนกระทั่งเขาถูกนำตัวไปยังสหรัฐเพราะสุขภาพของเขาที่ทรุดโทรมลง[60]
ตามคำร้องของครอบครัวของวอร์มเบียร์ จึงไม่ได้มีการชันสูตร มีแค่เพียงการตรวจดูภายนอกภายหลังการเสียชีวิตเท่านั้น[61][62] แพทย์คาดการณ์สาเหตุการเสียชีวิตอาจเป็นลิ่มเลือด ปอดบวม ภาวะติดเชื้อ หรือไตวาย ส่วนยานอนหลับก็อาจมีส่วนที่ทำให้เขาหยุดหายใจได้ ถ้าหากเขาเป็นโรคโบทูลิซึมแล้วเกิดอาการอัมพาตจากโรคนี้[63] แพทย์ของมหาวิทยาลัยซินซินนาติไม่พบหลักฐานแสดงโรคโบทูลิซึม แต่นักประสาทวิทยาหลายคนก็ได้มาแย้งว่า ยังไม่สมควรที่จะตัดออกไป โดยชี้ไปยังระยะเวลาก่อนที่วอร์มเบียร์จะเดินทางกลับสหรัฐฯ [64]
งานศพของเขาถูกจัดขึ้นในวันที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2560 ที่โรงเรียนมัธยมไวโอมิง โดยมีผู้เข้าร่วมกว่า 2,500 คน[65] เขาถูกฝังที่สุสานโอ๊คฮิลล์ เมืองเกล็นเดล รัฐโอไฮโอ มีนักเรียนผูกริบบิ้นไว้ที่เสาและต้นไม้ทุกต้น เป็นระยะทาง 5 กิโลเมตร จากโรงเรียนไปยังสุสาน[66]
ปฏิกิริยาจากสาธารณะชน
[แก้]ปฏิกิริยาต่อการเสียชีวิตของวอร์มเบียร์นั้นรุนแรงมาก[62] อย่างสมาชิกวุฒิสมาชิกสหรัฐ จอห์น แมคเคน และมาร์โก รูบิโอ เรียกสิ่งนี้ว่า "การฆาตกรรม" นิกกี เฮลีย์ เอกอัครราชทูตสหรัฐฯ ประจำองค์การสหประชาชาติ กล่าวว่า "ชายหญิงผู้บริสุทธิ์จำนวนนับไม่ถ้วนได้ตายลงด้วยน้ำมือจากอาชญากรชาวเกาหลีเหนือ แต่มีเพียงกรณีของวอร์มเบียร์เพียงกรณีเดียวที่ไม่เหมือนใคร เป็นกรณีเดียวที่ได้เข้าถึงหัวใจชาวอเมริกัน"[67] ประธานาธิบดีเกาหลีใต้ มุน แจ-อิน ได้แสดงความเสียใจต่อครอบครัวของวอร์มเบียร์และกล่าวว่า "เราไม่อาจทราบได้ว่าเกาหลีเหนือได้ฆ่าคุณวอร์มเบียร์จริงหรือไม่ แต่ผมเชื่อว่ามันชัดเจนอยู่แล้ว พวกเขาต้องแบกรับความรับผิดชอบอันหนักอึ้งในการระทำที่ทำให้คุณวอร์มเบียร์เสียชีวิต"[68]
ผลตามหลัง
[แก้]ในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2560 รัฐบาลสหรัฐฯ ประกาศว่า ห้ามนักท่องเที่ยวชาวอเมริกันไปเยือนเกาหลีเหนือ จนถึงวันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2560 โดยมีเหตุผลหนึ่งมาจากการคุมขังของวอร์มเบียร์[69][70]
ในเดือนเมษายน พ.ศ. 2562 เดอะวอชิงตันโพสต์รายงานข่าวที่ไม่ได้เปิดเผยก่อนหน้านี้ว่า ว่าในช่วงของการอพยพทางการแพทย์ของวอร์มเบียร์ เจ้าหน้าที่เกาหลีเหนือได้นำใบเรียกเก็บเงินจำนวน 2 ล้านเหรียญสหรัฐสำหรับค่ารักษาพยาบาลในกรุงเปียงยางแก่คณะผู้แทนสหรัฐฯ[71] ประธานาธิบดี ทรัมป์ ให้การปฏิเสธว่ารัฐบาลสหรัฐฯ ได้จ่ายบิลไปแล้ว[72]
คดี
[แก้]Warmbier v. DPRK | |
---|---|
ศาล | ศาลแขวงสหรัฐประจำเขตโคลัมเบีย |
