สวนกระท่อม
บทความนี้ต้องการการจัดหน้า จัดหมวดหมู่ ใส่ลิงก์ภายใน หรือเก็บกวาดเนื้อหา ให้มีคุณภาพดีขึ้น คุณสามารถปรับปรุงแก้ไขบทความนี้ได้ และนำป้ายออก พิจารณาใช้ป้ายข้อความอื่นเพื่อชี้ชัดข้อบกพร่อง |
สวนกระท่อม เป็นสวนที่มีลักษณะเฉพาะ แต่ไม่มีรูปแบบการจัดสวนที่ตายตัว, เป็นสวนแบบโบราณ, มีการปลูกต้นไม้หลายชนิดไว้ด้วยกันรวมไปถึงชนิดที่สามารถทานได้, มีของประดับสวนมากมายหลายแบบ สวนกระท่อมนี้ ดั้งเดิมพบในอังกฤษ เป็นสวนที่มีเสน่ห์ตรึงใจมากกว่าให้ความรู้สึกโอ่อ่ามีระเบียบ ย้อนกลับไปหลายศตวรรษ สวนมักจะเน้นจัดแบบเรียบง่าย แต่สามารถใช้ประโยชน์ได้เต็มพื้นที่ ในช่วง 1870 มีการปรับปรุงรูปแบบของสวน อังกฤษได้จัดให้สวนดูมีแบบแผนมากขึ้น และคงไว้ซึ่งกลิ่นอายของสวนแนวอังกฤษซึ่งเป็นสวนที่จัดแบบเรียบๆไม่มีรูปแบบที่แน่นอน มีการปลูกพืชล้มลุกให้ดูเต็มพื้นที่ สวยสบายตา
สวนกระท่อมแบบโบราณสามารถใช้ประโยชน์ได้เต็มพื้นที่มากกว่าสวนกระท่อมที่พบเห็นกันในปัจจุบัน — เนื่องจากมีการปลูกผักและสมุนไพรสำคัญๆไว้หลายชนิด, มีผลไม้บ้างเล็กน้อย, อาจมีรังผึ้งหรือแม้แต่ปศุสัตว์ด้วย ส่วนดอกไม้จะใช้เพื่อตกแต่งบริเวณที่ดูโล่งๆ แต่เมื่อเวลาผ่านไป ดอกไม้ก็กลายมาเป็นส่วนสำคัญที่จัดให้ดูเด่นกว่าส่วนอื่นๆในสวน สวนกระท่อมในสมัยก่อนมักเป็นสวนแบบมีรั้วล้อม, อาจเป็นรั้วพุ่มกุหลาบก็ได้ ดอกไม้ในสวนจะเน้นไม้ดอกประดับโบราณเช่นกัน, อย่างเช่น ดอกพริมโรส และ ไวโอเล็ต, อาจมีดอกไม้ทั่ว ๆ ไป อย่างเช่น ดาวเรือง และ สมุนไพรต่างๆ นอกจากนั้น จะปลูกกุหลาบแบบโบราณที่จะออกดอกเพียงปีละครั้งแต่กลิ่นหอมอวลไปทั้งสวนด้วย อาจปลูกดอกไม้แบบเรียบๆอย่างเดซี่ และดอกไม้สมุนไพรทั่วไป ในภายหลัง แม้แต่ในสวนใหญ่ ๆ ยังมีการแยกพื้นที่บางส่วนไว้ เพื่อจัด "สวนกระท่อม" ไว้ด้วย
ในปัจจุบัน สวนกระท่อมมีมากมายหลายแบบตามแต่ละพื้นที่ และความแตกต่างในความชอบของรูปแบบสวนอังกฤษและชนิดต้นไม้ของแต่ละบุคคล เช่น การตกแต่งด้วยหญ้าหรือใช้พืชที่ขึ้นเองตามธรรมชาติ ซึ่งไม่เคยมีในสวนกระท่อมหรือสวนตามชนบทจริงๆ กุหลาบโบราณ, ทรงสวยงาม กลิ่มหอมแรง, ยังเป็นส่วนสำคัญที่จะต้องมีประดับสวนแบบกระท่อมนี้ไว้ — ปลูกรวมกับพันธุ์สมัยใหม่ที่สามารถทนต่อโรคได้ดีกว่า ทั้งสวนแบบสมัยก่อนและในปัจจุบัน มีการประดับด้วยไม้เลื้อยอายุหลายปีที่โตแผ่งกิ่งก้านอย่างอิสระ
