หมัก กื๋ว
หมัก กื๋ว 鄚玖 | |||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
กื๋วหง็อกเหิ่ว ออกญา | |||||||||
อนุสาวรีย์หมัก กื๋วที่ห่าเตียน ประเทศเวียดนาม | |||||||||
เจ้าเมืองพุทไธมาศ (ห่าเตียน) | |||||||||
ครองราชย์ | ค.ศ. 1707–18 กรกฎาคม ค.ศ. 1735 | ||||||||
ก่อนหน้า | ไม่มี (สถาปนาราชวงศ์) | ||||||||
ถัดไป | ม่อซื่อหลิน | ||||||||
ประสูติ | ค.ศ. 1655 คาบสมุทรเหลย์โจว จีน | ||||||||
สวรรคต | 18 กรกฎาคม ค.ศ. 1735 ห่าเตียน ราชรัฐห่าเตียน | (79–80 ปี)||||||||
|
หมัก กื๋ว | |||||||||||||||
ชื่อภาษาจีน | |||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ภาษาจีน | 鄚玖 | ||||||||||||||
| |||||||||||||||
ชื่อภาษาเวียดนาม | |||||||||||||||
จื๋อโกว๊กหงือ | Mạc Cửu | ||||||||||||||
จื๋อฮ้าน | 鄚玖 |
มั่ว จิ่ว (จีน: 鄚玖; พินอิน: Mò Jiǔ, จื๋อฮ้าน: 鄚玖, เวียดนาม: Mạc Cửu; เขมร: ម៉ាក គីវ[1] หรือ ម៉ាក គូ; ค.ศ. 1655 – 18 กรกฎาคม ค.ศ. 1735) หรือ หมัก กื๋ว เป็นชาวจีนลี้ภัยที่สถาปนาราชรัฐห่าเตียน (เมืองพุทไธมาศ) และขึ้นครองเป็นเจ้าเมืององค์แรก เขามีบทบาทในความสัมพันธ์ระหว่างกัมพูชากับราชสำนักเหงียนเวียดนาม[2][3]
เขาเกิดที่เหลย์โจว มณฑลกวางตุ้งที่ขณะนั้นอยู่ภายใต้การปกครองของราชวงศ์หมิงใต้ โดยมีชื่อเกิดว่า "หมัก กิ๊ญ กื๋ว" (เวียดนาม: Mạc Kính Cửu, จื๋อฮ้าน: 莫敬玖, พินอิน: Mò Jìngjiǔ) ซึ่งอาจสร้างความสับสนได้ง่ายกับผู้นำบางพระองค์ในราชวงศ์หมัก เช่น หมัก กิ๊ญ จี๋, หมัก กิ๊ญ กุง, หมัก กิ๊ญ ควาน และหมัก กิ๊ญ หวู ดังนั้น พระองค์จึงทรงเปลี่ยนพระนามเป็น "หมัก กื๋ว" (Mạc Cửu, 鄚玖)[4] จากนั้นหมัก กื๋วตัดสินใจอพยพไปเวียดนามเพื่อขยายธุรกิจ[5]ในช่วงประมาณระหว่าง ค.ศ. 1687 ถึง 1695[6] กษัตริย์กัมพูชาพระราชทานตำแหน่งภาษาเขมรว่า ออกญา (ឧកញ៉ា) และสนับสนุนให้อพยพไปยังบันทายมาศ ซึ่งช่วงแรกเขาทำหน้าที่เป็นหัวหน้าชุมชนชาวจีนขนาดเล็กแห่งหนึ่ง[7] เขาสร้างกาสิโนที่นั้นและเริ่มร่ำรวย จากนั้นดึงดูดชาวจีนให้เข้ามาตั้งถิ่นฐานใหม่ และสร้างหมู่บ้าน 7 แห่งที่เกาะฟู้โกว๊ก, หลุงกี่ (แกบ), เกิ่นบต (กำปอด), เฮืองอุ๊ก (สีหนุวิลล์ในปัจจุบัน), ซ้าเค (สักซ้า) และก่าเมา[5] ชาวจีนสถาปนาเมืองของตนที่ห่าเตียน อย่างไรก็ตาม พื้นที่นี้มีโครงสร้างการเมืองสองแบบ โดยหมัก กื๋วปกครองชาวจีนท้องถิ่นและชาวเวียดนาม ส่วนชาวเขมรยังคงอยู่ภายใต้การปกครองของ ออกญาราชเศรษฐี (ឧកញ៉ារាជាសេដ្ឋី) จนกระทั่งการทัพของสยามโค่นล้มระบบท้องถิ่นใน ค.ศ. 1771[7] หมัก กื๋วถูกจับกุมและนำตัวไปกรุงเทพ เขาไม่มีโอกาสกลับไปยังห่าเตียนจนกระทั่งเกิดความขัดแย้งทางการเมืองในสยาม[5]
หลังจากนั้น หมัก กื๋วหันไปสวามิภักดิ์ต่อขุนนางเหงียนแห่งเวียดนาม[8] เขาส่งบรรณาการแก่ราชสำนักเหงียนใน ค.ศ. 1708 และได้รับตำแหน่ง ต๋งบิญ แห่งห่าเตียน[9] และตำแหน่ง กื๋วหง็อกเหิ่ว (เวียดนาม: Cửu Ngọc hầu) ต่อมาใน ค.ศ. 1715 ธรรรมราชาที่ 3 หรือ หญัก อง เทิม (เวียดนาม: Nặc Ông Thâm) กษัตริย์กัมพูชา เข้ารุกรานห่าเตียนด้วยกำลังสนับสนุนจากสยาม เพื่อนำดินแดนที่สูญเสียไปกลับคืนมา หมัก กื๋วประสบความพ่ายแพ้และหลบหนีไปที่หลุงกี่ (ปัจจุบันคือเมืองแกบในประเทศกัมพูชา) ทางกัมพูชาจึงเข้าปล้นเมืองห่าเตียนและถอนทัพกลับ หมัก กื๋วกลับมาที่ห่าเตียนและสร้างปราสาทเพื่อป้องกันพื้นที่ของตนจากการโจมตี[5] เขาเสียชีวิตในวันที่ 16 กรกฎาคม ค.ศ. 1735[10]