ชื่อเต็มของคดี | CYNTHIA WARMBIER, et al., Plaintiffs, v. DEMOCRATIC PEOPLE'S REPUBLIC OF KOREA, Defendant (คดีระหว่าง ซินเทีย วอร์มเบรียร์ พร้อมคณะ [โจทก์] กับ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลี [จำเลย]) |
ตัดสิน | 10 ธันวาคม ค.ศ. 2018 |
หมายเรียกบุคคล | Civil Action No. 18-977 (BAH) |
Case opinions | |
เกาหลีเหนือต้องรับผิดชอบ (โดยการขาดนัด) ในโทษการทรมาน, จับตัวประกัน, และ วิสามัญฆาตกรรม ของออตโต วอร์มเบียร์ รวมถึงมอบเงินจำนวน 501 ล้านดอลลาร์ เป็นค่าความเสียหาย ให้กับครอบครัวของวอร์มเบียร์ | |
ความเห็นต่อคดี | |
ตัดสินโดย | หัวหน้าผู้พิพากษา เบริล เอ. ฮาวเวลล์ |
ในเดือน เมษายน 2561 ผู้ปกครองของวอร์มเบียร์ได้ฟ้องร้องแก่เกาหลีเหนือกับศาลแขวงสหรัฐประจำเขตโคลัมเบีย กล่าวหาเกาหลีเหนือในข้อหาทรมานและฆาตกรรม[73] แม้ว่ายามปกติแล้วพลเมืองจะไม่สามารถฟ้องรัฐต่างชาติและรัฐบาลได้ ความเสียหายที่เกิดขึ้นอาจถูกจ่ายให้กับเหยื่อของประเทศที่นับว่าเป็นหนึ่งในรัฐที่สนับสนุนการก่อการร้าย หนึ่งในนั้นคือ เกาหลีเหนือ จ่ายให้ผ่านกองทุนพิเศษ ซึ่งก่อตั้งโดยรัฐสภาสหรัฐ[74]
ดูเพิ่มเติม
[แก้]- การทูตจับตัวประกัน
- รายชื่อชาวต่างชาติที่ถูกคุมขังในเกาหลีเหนือ
- รายชื่อผู้เสียชีวิตที่คดียังไม่คลี่คลาย
- ความสัมพันธ์เกาหลีเหนือ-สหรัฐอเมริกา
- การท่องเที่ยวในเกาหลีเหนือ
หมายเหตุ
[แก้]- ↑ ไม่ใช่ส่วนเฉพาะพนักงานบนชั้น 5 ขัดกับที่สื่อบางสำนักได้คาดการณ์ไว้ก่อนหน้านี้[23]
- ↑ ผู้ต้องขังทั้งสามคนเป็นชาวอเมริกันเชื้อสายเกาหลี ทั้งสามเคยทำงานที่เกาหลีเหนือมาก่อนที่ถุกจับกุม พวกเขาได้รับการปล่อยตัวก่อนหน้าการประชุมสุดยอดเกาหลีเหนือ–สหรัฐครั้งแรก[50]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 Calamur, Krishnadev (March 16, 2016). "The Cost of Stealing a Sign: 15 Years of Hard Labor". The Atlantic.
- ↑ Pennington, Matthew (เมษายน 26, 2018). "Parents sue North Korea over death of detainee Otto Warmbier". AP News. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ มีนาคม 2, 2019. สืบค้นเมื่อ มีนาคม 2, 2019.
He was denied communication with his family by any means until in early June 2017 they were informed he was in a coma and had been in that condition for one year.
- ↑ 3.0 3.1 3.2 3.3 3.4 Clark, Doug Bock (July 23, 2018). "The Untold Story of Otto Warmbier, American Hostage". GQ. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ August 1, 2018. สืบค้นเมื่อ November 25, 2018.