ประวัติ
[แก้]จุดเริ่มต้น
[แก้]สวนกระท่อม, เป็นที่รู้จักในช่วงสมัยเอลิซาเบท, เป็นสวนที่ปลูกสมุนไพรและผลไม้ต่างๆ[1] สมมติฐานหนึ่งที่พบคือ สวนนี้เป็นผลมาจาก แบล็ค เดธ ในยุค 1340, ชนชั้นใช้แรงงานเสียชีวิตเป็นจำนวนมาก ทำให้เหลือที่สำหรับปลูกเพียงกระท่อมเล็กๆมีสวนนิดหน่อยเท่านั้น[2] ในช่วงปลายของศตวรรษที่ 19,[3] สวนหลายๆที่จัดขึ้นมาในกระท่อมเล็กๆในหมู่บ้าน เพื่อใช้เป็นอาหารและสมุนไพร รวมถึงดอกไม้ต่างๆที่ปลูกเพื่อประดับให้ความสวยงาม เฮเลน ลีช วิเคราะห์ถึงความเป็นมาของสวนกระท่อมที่มีเสน่ห์นี้, มองลึกลงไปตั้งแต่รูปแบบของสวนจนถึงความเป็นมา, รวมถึงการปลูกสวนครัว และสวนสมุนไพร เธอสรุปว่า ในศตวรรษที่ 19 ขาดแคลนคนงานจำนวนมาก รวมถึงมีการพยายามปลูกพืชที่สามารถทนต่อความหนาวเย็นของหน้าแล้งได้, ในงานเขียนของ จอห์น คลอเดียส ลูดอน[4] พบว่า ลูดอนได้ร่วมออกแบบสวนขนาดใหญ่ที่ เกรท ทิว, อ็อกฟอร์ดไชร์, ที่ซึ่งคนงานในฟาร์มได้สร้างกระท่อมและสวนขนาดเล็กในพื้นที่ขึ้นมา—ประมาณเอเคอร์เดียวเท่านั้น—พวกเขาสามารถปลูกพืชไว้ทาน ทั้งยังเลี้ยงหมูและไก่ด้วย[5]
สวน โยแมน คอทเทจเจอร์ มีการเลี้ยงผึ้งและทำปศุสัตว์ เลี้ยงหมูและสร้างคอกหมูไว้ด้วย ซึ่งดูเข้ากันได้เป็นอย่างดี ในยุคกลางไม่ค่อยนิยมชมดอกไม้กันเท่าไหร่นัก พวกเขาสนใจเลี้ยงสัตว์เพื่อเอาเนื้อเป็นอาหารมากกว่า, สมุนไพรก็ปลูกเพื่อใช้ประโยชน์ทำยา หรือนำไปปรุงอาหาร มากกว่าปลูกเพื่อความสวยงามเพียงอย่างเดียวเท่านั้น[2] ในยุคของเอลิซาเบ็ท เริ่มมีความมั่งคั่งมากขึ้น ทำให้มีพื้นที่เหลือไว้ปลูกดอกไม้ประดับมากขึ้น มีการปลูกไวโอเล็ตมากมายกระจายในสวน (สวยงาม กลิ่นหอม และช่วยป้องกันไม่ให้มีตัวหนอนในสวนด้วย); คาเลนดูลาส และ พริมโรส ก็เป็นที่นิยมเช่นกัน นำไปทำอาหารรสชาติดีมาก นอกจากนั้นยังมี สวีต วิลเลี่ยม และ ฮอลลี่ฮ็อคส์ ที่ปลูกเพื่อประดับให้ความสวยงามเท่านั้น[6]
สวนและการพัฒนา
