ข้ามไปเนื้อหา

หลวงจรูญสนิทวงศ์ (หม่อมหลวงจรูญ สนิทวงศ์)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

อำมาตย์ตรี หลวงจรูญสนิทวงศ์ (หม่อมหลวงจรูญ สนิทวงศ์) (18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2438 — 30 มีนาคม พ.ศ. 2473) วิศวกรการรถไฟชาวไทย อดีตนายช่างกลอำนวยการโรงงานมักกะสัน ซึ่งมีหน้าที่ซ่อมหนักรถจักรและรถโดยสาร ของการรถไฟแห่งประเทศไทย

ประวัติ

[แก้]

อำมาตย์ตรี หลวงจรูญสนิทวงศ์ (หม่อมหลวงจรูญ สนิทวงศ์) เกิดเมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2438[1] เป็นบุตรเจ้าพระยาวงษานุประพัทธ์ (หม่อมราชวงศ์สท้าน สนิทวงศ์) กับท่านผู้หญิงวงศานุประพัทธ์ (ตาด สิงหเสนี)[2]

พ.ศ. 2455 ออกไปศึกษาวิชาช่างกล ณ ประเทศอังกฤษ สำเร็จปริญญา B.A. กลับเข้ามารับราชการเป็นนายช่างกล ผู้ช่วยกรมรถไฟหลวง และได้รับพระราชทานยศเป็นรองอำมาตย์เอก เมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2465[3]

1 มกราคม พ.ศ. 2466 รับพระราชทานสัญญาบัตรบรรดาศักดิ์เป็น หลวงจรูญสนิทวงศ์ ถือศักดินา ๖๐๐[4] 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2470 เป็นนายช่างกล ประจำกองช่างกล และเลื่อนยศเป็นอำมาตย์ตรี[5]

เข้าเรียนชั้นมัธยมศึกษาที่โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย เมื่อ พ.ศ. 2452 จบการศึกษาวิศวกรรมการรถไฟจากประเทศอังกฤษ แล้วรับราชการกรมรถไฟหลวง ท่านเป็นคนไทยคนแรกที่ได้รับการแต่งตั้งเป็นนายช่างกลอำนวยการโรงงาน โรงงานมักกะสัน ในปี พ.ศ. 2473 [6]

ชีวิตส่วนตัว

[แก้]

อำมาตย์ตรี หลวงจรูญสนิทวงศ์ (หม่อมหลวงจรูญ สนิทวงศ์) สมรสกับหม่อมหลวงรวง มีบุตรชื่อ ดำเกิง สนิทวงศ์ ณ อยุธยา และ มีธิดาชื่อ อรุณ สนิทวงศ์ ณ อยุธยา (ท่านผู้หญิงอรุณ กิติยากร ณ อยุธยา) ซึ่งสมรสกับหม่อมราชวงศ์กัลยาณกิติ์ กิติยากร พระเชษฐาในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง [7] และมีธิดาอีก 2 คน คือ อรอำไพ สนิทวงศ์ ณ อยุธยา และทิพย์วาณี สนิทวงศ์ ณ อยุธยา เกิดกับหม่อมหลวงฟ่อน [8] เป็นนักเขียนสารคดีสำหรับเด็ก ผลงานที่มีชื่อเสียงคือเรื่อง "เมื่อคุณตาคุณยายยังเด็ก" [9] ตีพิมพ์เป็นตอนๆ ในนิตยสารสตรีสารรายสัปดาห์ [10]

มรณกรรม

[แก้]

อำมาตย์ตรี หลวงจรูญสนิทวงศ์ (หม่อมหลวงจรูญ สนิทวงศ์) ป่วยเป็นโรคไตพิการ ถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2473[11]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

[แก้]

ลำดับสาแหรก

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. ราชกิจจานุเบกษา, ข่าวตาย หลวงจรูญสนิทวงศ์ (หม่อมหลวงจรูญ สนิทวงศ์) เล่ม 48, 12 เมษายน 2484, หน้า 132.
  2. อรวรรณ ทรัพย์พลอย. พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงวงษาธิราชสนิท ปราชญ์ผู้เป็นกำลังของแผ่นดิน. กรุงเทพฯ : สร้างสรรค์บุ๊คส์, 2552. 352 หน้า. ISBN 978-974-341-578-4
  3. พระราชทานยศ (หน้า ๒๒๐๙)
  4. พระราชทานบรรดาศักดิ์ (หน้า ๓๓๔๙)
  5. พระราชทานยศ (หน้า ๒๕๙๒)
  6. "ประวัติโรงงานมักกะสัน". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-10-26. สืบค้นเมื่อ 2009-10-26.
  7. สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินไปในการพระราชทานเพลิงศพ ท่านผู้หญิงอรุณ กิติยากร ณ อยุธยา[ลิงก์เสีย] ข่าวในพระราชสำนัก, 29 มกราคม 2552
  8. ประวัตินางสาวทิพย์วาณี สนิทวงศ์ ณ อยุธยา เก็บถาวร 2020-08-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน สำเนาจาก หนังสือเรียนภาษาไทย ท 101 ท 102 ชุดทักษสัมพันธ์ เล่ม 1 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ
  9. เมื่อคุณตาคุณยายยังเด็ก[ลิงก์เสีย]
  10. เมื่อคุณตาคุณยายยังเด็ก
  11. ราชกิจจานุเบกษา, ข่าวตาย หลวงจรูญสนิทวงศ์ (หม่อมหลวงจรูญ สนิทวงศ์) เล่ม 48, 12 เมษายน 2484, หน้า 132.
  12. ราชกิจจานุเบกษา, รายพระนามและนาม สมาชิก สมาชิกา เครื่องราชอิศริยาภรณ์สำหรับตระกูลจุลจอมเกล้า พระราชทานในพระราชพิธีฉัตรมงคล เมื่อวันที่ ๑๑ พฤศจิกายน พระพุทธศักราช ๒๔๖๕[ลิงก์เสีย], เล่ม ๓๙ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๒๘๘, ๑๙ พฤศจิกายน ๒๔๖๕
  13. พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ (หน้า 3104)
  14. ราชกิจจานุเบกษา, เครื่องราชอิสสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ฝ่ายหน้าและฝ่ายใน, เล่ม ๔๖ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๙๓๖, ๑ ธันวาคม ๒๔๗๒
  15. ราชกิจจานุเบกษา, ส่งเครื่องราชอิสริยาภรณ์ไปพระราชทาน, เล่ม ๔๕ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๖๒๗, ๒๕ พฤศจิกายน ๒๔๗๑
  16. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๕๑ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๓๕๖๐, ๑ มกราคม ๒๔๖๗