หยก
หน้าตา
ลิงก์ข้ามภาษาในบทความนี้ มีไว้ให้ผู้อ่านและผู้ร่วมแก้ไขบทความศึกษาเพิ่มเติมโดยสะดวก เนื่องจากวิกิพีเดียภาษาไทยยังไม่มีบทความดังกล่าว กระนั้น ควรรีบสร้างเป็นบทความโดยเร็วที่สุด |
บทความนี้ต้องการการจัดหน้า จัดหมวดหมู่ ใส่ลิงก์ภายใน หรือเก็บกวาดเนื้อหา ให้มีคุณภาพดีขึ้น คุณสามารถปรับปรุงแก้ไขบทความนี้ได้ และนำป้ายออก พิจารณาใช้ป้ายข้อความอื่นเพื่อชี้ชัดข้อบกพร่อง |
หยก | |
---|---|
หยกดิบ | |
การจำแนก | |
คุณสมบัติ | |
สี | แทบทุกสี ส่วนใหญ่เป็นสีเขียว |
รูปแบบผลึก | มวลรวมเป็นเม็ดเล็กหรือละเอียด |
โครงสร้างผลึก | Monoclinic |
การเกิดผลึกแฝด | zu |
แนวแตกเรียบ | ไม่ |
รอยแตก | เป็นชิ้นเล็ก ๆ |
ความยืดหยุ่น | เปราะ |
ค่าความแข็ง | 6–7 |
ดรรชนีหักเห | 1.600–1.688 |
ค่าแสงหักเหสองแนว | 0.020–0.027 |
การกระจายแสง | ไม่ |
การเปลี่ยนสี | Absent |
ความถ่วงจำเพาะ | 2.9–3.38 |
ความโปร่ง | โปร่งแสง, ทึบแสง |
หยก (อังกฤษ: Jade) คือชื่อที่ใช้เรียกหินซึ่งเป็นอัญมณีอันล้ำค่ามากชนิดหนึ่ง โดยเฉพาะชาวจีนถือว่าหยกเป็นเจ้าแห่งหินมีค่าทั้งมวล
ในอดีตเข้าใจกันว่าหยกมีเพียงชนิดเดียว ต่อมาเมื่อมนุษย์มีความรู้ทางด้านเคมีมากขึ้น จึงสามารถแยกหยกได้เป็น 2 ชนิด คือ
- เจไดต์ (Jadeite) มีองค์ประกอบทางเคมีเป็นโซเดียมอะลูมิเนียมซิลิเกต (NaAl (SiO3)2, Sodium aluminium silicate) มักมีสีเขียวเข้มสดกว่าเนไฟรต์ จัดเป็นหยกชนิดคุณภาพดี อยู่ในระบบผลึกแบบหนึ่งแกนเอียง โดยธรรมชาติมักพบเป็นก้อนเนื้อแน่นประกอบด้วยผลึกขนาดเล็กอยู่รวมกัน มีความวาวตั้งแต่แบบแก้วจนถึงแบบน้ำมัน หยกเจไดต์มีความแข็ง 6.5–7 มีสีในเนื้อพลอยเฉพาะตัว และมักไม่สม่ำเสมอ มีสีเข้มและจางของแต่ละผลึกรวมกันอยู่ โดยเฉพาะในพลอยก้อนจะมีลักษณะเป็นหย่อมสี พบว่าเกิดอยู่ในหินเซอร์เพนทีน ที่ได้จากการแปรสภาพของหินอัคนีชนิดที่มีแร่โอลีวีนอยู่มาก หรือมีโซเดียมอยู่มาก
- เนไฟรต์ (Nephrite) มีองค์ประกอบทางเคมีเป็นแคลเซียมแมกนีเซียมซิลิเกต (Calcium magnesium silicate) อยู่ในระบบผลึกหนึ่งแก่นเอียง โดยธรรมชาติมักพบเกิดเป็นผลึกกลุ่มที่มีขนาดเล็กรุปเส้นใยเดียวกัน หยกเนไฟรต์มีความแข็ง 6–6.5 มีความวาวแบบแก้วถึงน้ำมัน สีมีความเฉพาะตัวเหมือนหยกเจไดต์ แต่มีสีเข้มไม่เท่า และมีสีมืดมากกว่า พบว่าเกิดจากหินเดิมที่มีธาตุแมกนีเซียมแปรสภาพด้วยความร้อน
การปรับปรุงคุณภาพหยกเจไดต์
[แก้]- หยกที่ไม่ได้ผ่านการปรับปรุงคุณภาพใด ๆ เรียกว่า A jade หรือ untreated jadeite, หรือหยก Type A Jade
- หยกเจไดต์ที่สีไม่สวยและค่อนข้างโปร่งแสง อาจถูกนำมากัด (bleach) เพื่อเอาหินแร่สีน้ำตาลหรือดำออก แต่จะทำให้โครงสร้างของหยกกร่อนลง จึงต้องอัดด้วยเรซิน (resin) หรือแวกซ์ (wax) ลงไป เรียกหยกที่ผ่านกระบวนการเหล่านี้ว่า B jade (จากคำว่า 'bleached'), หรือหยก Type B Jade
- หยกเจไดต์ที่มีสีซีดอาจนำมาย้อมให้สีเข้มขึ้น เรียกหยกที่ผ่านกระบวนการนี้ว่า C jade ซึ่งสีที่ย้อมเหล่านี้สามารถซีดลงได้, หรือหยก Type C Jade
- หยกเจไดต์ที่ผ่านทั้งกระบวนการอัดด้วยเรซินและการย้อมสี เรียกว่า B+C jade, หรือหยก Type B+C Jade
แหล่งข้อมูล
[แก้]- วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ หยก