[แก้]การออกแบบที่ "ดูเป็นธรรมชาติ" เป็นที่รู้จักโดยทั่ว อเล็กซานเดอร์ โป๊ป เป็นคนแรกๆที่เสนอแนวคิดเรื่องสวนง่ายๆไม่จัดตามแปลน, ในปี 1713 เขาเขียนบทความเกี่ยวกับสวน "ธรรมชาติเรียบง่ายที่ไม่ปรุงแต่ง"[7] ในศตวรรษที่ 18 นักเขียนอย่าง โจเซฟ แอดดิซัน และ ลอร์ด ชาฟทีสบิวรี ก็เห็นด้วยกับรูปแบบสวนสไตล์นี้ พัฒนาการของสวนกระท่อมในแต่ละยุคสามารถหาอ่านได้จาก เดอะ ค็อทเทจ การ์เด้นเนอร์ - คนจัดสวนกระท่อม (1848–61), เรียบเรียงโดย จอร์จ วิลเลียม จอห์นสัน, เรื่อง "ฟลอริส ฟลาวเวอร์ - ดอกไม้ในร้านขายดอกไม้", กล่าวถึง คาร์เนชั่น และ ออริคูลัส ซึ่งนิยมปลูกกันอย่างมาก นับว่าเป็นงานอดิเรกของคนชั้นแรงงาน[8]
วิลเลียม โรบินสัน และ เกอร์ทรูด เจคกิล ร่วมแพร่แนวคิดสวนประเภทนี้ออกไปผ่านหนังสือหลายเล่ม และหลายๆบทความในแมกกาซีน เดอะ ไวลด์ การ์เด้น ของโรบินสัน ตีพิมพ์ในปี 1870, เป็นการตีพิมพ์ครั้งแรก เรื่อง "ดอกไม้ป่าในสวนอังกฤษ", ซึ่งเคยโดนตัดออกไปเมื่อคราวตีพิมพ์ครั้งก่อน[9] ในเรื่อง สวนดอกไม้อังกฤษ, ภาพประกอบไปด้วย สวนกระท่อมต่างๆ จาก โซเมอร์เซ็ท, เค้นท์ และ เซอร์รี่ , "สิ่งหนึ่งที่ได้จากสวนเล็กๆนี้คือ มันเป็นสวนที่น่ารักมาก สิ่งเล็กๆน้อยๆในสวนมีผลต่อผู้ที่พบเห็นได้"[10] ตั้งแต่ช่วงปี 1890 เพื่อนสนิทของเขา เจคกิล ได้ปรับแปลนออกแบบสวนที่จัดในบ้านหลังใหญ่ๆแถบชนบทให้ดูมีหลักการมากขึ้น ภาพ สีสันในสวนดอกไม้ (1908) ของเธอยังมีการตีพิมพ์มาจนถึงทุกวันนี้
โรบินสันและเจคกิล เป็นส่วนหนึ่งของกระแสการเคลื่อนไหวทางศิลปหัตถกรรม, กระแสนี้แพร่ไปทั้งในศิลปะ, สถาปัตยกรรม, และหัตถกรรม ในช่วงปลายของศตวรรษที่ 19 มีการสนับสนุน วาดภาพเขียนแนวง่ายๆไม่มีลายเส้นตายตัว ซึ่งเป็นผลมาจากอิทธิพลของสวนกระท่อมอังกฤษที่ดูโรแมนติก[11] งานแสดงศิลปหัตถกรรมในปี 1888 เริ่มมีกระแสเกี่ยวกับแนวคิดของสไตล์การจัดสวนชนบทที่ดูเป็นธรรมชาติ[12] งานการออกแบบสวนของโรบินสันและเจคกิลมักจะเกี่ยวข้องกับบ้านสไตล์ชนบท[13] ทั้งสองคนได้รับอิทธิพลมาจาก วิลเลี่ยม มอริส, หนึ่งในผู้นำกระแสการเคลื่อนไหวทางศิลปะหัตถกรรม—โรบินสันอ้างอิงคำวิจารณ์ของมอรริสในเรื่องของ แปลงดอกไม้ในสวน; เจคกิลเห็นพ้องกับแนวคิดของมอริสและได้วาดลายสวนดอกไม้ตามที่เธอออกแบบ[14] เมื่อมอริสสร้างบ้านสีแดงในเค้นท์, นับเป็นการจุดประกายความคิดแนวใหม่ในทางสถาปัตยกรรมและการจัดสวน—สวนแบบ"โบราณ" กลายมาเป็นกระแสท่ามกลางชาวอังกฤษชนชั้นกลาง, และความงามของสวนกระท่อมนี้ก็เริ่มแพร่ไปในอเมริกา[15]