- ↑ McCurry, Justin (กันยายน 28, 2017). "North Korea prisoner Otto Warmbier had no signs of torture – coroner". The Guardian (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). ISSN 0261-3077. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ กันยายน 28, 2017. สืบค้นเมื่อ กันยายน 29, 2017.
- ↑ Harvard, Sarah (ธันวาคม 24, 2018). "North Korea ordered to pay $500m to Otto Warmbier's family over death of US student". The Independent (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ กุมภาพันธ์ 10, 2019. สืบค้นเมื่อ กุมภาพันธ์ 9, 2019.
- ↑ Tucker, Eric (ธันวาคม 24, 2018). "US judge orders North Korea to pay for torture, death of student". The Sydney Morning Herald. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ มีนาคม 2, 2019. สืบค้นเมื่อ มีนาคม 2, 2019.
His once straight teeth were misaligned, and he had an unexplained scarred wound on his foot. An expert said in court papers that the injuries suggested he had been tortured with electrocution.
- ↑ Bosman, Julie (มีนาคม 1, 2019). "Trump Faces Fury After Saying He Believes North Korean Leader on Student's Death". The New York Times. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ ตุลาคม 30, 2019. สืบค้นเมื่อ มีนาคม 13, 2019.
- ↑ "Trump says he takes Kim Jong Un at his word that the North Korean leader was not personally responsible for Otto Warmbier". Fox News (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2019-02-28. สืบค้นเมื่อ 2019-02-28.
- ↑ Dawson, Steve (January 16, 2017). "What Happened to Otto Warmbier & Updates". The Gazette Review. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ February 15, 2017. สืบค้นเมื่อ June 13, 2017.
- ↑ 10.0 10.1 10.2 Fifield, Anna. "Worried about North Korea? Spare a thought for Otto Warmbier's family". The Washington Post. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ May 2, 2017. สืบค้นเมื่อ May 3, 2017. (ต้องรับบริการ)
- ↑ 11.0 11.1 11.2 Ponniah, Kevin; Spender, Tom (June 20, 2017). "Otto Warmbier: How did North Korea holiday end in jail, and a coma?". BBC News. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ June 21, 2017. สืบค้นเมื่อ June 22, 2017.
- ↑ O'Rourke, Tanya (June 20, 2017). "As he prepared to leave high school, Otto Warmbier celebrated 'finale' and the future ahead". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ June 20, 2017.
- ↑ 13.0 13.1 Feldman, Ari (June 22, 2017). "Otto Warmbier's Parents Kept Jewishness A Secret To Avoid 'Embarrassing' North Korea". The Forward. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ December 5, 2018.
- ↑ 14.0 14.1 14.2 Jenkins, Nash (เมษายน 29, 2016). "Otto Warmbier Has Been a Prisoner of North Korea Since the Start of 2016. Has America Forgotten Him?". Time. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ กรกฎาคม 30, 2017.
- ↑ Ramzy, Austin; Sang-Hun, Choe (June 16, 2017). "Otto Warmbier Came Home in a Coma. Travel Company Says North Korea Is 'Extremely Safe!'". The New York Times. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ June 21, 2017.
- ↑ Berlinger, Joshua; Ullah, Zahra; George, Steve (June 20, 2017). "Is North Korea's tourism industry luring Americans into a trap?". CNN.
- ↑ 17.0 17.1 17.2 17.3 James Pearson (January 23, 2016). "U.S. student detained in North Korea 'over hotel incident'". Reuters. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ January 24, 2016. สืบค้นเมื่อ January 23, 2016.
- ↑ 18.0 18.1 18.2 18.3 Rogin, Josh (June 15, 2017). "Otto Warmbier's North Korea roommate speaks out". The Washington Post (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). ISSN 0190-8286. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ June 20, 2017. สืบค้นเมื่อ June 20, 2017.
No words were spoken. Two guards just came over and simply tapped Otto on the shoulder and led him away. I just said kind of quite nervously, 'Well, that's the last we'll see of you.' There's a great irony in those words. That was it. That was the last physical time I saw Otto, ever. Otto didn't resist. He didn't look scared. He sort of half-smiled.
- ↑ Stone Fish, Isaac (June 23, 2017). "Who Killed Otto Warmbier?". Politico. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ June 26, 2017.
