ข้ามไปเนื้อหา

ต้าหลี่

พิกัด: 25°36′N 100°16′E / 25.600°N 100.267°E / 25.600; 100.267
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก หนองแส)
ต้าหลี่

大理市
ย่านเมืองเก่าในนครต้าหลี่
ย่านเมืองเก่าในนครต้าหลี่
ที่ตั้งของนครต้าหลี่ (สีชมพู) และจังหวัดต้าหลี่ (สีเหลือง) ในมณฑลยูนนาน ประเทศจีน
ที่ตั้งของนครต้าหลี่ (สีชมพู) และจังหวัดต้าหลี่ (สีเหลือง) ในมณฑลยูนนาน ประเทศจีน
ต้าหลี่ตั้งอยู่ในมณฑลยูนนาน
ต้าหลี่
ต้าหลี่
ที่ตั้งในมณฑลยูนนาน
พิกัด: 25°36′N 100°16′E / 25.600°N 100.267°E / 25.600; 100.267
ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน
มณฑลยูนนาน
จังหวัดปกครองตนเองต้าหลี่
พื้นที่
 • ทั้งหมด1,468 ตร.กม. (567 ตร.ไมล์)
ความสูง1,975 เมตร (6,480 ฟุต)
ประชากร
 (ค.ศ. 2010)[1]
 • ทั้งหมด652,045 คน
 • ความหนาแน่น440 คน/ตร.กม. (1,200 คน/ตร.ไมล์)
เขตเวลาUTC+8 (มาตรฐานจีน)
รหัสไปรษณีย์671003
รหัสพื้นที่0872
ภูมิอากาศCwb
เว็บไซต์www.dali.gov.cn
Yunnan e-Portal

ต้าหลี่ (จีน: 大理市; พินอิน: Dàlǐ shì) หรือภาษาไทใหญ่ว่า แสหลวง หรือ มิถิลา[2] เป็นเมืองหลวงของเขตปกครองตนเองชนชาติไป๋ ต้าหลี่ มณฑลยูนนาน ทางตอนใต้ของสาธารณรัฐประชาชนจีน ตั้งอยู่บนที่ราบสูงระหว่างเทือกเขาชางซานทางด้านตะวันตก และทะเลสาบเอ๋อร์ไห่ทางด้านตะวันออก เป็นที่ตั้งถิ่นฐานของชาวไป๋และชาวอี๋มาตั้งแต่สมัยโบราณ

ประวัติศาสตร์

[แก้]
เจดีย์สามองค์ในวัดฉงเซิ่ง

ต้าหลี่เคยเป็นเมืองหลวงของอาณาจักรน่านเจ้า ซึ่งเป็นอาณาจักรของชาวไป๋ในราวศตวรรษที่ 8-9 ต่อมาได้เป็นเมืองหลวงของอาณาจักรต้าหลี่ในปี พ.ศ. 1480 - 1796 ซึ่งคนไทยก็มักเข้าใจว่าเป็นคนไทย เพราะนโยบายชาตินิยม และยังเป็นศูนย์กลางการเคลื่อนไหวของกลุ่มกบฏชาวจีนมุสลิม (จีนฮ่อ) ระหว่างปี พ.ศ. 2399 - 2406

ต้าหลี่ยังมีชื่อเสียงในฐานะเป็นแหล่งผลิตหินอ่อนหลากหลายชนิด ซึ่งนำไปใช้ในการก่อสร้างและประดับตกแต่งอาคาร

ปัจจุบันนี้ ต้าหลี่เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญ ซึ่งดึงดูดนักท่องเที่ยวทั้งจากในและต่างประเทศ

ต้าหลี่เป็นเมืองเก่าแก่ ตั้งอยู่บริเวณที่ราบลุ่มระหว่างทะเลสาบเอ๋อร์ไห่ และเทือกเขาชางซาน (苍山) ซึ่งมีภูเขามังกรหยกอยู่ทางด้านตะวันตกของเมือง ต้าหลี่ถือเป็นรัฐที่มีเอกราชมานานตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 8 คือ ไม่ได้ขึ้นอยู่กับราชวงศ์ถังและซ่ง ผู้นำมีฐานะเป็นจักรพรรดิแห่งยูนนาน จนกระทั่งมาแตกพ่ายให้กับชาวมองโกล จากนั้นจึงขึ้นอยู่กับศูนย์กลางอำนาจของจีนเป็นต้นมา ตั้งแต่ราชวงศ์หยวน หมิงและชิง คำว่าน่านเจ้า (ภาษาจีนกลางออกเสียงว่า หนานเจ้า : 南诏) หมายถึง ตระกูลทางใต้หรือพวกทางใต้ ซึ่งคืออาณาจักรน่านเจ้าที่เราเคยได้ยินกันและมีศูนย์กลางอยู่ที่ต้าหลี่ ชาวพื้นเมืองต้าหลี่ส่วนใหญ่คือชาวไป๋ซึ่งนับถือศาสนาอิสลาม ในช่วงปี คศ. 1856–1873 สมัยราชวงศ์ชิง เกิดกบฏในมณฑลยูนนานเรียกว่า กบฏตู้เหวินซิ่ว (杜文秀起義) เกิดจากความขัดแย้งเชิงเชื้อชาติ ระหว่างราชสำนักชิงซึ่งเป็นชาวแมนจูกับชาวพื้นเมืองในมณฑลยูนนาน ตู้เหวินซิ่วซึ่งเป็นผู้นำ ได้ประกาศเอกราชให้กับมณฑลยูนนานและเรียกว่าประเทศผิงหนาน โดยมีเมืองต้าหลี่เป็นเมืองหลวง ปกครองแบบรัฐอิสลาม แต่หลังจากเวลาผ่านไปได้ 17 ปี ท้ายที่สุด ต้าหลี่และมณฑลยูนนานก็ขึ้นอยู่กับราชวงศ์ชิงอีกครั้ง ผู้นำผิงหนานถูกตัดศีรษะแช่น้ำผึ้งส่งไปปักกิ่ง รอยสลักบนกำแพงเมือง ซึ่งชาวเมืองแอบเขียนด่าราชสำนักชิงไว้เมื่อร้อยกว่าปีก่อน ยังคงถูกรักษาไว้จนถึงปัจจุบัน

