หม่อมเจ้าขจรจิรพันธ์ จิรประวัติ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
หม่อมเจ้าขจรจิรพันธ์ จิรประวัติ
หม่อมเจ้า ชั้น 5
ประสูติ19 ตุลาคม พ.ศ. 2455
โคเปนเฮเกน ประเทศเดนมาร์ก
สิ้นชีพตักษัย14 สิงหาคม พ.ศ. 2514 (58 ปี)
หม่อมหม่อมราชวงศ์กุลปราโมทย์ จิรประวัติ
พระบุตรหม่อมราชวงศ์สุรภี สวัสดิวัตน์
ราชสกุลจิรประวัติ
ราชวงศ์จักรี
พระบิดาพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงนครไชยศรีสุรเดช
พระมารดาหม่อมเจ้าสุมนมาลย์ จิรประวัติ
ศาสนาพุทธ

หม่อมเจ้าขจรจิรพันธ์ จิรประวัติ (16 ตุลาคม พ.ศ. 2455 – 14 สิงหาคม พ.ศ. 2514) เป็นพระโอรสในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงนครไชยศรีสุรเดช กับหม่อมเจ้าสุมนมาลย์ จิรประวัติ[1]

พระประวัติ[แก้]

หม่อมเจ้าขจรจิรพันธ์ จิรประวัติ มีพระนามลำลองว่า ท่านชายนอก[2] เป็นพระโอรสในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงนครไชยศรีสุรเดช กับหม่อมเจ้าสุมนมาลย์ จิรประวัติ (ราชสกุลเดิม โสณกุล) มีโสทรเชษฐาหนึ่งองค์ คือ หม่อมเจ้านิทัศนาธร จิรประวัติ มีเชษฐาและเชษฐภคินีต่างพระมารดาสี่องค์ ได้แก่ หม่อมเจ้าวิมลปัทมราช จิรประวัติ, หม่อมเจ้านิวาศสวัสดี จิรประวัติ, หม่อมเจ้าประสบศรีจิรประวัติ จิรประวัติ และหม่อมเจ้าหญิง (ไม่ปรากฏพระนาม)

หม่อมเจ้าขจรจิรพันธ์ จิรประวัติ ประสูติเมื่อวันที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2455 ที่กรุงโคเปนเฮเกน จึงมีพระนามลำลองว่า “นอก” ได้รับการศึกษาตามพระฐานะในพระนคร แม้จะมีพลานามัยไม่ค่อยแข็งแรง แต่พระมารดาเป็นผู้สนทัยในการเลี้ยงเด็ก จึงประคับประคองตลอดมาได้ จนมีชันษาสมควรจึงส่งเสด็จไปทรงศึกษาที่โรงเรียนเทพศิรินทร์ แล้วเสด็จไปทรงศึกษาต่อที่ประเทศอังกฤษ ต่อมาทรงศึกษาต่อที่มหาวิทยาลัยในเดนมาร์ก แล้วเสด็จกลับมาทรงงานเป็นหลักเป็นฐานในบริษัทค้าขายต่าง ๆ เช่น ที่บริษัทบอร์เนียว บี.โอ.เอ.ซี. บริษัทการบินไทย และบริษัทการบิน พี.เอ.เอ. บรรดาผู้ที่เกี่ยวข้องกับท่านต่างเห็นเหมือนกันว่า ท่านทรงงานอย่างเด็ดเดี่ยวไม่ทรงย่อท้อ แม้ในงานที่มิใช่อาชีพ เช่น งานของสโมสรโรตารี่ ทรงตั้งใจทรงงานด้วยความเข้มแข็งและเที่ยงธรรมทุกด้าน[3]

หม่อมเจ้าขจรจิรพันธ์ จิรประวัติ สิ้นชีพตักษัยเมื่อวันที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2514 สิริชันษา 59 ปี

เสกสมรส[แก้]

หม่อมเจ้าขจรจิรพันธ์ เสกสมรสกับ หม่อมราชวงศ์กุลปราโมทย์ จิรประวัติ (ราชสกุลเดิม สวัสดิกุล; ธิดาในหม่อมเจ้าวิบูลย์สวัสดิ์วงศ์ สวัสดิกุล กับหม่อมเกื้อ สวัสดิกุล ณ อยุธยา (สกุลเดิม ณ ระนอง)) มีธิดาหนึ่งคน คือ

  • หม่อมราชวงศ์สุรภี สมรสกับหม่อมราชวงศ์วุฒิสวัสดิ์ สวัสดิวัตน์ มีธิดาสองคน ได้แก่
    • หม่อมหลวงเสาวรส สวัสดิวัตน์
    • หม่อมหลวงกุลภา สวัสดิวัตน์[4]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

พงศาวลี[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนาฯ. จุฬาลงกรณราชสันตติวงศ์ :พระนามพระราชโอรส พระราชธิดา และพระราชนัดดา. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์บรรณกิจ, 2548. 136 หน้า. ISBN 9742217467
  2. อนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ ม.จ.ไกรสิงห์ วุฒิชัย ณ เมรุวัดธาตุทอง วันพุธ ที่ 23 มิถุนายน 2519. [ม.ป.ท.]: มงคลการพิมพ์; 2519.
  3. พิทยลาภพฤฒิยากร, พระวรวงศ์เธอ กรมหมื่น, 2428-2517. เรื่อง พระพุทธยอดฟ้าทรงฟื้นฟูวัฒนธรรมของไทย. [ม.ป.ท.]: ม.ป.พ.; 2514.
  4. กิติวัฒนา (ไชยันต์) ปกมนตรี, หม่อมราชวงศ์. สายพระโลหิตในพระพุทธเจ้าหลวง. กรุงเทพฯ : ดีเอ็มดี, พ.ศ. 2551. 290 หน้า. ISBN 978-974-312-022-0