- ↑ "North Korea puts tearful detained American before cameras". Los Angeles Times. Associated Press. February 29, 2016. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ June 14, 2017. สืบค้นเมื่อ June 15, 2017.
- ↑ "Was Otto Warmbier Set Up? Roommate Doesn't Believe U.S. Student Did Anything Wrong". Inside Edition. มิถุนายน 16, 2017. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ มีนาคม 21, 2019. สืบค้นเมื่อ มีนาคม 24, 2019.
- ↑ Cowburn, Ashley (มกราคม 22, 2016). "US student held by North Korea was part of 'group out drinking vodka till 5am'". The Independent. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ สิงหาคม 16, 2017. สืบค้นเมื่อ กันยายน 7, 2017.
- ↑ Choi, Ha-young (กุมภาพันธ์ 29, 2016). "U.S. student tried to steal N.Korean poster at hotel: KCNA". North Korea News. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ ธันวาคม 30, 2018. สืบค้นเมื่อ มีนาคม 21, 2019.
- ↑ 24.0 24.1 Ripley, Will (กุมภาพันธ์ 29, 2016). "U.S. student held in North Korea 'confesses'". CNN. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ มิถุนายน 28, 2017. สืบค้นเมื่อ กรกฎาคม 6, 2017.
A North Korean official... says [Warmbier] entered the staff-only second floor of the hotel intending to steal a sign or banner with a political slogan.
- ↑ 25.0 25.1 Davis, Julie Hirschfeld; Goldman, Russell; Goldman, Adam (June 13, 2017). "Otto Warmbier, Detained American, Is Evacuated From North Korea in a Coma". The New York Times. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ June 13, 2017. สืบค้นเมื่อ June 19, 2017.
- ↑ Choe, Sang-Hun. "U.S. Student Runs Afoul of North Korea's Devotion to Slogans". The New York Times. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ March 17, 2016. สืบค้นเมื่อ March 18, 2016.
- ↑ "Detained US Student Admits 'Very Severe' — And Totally Absurd — Crime in North Korea" เก็บถาวร มีนาคม 1, 2016 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, Vice News, February 29, 2016
- ↑ "The strange ways North Korea makes detainees confess on camera" เก็บถาวร เมษายน 30, 2017 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, The Washington Post, February 29, 2016
- ↑ "After nearly a year detained in North Korea, little progress made to free American student Otto Warmbier" เก็บถาวร เมษายน 28, 2017 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, Fox News, December 24, 2016
- ↑ Cortellessa, Eric (มิถุนายน 22, 2017). "Otto Warmbier's family kept his Jewishness under wraps while North Korea held him hostage". The Times of Israel. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ กรกฎาคม 24, 2017. สืบค้นเมื่อ กรกฎาคม 21, 2017.
- ↑ Gladstone, Rick (March 15, 2016). "U.S. Troubleshooter Meets North Korea Diplomats on Detained American". The New York Times. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ March 18, 2016.
- ↑ "N Korea sentences US student to 15 years hard labour". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ March 18, 2016. สืบค้นเมื่อ March 16, 2016.
- ↑ "U.S. college student gets harsh sentence in N. Korea". CBS News. March 16, 2016. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ February 28, 2019.
- ↑ "American Student Sentenced to 15 Years of Hard Labor in DPRK". KCNA. March 16, 2016 – โดยทาง KCNA Watch.
- ↑ Nevett, Joshua (March 18, 2016). "North Korea releases CCTV of American student committing 'crime' that gave him 15 years hard labour". Mirror. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ April 20, 2016.
- ↑ "North Korea sentences U.S. student to 15 years hard labor" เก็บถาวร มีนาคม 16, 2016 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, CNN, March 17, 2016
- ↑ 37.0 37.1 Pearson, James; Park, Ju-min (March 17, 2016). "Hallowed leader's name behind U.S. student's jailing in North Korea". Reuters. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ June 9, 2016.
- ↑ "The video that North Korea says proves US student tried to steal banner". The Independent. March 18, 2016. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ May 9, 2017. สืบค้นเมื่อ June 15, 2017.