สวนกระท่อมในปัจจุบัน
[แก้]ช่วงต้นศตวรรษที่ 20 คำว่า "สวนกระท่อม" อาจหมายรวมสวนที่มีขนาดใหญ่โตอย่าง ฮิดโคต มาเนอร์ ด้วยก็ได้, โดยสวนดังกล่าว วีต้า แซ็ควิลล์-เวสต์ ได้ให้คำนิยามไว้ว่า "สวนกระท่อมที่งดงามที่สุด"[16] แต่ลักษณะการจัดสวนมีการควบคุมโทนสีไว้อย่างดีเยี่ยม, เช่นสวน "เรด บอร์เดอร์" ที่โด่งดัง แซ็ควิลล์-เวสต์ได้นำความคิดนี้ไปจัด "สวนกระท่อม" ในรูปแบบของเธอเอง, ซึ่งเป็นหนึ่งในสวนที่ ปราสาทซิสซิงเฮิร์ส—แนวคิดของเธอที่มีต่อสวนกระท่อมคือ "ต้นไม้ที่ปลูกรวมๆกันแบบง่ายๆ, มีพุ่มไม้น่ารักๆที่ปลูกรวมกับกุหลาบ,[17] มีพืชสมุนไพรมากมาย, ไม้เลื้อยพาดไปมา, มีต้นไม้ต้นน้อยๆที่ขึ้นได้เองตามธรรมชาติ".[16] ทั้งนี้ ศิลปินอย่าง เฮเลน อัลลิงแฮม(1848–1926) ก็เห็นพ้องอย่างเดียวกันกับแนวคิดดังกล่าว[18] รวมถึง มาเกอรี่ ฟิช (1892–1969), ผู้ซึ่งเป็นเจ้าของสวน อีส แลมบรูค มาเนอร์[19]
สวนกระท่อมในฝรั่งเศสดัดแปลงมาจากช่วงต้นศตวรรษที่ 20 ตัวอย่างเช่น สวนโมเน็ทที่จีเวอร์นี ที่โด่งดัง, สวนขนาดใหญ่ที่ปลูกพืชมากมายหลายชนิด, หลากหลายสีสันสดใส, และสวนน้ำสวย ภายหลัง, คำว่า 'สวนกระท่อม' รวมๆถึงสวนทุกแบบที่จัดแบบง่ายๆ, ไม่มีแปลนตายตัว อาจใช้ต้นไม้ชนิดอื่นๆมาจัดให้แตกต่างจากสวนกระท่อมแบบโบราณได้ ดังเช่น ทุ่งหญ้าแพร์รี่ (ในอเมริกันตะวันตกกลาง) และ สวนกระท่อมแชปปารอลในแคลิฟอร์เนีย[20]
รูปแบบของสวน
[แก้]สวนกระท่อมแนวคลาสสิคจะจัดใกล้ๆกับกระท่อม, แต่ก็ยังมีสวนกระท่อมอีกมากมายที่จัดในพื้นที่บริเวณบ้านหรือที่ดินต่างๆ ตัวอย่างเช่น ฮิดโคท มาเนอร์, ซึ่งแลดูเหมือนสวนที่แบ่งเป็นห้องๆ[21][22] รูปแบบการจัดสวนแบบกระท่อมนี้ขึ้นอยู่กับองค์ประกอบโดยรวมมากกว่าการจัดสวนแบบแปลนที่ตายตัว: มองดูแล้วสวนกระท่อมนี้จะไม่มีดูเรียบง่าย เหมือนเป็นเพียงแค่การปลูกดอกไม้, สมุนไพร, และผัก แล้วจัดวางในพื้นที่เล็กๆรวมกัน