สะพานโกะเทะ
สะพานโกะเทะ ဂုတ်ထိပ်တံတား | |
---|---|
พิกัด | 22°20′35″N 96°51′35″E / 22.34306°N 96.85972°E |
เส้นทาง | 1 ทางรถไฟ |
ข้าม | ช่องเขาโกะเทะ |
ที่ตั้ง | หนองเขียว ระหว่าง ล่าเสี้ยว และ ปยีนอู้ลวีน |
ชื่อทางการ | สะพานโกะเทะ |
ผู้ดูแล | กระทรวงการรถไฟประเทศพม่า |
ข้อมูลจำเพาะ | |
ประเภท | Trestle[1] |
ความยาว | 689 เมตร (2,260 ฟุต) |
ความกว้าง | รางรถไฟเดี่ยว |
ประวัติ | |
วันเริ่มสร้าง | 28 เมษายน พ.ศ. 2442 |
วันสร้างเสร็จ | 1 มกราคม พ.ศ. 2443 |
วันเปิด | 1 มกราคม พ.ศ. 2443 |
สถิติ | |
การจราจรโดยเฉลี่ย | สองขบวนทุกวัน มัณฑะเลย์ไปลาเสี้ยว และลาเสี้ยวไปมัณฑะเลย์ |
ค่าผ่าน | 4 ดอลลาร์สหรัฐ / 3950 จัต |
ที่ตั้ง | |
สะพานโกะเทะ (พม่า: ဂုတ်ထိပ်တံတား, MLCTS: gu.hti.ta.aa.) เป็นสะพานรถไฟเหนือช่องเขาโกะเทะ บนแม่น้ำมยิแง ทางตะวันตกของรัฐฉาน ประเทศพม่า สะพานนี้อยู่ระหว่างเมืองหนองเขียวและโกะเทะ เป็นส่วนหนึ่งของเส้นทางรถไฟระหว่างปยีนอู้ลวีน เมืองหลวงฤดูร้อนของบริติชอดีตผู้ปกครองอาณานิคมในพม่า และล่าเสี้ยวเมืองหลักทางตอนเหนือของรัฐฉาน เป็นสะพานที่สูงที่สุดในประเทศพม่า และเมื่อสร้างเสร็จถือเป็นสะพานรถไฟที่ใหญ่ที่สุดในโลก อยู่ห่างจากมัณฑะเลย์ไปทางตะวันออกเฉียงเหนือราว 100 กม.
สะพานแห่งนี้สร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2442 โดยบริษัทก่อสร้างสะพานเพนซิลเวเนียและแมริแลนด์ และเปิดในปี พ.ศ. 2443 ส่วนประกอบต่าง ๆ ผลิตโดยบริษัทเหล็กเพนซิลเวเนียและถูกส่งมาจากสหรัฐ เส้นทางรถไฟถูกสร้างขึ้นเพื่อช่วยขยายอิทธิพลของจักรวรรดิบริติชในภูมิภาคนี้ โครงการก่อสร้างได้รับการดูแลโดยเซอร์อาเธอร์ เรนเดล วิศวกรของบริษัทการรถไฟพม่า[2]
ข้อมูลสะพาน
[แก้]สะพานมีความยาวจากปลายด้านหนึ่งถึงอีกด้าน 689 เมตร (2,260 ฟุต) และประกอบด้วยหอคอย 15 แห่งซึ่งกว้าง 12 เมตร (39 ฟุต) พร้อมด้วยหอคอยคู่ที่กว้าง 24 เมตร (79 ฟุต) หอคอยทั้ง 15 แห่งรองรับโครงถัก 10 ชั้น มีช่วงห่าง 37 เมตร (121 ฟุต) แหล่งข่าวหลายแห่งระบุความสูงของสะพานไว้ที่ 250 เมตร (820 ฟุต) คาดว่าเป็นการวัดจากระดับแม่น้ำที่ไหลลงอุโมงค์ใต้ดิน ณ จุดที่ไหลผ่านใต้สะพาน ความสูงที่แท้จริงของสะพานโดยวัดจากรางรถไฟถึงบริเวณล่องน้ำของหอคอยที่สูงที่สุดคือ 102 เมตร (335 ฟุต) งบก่อสร้างอยู่ที่ 111,200 ปอนด์สเตอร์ลิง[3]
ทางเบี่ยง
[แก้]เนื่องจากเส้นทางจากมัณฑะเลย์ไปยังลาเสี้ยวถือเป็นเส้นทางยุทธศาสตร์ เส้นทางเบี่ยงไปยังพื้นหุบเขาซึ่งมีทางโค้งรูปเกือกม้าอันน่าประทับใจจึงถูกสร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2519-2521 เพื่อให้รถไฟวิ่งต่อไปได้หากสะพานโกะเทะถูกก่อวินาศกรรม เส้นทางเหล่านี้ยังมองเห็นได้จากสะพานในปี พ.ศ. 2556 แต่เส้นทางเบี่ยงเหล่านี้ถูกปล่อยทิ้งร้างให้พืชปกคลุมตั้งแต่ปี พ.ศ. 2545[4]
กล่าวถึง
[แก้]สะพานแห่งนี้ได้รับการกล่าวถึงในหนังสือท่องเที่ยว The Great Railway Bazaar ของPaul Theroux เขาบรรยายสะพานแห่งนี้ว่า "สัตว์ประหลาดแห่งเรขาคณิตสีเงินในป่าและหินที่ขรุขระ การมีอยู่ของมันช่างแปลกประหลาด"[5]
ดูเพิ่ม
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ "Gokteik Viaduct". Highestbridges.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-01-23. สืบค้นเมื่อ 2011-03-11.
- ↑ Turk, J. D. (September 1901). "Building An American Bridge In Burma". The World's Work. New York, NY: Doubleday, Page & Co. II (5): 1148–1167. สืบค้นเมื่อ April 29, 2012.
- ↑ [|Nawnghkio township profile 2009 by Township Peace and Development Council]
- ↑ Hettler, Dieter (1 November 2004). "Update from Myanmar". Railway Gazette International. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 19 March 2017. สืบค้นเมื่อ 1 May 2014.
- ↑ Theroux, Paul (1975). The great railway bazaar : by train through Asia. London: Hamish Hamilton. p. 212. ISBN 978-0-14-103884-1. OCLC 232365440.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- Wohlers, David. Potential structural deficiencies within the Gokteik Viaduct Railway Bridge in Upper Burma (https://www.icevirtuallibrary.com/doi/full/10.1680/jenhh.21.00102?src=recsys)
- Wohlers, David C., and Tony Waters. 2022. "The Gokteik Viaduct: A Tale of Gentlemanly Capitalists, Unseen People, and a Bridge to Nowhere" Social Sciences 11, no. 10: 440. https://www.mdpi.com/2076-0760/11/10/440