- ↑ "N. Korea: Video shows Wyoming grad remove sign". Cincinnati.com. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ May 1, 2016. สืบค้นเมื่อ March 19, 2016.
- ↑ Fifield, Anna (February 29, 2016). "U-Va. student held in North Korea 'confesses' to 'severe' crime". The Washington Post. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 11, 2017.
- ↑ Fifield, Anna; Svrluga, Susan; Morello, Carol (March 16, 2016). "North Korea sentences U-Va. student to 15 years of hard labor in prison". The Washington Post. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ December 19, 2016. สืบค้นเมื่อ November 28, 2016.(ต้องสมัครสมาชิก)
- ↑ Robertson, Phil. "Death of Otto Warmbier Highlights North Korea Rights Abuses" เก็บถาวร กรกฎาคม 3, 2017 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, Human Rights Watch, June 20, 2017
- ↑ "U.S. student Otto Warmbier given hard labour in North Korea". BBC News. March 16, 2016. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ March 18, 2016. สืบค้นเมื่อ March 19, 2016.
- ↑ "North Korea sentences Virginia student to 15 years hard labor". Chicago Tribune news services. March 16, 2016. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ June 20, 2017.
- ↑ "Otto Warmbier Was 'Brutalized and Terrorized' in North Korea, Father Says". The New York Times. June 19, 2017. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ June 19, 2017. สืบค้นเมื่อ August 14, 2017.
- ↑ Parents of Otto Warmbier, US citizen detained in North Korea, want son to be part of negotiations เก็บถาวร มิถุนายน 20, 2017 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. Fox News Channel. May 1, 2017.
- ↑ "Otto Warmbier's father praises President Trump for bringing his son home from North Korea". The Week. Peter Weber. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ June 16, 2017. สืบค้นเมื่อ June 16, 2017.
- ↑ Calamur, Krishnadev. "Otto Warmbier's Father Says He's Proud of His Son, Praises Trump's Efforts". The Atlantic. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ June 30, 2017. สืบค้นเมื่อ June 16, 2017.
- ↑ "US university student medically evacuated in a coma as Dennis Rodman arrives in North Korea" (ภาษาอังกฤษ). Associated Press. June 13, 2017. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ June 13, 2017. สืบค้นเมื่อ June 13, 2017.
- ↑ Goldman, Russell (เมษายน 19, 2018). "Who Are the 3 American Detainees Freed by North Korea?". The New York Times. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ เมษายน 3, 2019. สืบค้นเมื่อ มีนาคม 17, 2019.
- ↑ 51.0 51.1 "Doctors: Ex-North Korea detainee Otto Warmbier has severe brain injury" เก็บถาวร มิถุนายน 15, 2017 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, CNN, June 16, 2017
- ↑ Choe, Sang-Hun (มิถุนายน 15, 2017). "North Korea Says Otto Warmbier Was Released on 'Humanitarian Grounds'". The New York Times. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ กรกฎาคม 30, 2017. สืบค้นเมื่อ กรกฎาคม 30, 2017.
- ↑ 53.0 53.1 Clark, Doug Bock (2018-10-19). "Otto Warmbier: what happened in that North Korean jail?". South China Morning Post (ภาษาอังกฤษ).
Finally, Yun persuaded the North Koreans to let him see Otto. Flueckiger and Yun were shuttled to Pyongyang Friendship Hospital, a private facility that often treats foreign diplomats living in the city. [...] The North Koreans asked Flueckiger to sign a report testifying that Otto had been well cared for in hospital. "I would have been willing to fudge that report if I thought it would get Otto released," Flueckiger said. "But as it turned out," despite the most basic facilities (the room's sink did not even work), "he got good care and I did not have to lie."
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ Ripley, Will; Berlinger, Joshua; Brennan, Allison (June 13, 2017). "Comatose Otto Warmbier lands in US after release by North Korea". CNN. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ June 13, 2017. สืบค้นเมื่อ June 14, 2017.
- ↑ "US college student released by North Korea arrives in Ohio". ABC News. June 13, 2017. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ June 15, 2017.
- ↑ Fox, Maggie. "Otto Warmbier has bad brain damage, his doctors say". NBC News. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ June 21, 2017. สืบค้นเมื่อ June 22, 2017.
