ความคุ้มกันแก่พระมหากษัตริย์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ความคุ้มกันองค์อธิปัตย์ (อังกฤษ: sovereign immunity) หรือ ความคุ้มกันพระมหากษัตริย์ (อังกฤษ: crown immunity) เป็นความคิดทางกฎหมายว่าองค์อธิปัตย์หรือรัฐ ไม่สามารถกระทำผิดกฎหมายได้ และมีความคุ้มกันต่อการฟ้องคดีแพ่งหรืออาญา ภายในเขตอำนาจศาลของตัวเอง สำหรับกฎทำนองเดียวกันที่เข้มกว่า ว่าด้วยศาลต่างดินแดน เรียกว่าความคุ้มกันแห่งรัฐ (อังกฤษ: state immunity)

ในความหมายเก่า ความคุ้มกันที่ให้แก่พระมหากษัตริย์เป็นหลักการที่มาดั้งเดิมของความคุ้มกันแห่งรัฐที่อาศัยมโนทัศน์คลาสสิกอำนาจอธิปไตยในแง่ที่ว่าองค์อธิปัตย์ไม่อาจอยู่ภายใต้เขตอำนาจศาลอื่นโดยปราศจากความยินยอมของผู้นั้น

ความคุ้มกันแก่องค์อธิปัตย์แบ่งได้เป็นสองรูปแบบ

  1. ความคุ้มกันจากคดี หมายถึง องค์อธิปัตย์หรือผู้แทนไม่สามารถเป็นจำเลยหรืออยู่ในบังคับของกระบวนพิจารณาคดีของศาล
  2. ความคุ้มกันจากการบังคับใช้ หมายถึง แม้บุคคลชนะคดีต่อองค์อธิปัตย์หรือรัฐ แต่คำพิพากษานั้นไม่อาจบังคับใช้ได้

ความคุ้มกันแก่องค์อธิปัตย์ของรัฐหนึ่งสามารถสละได้ โดย

  • ความตกลงลายลักษณ์ก่อนหน้า
  • การยื่นฟ้องคดีโดยไม่อ้างความคุ้มกัน
  • ยอมรับเขตอำนาจศาลเป็นจำเลยในคดี
  • ร้องขัดหรือดำเนินการในคดี (นอกเหนือจากอ้างความคุ้มกัน)

ในประเทศราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญเป็นจุดกำเนิดตามประวัติศาสตร์ของอำนาจหน้าที่ซึ่งสร้างศาลขึ้นมา กฎนี้แสดงออกทั่วไปในภาษิตกฎหมาย rex non potest peccare หมายถึง พระมหากษัตริย์จะทรงกระทำผิดไม่ได้ (the king can do no wrong)[1]

ตามประเทศ[แก้]

จีน[แก้]

สาธารณรัฐประชาชนจีนอ้างอย่างสม่ำเสมอว่า หลักการพื้นฐานข้อหนึ่งของกฎหมายระหว่างประเทศนั้น มีเพื่อให้รัฐทั้งหลาย รวมไปถึงทรัยพ์สินของรัฐเหล่านั้น ได้มีความคุ้มกันองค์อธิปัตย์โดยสมบูรณ์ (absolute sovereign immunity) จีนต่อต้านการคุ้มกันองค์อธิปัตย์แบบมีข้อจำกัด (restrictive sovereign immunity) จีนยืนยันว่ารัฐหนึ่งอาจสละความคุ้มกันของตนได้ด้วยการประกาศโดยสมัครใจ แต่หากมีกรณีที่รัฐบาลเข้าแทรกแซงในคดีความ (เช่น การประท้วง) กรณีดังกล่าวจะต้องไม่ถูกมองว่าเป็นการสละการคุ้มกัน[2] เคยมีกรณีที่บริษัทของจีนที่มีรัฐเป็นเจ้าของและถือว่ามีความสำคัญต่อกิจการของรัฐ ได้อ้างความคุ้มกันองค์อธิปัตย์ ในคดีความที่บริษัทเหล่านั้นถูกฟ้องในศาลต่างประเทศ มุมมองของจีนต่อเรื่องนี้คือ ความคุ้มกันองค์อธิปัตย์เป็นสิทธิและประโยชน์ที่ชอบด้วยกฎหมาย ที่องคาพยพของจีนมีหน้าที่จะปกป้องรักษา[3] ตัวอย่างของบริษัทของจีนที่รัฐเป็นเจ้าของที่เคยอ้างความคุ้มกันองค์อธิปัตย์ เช่น วิสาหกิจอุตสาหกรรมอากาศยานจีน (Aviation Industry Corporation of China - AVIC) และบรรษัทวัสดุก่อสร้างแห่งชาติจีน (China National Building Materia)[4]

สิงคโปร์[แก้]

ในประเทศสิงคโปร์ ความคุ้มกันแห่งรัฐถูกประมวลบัญญัติไว้ State Immunity Act of 1979 เก็บถาวร 2018-01-02 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน ซึ่งมีลักษณะใกล้เคียงกับ State Immunity Act 1978 ของสหราชอาณาจักร

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. Broom, Herbert (March 25, 1845). "A Selection of Legal Maxims, Classified and Illustrated". T. & J.W. Johnson – โดยทาง Google Books.
  2. 何, 志鹏. "主权豁免的中国立场".
  3. "Foreign Ministry Spokesperson Lu Kang's Regular Press Conference on May 11, 2016". Ministry of Foreign Affairs of the People's Republic of China.
  4. "Chinese state-owned firms clain 'sovereign immunity' in US courts with foreign ministry's backing". 12 May 2016.