ต้าหลี่ เป็นเมืองโบราณทางตะวันตกของคุนหมิง ห่างมา 400 กิโลเมตร มีกำแพงล้อมรอบ และเป็นหนึ่งในเมืองที่สวยที่สุดของจีน ด้านหนึ่งติดเทือกเขาชางซานที่สูง 4,000 เมตร อีกด้านติดทะเลสาบเอ๋อร์ไห่ซึ่งใหญ่เป็นอันดับสองของจีน ถือเป็นชัยภูมิที่หาเมืองอื่นใดมาเทียบได้ยาก และด้วยความสูง 1,900 เมตรเหนือระดับน้ำทะเล อากาศที่นี่จึงเย็นสบายตลอดทั้งปี

เมืองเก่าต้าหลี่ที่หลงเหลืออยู่ในปัจจุบันเป็นมรดกที่ตกทอดมาจากอาณาจักรน่านเจ้า ซึ่งรุ่งเรืองอยู่ในสมัยเดียวกับราชวงศ์เหนือ-ใต้ ในช่วงศตวรรษที่ 5 และ 6 ในช่วงดังกล่าว ศูนย์กลางของหยุนหนานได้ย้ายจากคุนหมิงมาอยู่ยังอาณาจักรทั้งหกของชนเผ่าไป๋ทางตะวันตก ครั้นถึงยุคราชวงศ์ถัง หัวหน้าเผ่านามผีลั่วเก๋อ (พีล่อโก๊ะ ค.ศ.697-748) ได้รวบรวมอาณาจักรทั้งหกเข้าไว้ด้วยกัน และสถาปนาขึ้นเป็นอาณาจักรน่านเจ้า (แปลว่า “อาณาจักรใต้” ค.ศ.738-902) มีเมืองต้าหลี่เป็นราชธานี

อาณาจักรน่านเจ้าได้ต่อต้านอำนาจของราชวงศ์ถังเสมอมา ในยุคเรืองอำนาจสูงสุดน่านเจ้ามีเขตแดนทางตอนบนยื่นลึกเข้าไปในซื่อชวน ตอนใต้เลยเข้าไปในพม่า ทางตะวันออกเฉียงเหนือกินแดนเข้าไปในเขตตอนบนของเวียดนาม ช่วงปลายศตวรรษที่ 9 อาณาจักรน่านเจ้าอ่อนแอลงเพราะความขัดแย้งภายใน นำไปสู่การก่อกบฏใน ค.ศ.939 อาณาจักรจึงหดเล็กลงเป็นแค่อาณาจักรต้าหลี่ ซึ่งปัจจุบันคือเขตปกครองตนเองของชนเผ่าไป๋

เมืองโบราณต้าหลี่สร้างขึ้นเมื่อกว่า 1,000 ปีก่อน ถึงแม้ได้ผ่านกาลเวลามาช้านาน แต่เมืองโบราณแห่งนี้ก็ยังคงอยู่ในสภาพค่อนข้างสมบูรณ์ นักท่องเที่ยวจะเห็นประตูเมืองทั้งด้านใต้และด้านเหนือที่มีสถาปัตยกรรมสอดรับกัน ตามสองฟากของถนนสายเก่าแก่มีบ้านโบราณปลูกสร้างไว้อย่างกระจัดกระจาย มีถนนสายเก่าแก่ที่ตัดผ่านตัวเมืองโบราณสายหนึ่งซึ่งทุกวันนี้ได้กลายเป็นถนนย่านการค้าที่เจริญคึกคัก ตามสองข้างถนนเต็มไปด้วยร้านค้าต่าง ๆ มีพ่อค้าชาวไป๋ที่แต่งชุดประจำเผ่ากำลังค้าขายสินค้าพื้นเมืองต่าง ๆ เช่น หินอ่อนต้าหลี่ ผ้าพื้นเมืองและเครื่องเงิน เป็นต้น

อ้างอิง

[แก้]
  1. City Population. "Dàlĭ Shì (County-level City)". สืบค้นเมื่อ 11 March 2017.
  2. จิตร ภูมิศักดิ์. ความเป็นมาของคำสยาม, ไทย ลาว และขอม และลักษณะทางสังคมของชื่อชนชาติ. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ:ชนนิยม. 2556, หน้า 176