- ↑ Stolberg, Sheryl Gay (June 19, 2017). "Otto Warmbier, American Student Released From North Korea, Dies". The New York Times. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ June 19, 2017. สืบค้นเมื่อ June 22, 2017.
- ↑ 58.0 58.1 Svrluga, Susan; Fifield, Anna (June 19, 2017). "Otto Warmbier dies days after release from North Korean detention". Washington Post. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ June 19, 2017. สืบค้นเมื่อ June 19, 2017.
- ↑ Lockie, Alex (June 19, 2017). "Trump responds to 'tragic' death of Otto Warmbier, saying North Korea is a 'brutal regime' and 'we'll be able to handle it'". Business Insider (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ June 20, 2017. สืบค้นเมื่อ June 19, 2017.
- ↑ Kim Tong-Hyung (June 23, 2017). "North Korea says it's 'biggest victim' in US student's death". ABC News. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ June 23, 2017.
- ↑ Grinberg, Emanuella (June 20, 2017). "Otto Warmbier's family declines autopsy". CNN. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ June 21, 2017. สืบค้นเมื่อ June 21, 2017.
- ↑ 62.0 62.1 Koehler, Steven A.; Weedn, Victor W. (2017). "Failure to Autopsy: The Otto Warmbier Case". Journal of Forensic Science and Research. 1 (2): 098–105. doi:10.29328/journal.jfsr.1001012.
- ↑ Fox, Maggie (June 20, 2017). "What killed Otto Warmbier?". NBC News (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ June 21, 2017. สืบค้นเมื่อ June 21, 2017.
- ↑ Svrluga, Susan (June 21, 2017). "What happened to Otto Warmbier? When the unthinkable is unknowable". Washington Post. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ June 21, 2017.
- ↑ Beck, Catie; Ortiz, Erik (June 22, 2017). "Funeral Held for Otto Warmbier, Former North Korean Prisoner, at Ohio Alma Mater". NBC News. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ June 22, 2017.
- ↑ Chiles, Richard (June 21, 2017). "Wyoming adorned with Otto Warmbier tributes ahead of burial". WLWT. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ June 22, 2017. สืบค้นเมื่อ June 29, 2017.
- ↑ Siegel, Josh (มิถุนายน 19, 2017). "John McCain: Otto Warmbier 'murdered by the Kim Jong-un regime'". Washington Examiner. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ มีนาคม 21, 2019. สืบค้นเมื่อ มีนาคม 24, 2019.
- ↑ "S. Korean leader says N. Korea bears "heavy responsibility" for Otto Warmbier's death". CBS News. June 23, 2017. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ October 21, 2018.
- ↑ Rosenbloom, Stephanie (กรกฎาคม 31, 2017). "That North Korea Vacation? It'll Soon Be Out of the Question for Americans". The New York Times. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ กรกฎาคม 31, 2017. สืบค้นเมื่อ สิงหาคม 4, 2017.
- ↑ Thornton, Susan A. (กรกฎาคม 25, 2017). "Statement on North Korea Policy Before the Senate Foreign Relations Committee Subcommittee on East Asia, the Pacific, and International Cybersecurity Policy". U.S. Department of State. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ มิถุนายน 25, 2018. สืบค้นเมื่อ มิถุนายน 25, 2018.
- ↑ Fifield, Anna (April 25, 2019). "North Korea issued $2 million bill for comatose Otto Warmbier's care". The Washington Post.
- ↑ Finnegan, Conor (April 26, 2019). "Trump denies paying North Korea $2 million for Otto Warmbier's medical care". ABC News.
- ↑ Nakamura, David (เมษายน 26, 2018). "Amid Trump's diplomatic thaw, Otto Warmbier's parents sue North Korea for having 'brutally tortured and murdered' their son". The Washington Post (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). ISSN 0190-8286. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ พฤษภาคม 10, 2018. สืบค้นเมื่อ พฤษภาคม 9, 2018.
- ↑ Landler, Mark (เมษายน 26, 2018). "Parents Sue North Korea Over College Student's Death After Time in Prison". The New York Times (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). ISSN 0362-4331. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ พฤษภาคม 10, 2018. สืบค้นเมื่อ พฤษภาคม 9, 2018.