หมักเทียนตื๊อ ลูกชายของหมักกับสตรีจากเบียนฮหว่า เกิดใน ค.ศ. 1718 เขายังมีลูกสาวชื่อ หมัก กีม ดิ่ญ ที่แต่งงานกับลูกชายของ เจิ่น เถื่อง เซวียน นายพลชาวจีนผู้ถูกเนรเทศ[8][11] ลูกหลานของหมัก กื๋วดำรงตำแหน่งเจ้าเมืองห่าเตียนจนกระทั่งตำแหน่งถูกยุบเลิกโดยราชวงศ์เหงียนของเวียดนามใน ค.ศ. 1832
อ้างอิง
[แก้]- ↑ ជុន ច័ន្ទបុត្រ (2015-06-23). "វិបត្តិក្នុងរាជ្យលើកទី២របស់ព្រះស្រីធម្មរាជារាមាធិបតីឆ្នាំ១៩០៦ (ភាគ៤៩)" (ภาษาเขมร). Radio Free Asia.
- ↑ Bruce McFarland Lockhart, William J. Duiker Historical dictionary of Vietnam 2006 Page 228 "Mạc Cửu (1655–1736) A Chinese immigrant who established his family in the Hà Tiên area of the Mekong Delta. ... he threw in his lot with the Vietnamese"
- ↑ Bruce M. Lockhart; William J. Duiker (27 February 2006). Historical Dictionary of Vietnam. Scarecrow Press. pp. 228–. ISBN 978-0-8108-6505-1.
- ↑ Hà Tiên trấn Hiệp trấn Mạc thị gia phả
- ↑ 5.0 5.1 5.2 5.3 Đại Nam liệt truyện tiền biên, vol. 6
- ↑ Thien Do Vietnamese Supernaturalism: Views from the Southern Region 2012 "Đại Nam Nhât Thông Chí does not record what date Mạc Cửu first came to this Cambodian port to develop it and surrounding areas. He offered Hà Tiên province to the Nguyeễn in 1714. See Đại Nam Nhât Thông Chí, vol. 2
- ↑ 7.0 7.1 Cooke & Li 2004, p. 43
- ↑ 8.0 8.1 Coedes 1966, p. 213
- ↑ Cooke & Li 2004, pp. 43–44
- ↑ Cooke & Li 2004, p. 44
- ↑ Ooi 2004, p. 806
ข้อมูล
[แก้]- Coedes, George (1966), "The making of South East Asia", The Geographical Journal, University of California Press, 132 (4): 540, Bibcode:1966GeogJ.132..540P, doi:10.2307/1792563, ISBN 978-0-520-05061-7, JSTOR 1792563
- Cooke, Nola; Li, Tana (2004), Water frontier: commerce and the Chinese in the Lower Mekong Region, 1750-1880, Rowman & Littlefield, ISBN 978-0-7425-3083-6
- Ooi, Keat Gin (2004), "Mac Thien Tu (1780-1800)", Southeast Asia: a historical encyclopedia, from Angkor Wat to East Timor, Volume 1, ABC-CLIO, pp. 806–807, ISBN 1-57607-770-5
- Nicholas Sellers, The Princes of Hà-Tiên (1682-1867): the Last of the Philosopher-Princes and the Prelude to the French Conquest of Indochina: a Study of the Independent Rule of the Mac Dynasty in the Principality of Hà-Tiên, and the Establishment of the Empire of Vietnam, Brussels, Thanh-long, 1983.