โดยหน้าตาของสวนกระท่อมนี้, ทำให้รู้สึกว่าสวนสวยดูมีเสน่ห์ ด้วยความที่สวนจัดวางต้นไม้แน่นๆ, ส่วนใหญ่จึงนิยมใช้กระถางขนาดเล็กๆ, อาจวางไว้ตามทางเดินหรือจัดเป็นแนวรั้วก็ได้ ทั้งนี้ ต้นไม้, แบบแปลน, และอุปกรณ์แต่ละชิ้นจะต้องเลือกชิ้นที่ให้ความรู้สีกเรียบง่าย หรือเป็นแบบที่นิยมใช้กันในชนบททั่วไป [23] สวนกระท่อมสมัยใหม่นิยมใช้ดอกไม้หรืออุปกรณ์ที่หาได้ง่ายตามถิ่นนั้นๆ,มากกว่าจะหาพืชพันธุ์แบบโบราณมาจัดให้เหมือนแต่ก่อน สิ่งที่เหมือนกันระหว่างสวนกระท่อมโบราณกับสวนกระท่อมนปัจจุบันคือ รูปร่างหน้าตาโดยรวมของสวน, พื้นที่ประโยชน์ใช้สอยในสวน, มีดอกไม้สวยงาม สมุนไพร และพืชผักต่างๆปลูกรวมกันอยู่มากมาย[24]
สวนกระท่อมเน้นการออกแบบที่เรียบง่าย, ไม่เน้นความใหญ่โตกว้างขวาง หรือโอ่อ่าหรูหรา ไม่สนใจการจัดให้เป็นระเบียบหรือ การวางแปลนสวนแบบเรขาคณิต เน้นการจัดวางแบบธรรมดาๆมากกว่า สวนอาจจะลามขึ้นไปถึงตัวบ้านก็ได้ สนามหญ้าอาจปลูเป็นกลุ่มของดอกไม้นานาชนิด, ความกว้างของแปลงปลูกก็ไม่มีขนาดตายตัว ไม่มีการวางแปลนเฉพาะถึงธีมหรือความลงตัวของสีสันในสวน, จัดให้สีสันของต้นไม้แต่ละชนิดที่ขึ้นข้างกันดูกลืนกันเท่านั้นพอ ลักษณะโดยรวมของสวนกระท่อมนี้ อาจกล่าวได้ว่า "สวนผักที่ปกคลุมไปด้วยดอกไม้นานาพรรณ"[22] วิธีการปลูก จะเน้นปลูกให้ต้นไม้แต่ละต้นวางชิดกัน ทั้งนี้เพื่อป้องกันไม่ให้มีวัชพืชและช่วยรักษาความชื้นของดินด้วย, สวนทางเดินในสวนนิยมใช้แผ่นหิน หรือปูน, มีการปลูกเถาไม้รอบๆขอบทางเดิน, ทำให้ดูแลรักษาง่าย ซึ่งถือเป็นลักษณะเฉพาะอย่างหนึ่งของสวนกระท่อม
ส่วนประกอบสวน
[แก้]ทางเดิน, ต้นไม้ข้างทาง, และรั้วในสวน จะต้องดูเก่าแก่แบบโบราณ รั้วไม้และประตูไม้, ทางเดินที่ทำจากอิฐหรือก้อนหินแบบที่นิยมกันในท้องถิ่นนั้นๆ, รวมถึงต้นไม้ที่ให้ร่มเงา ทำให้สวนดูเป็นธรรมชาติ เรียบง่าย— ไม่เป็นทางการมากนัก— สวนสวยงามและให้ความรู้สึกว่าเป็นสวนกระท่อมที่แท้จริง[25] กระถางต้นไม้, อุปกรณ์ประดับสวน, และเครื่องใช้ต่างๆก็ต้องเป็นแบบที่ความรู้สึกสบายดูเป็นธรรมชาติด้วย— ทุกสิ่งทุกอย่างในสวนต้องทำให้เกิดความประทับใจและหวนระลึกถึงความเป็นสวนกระท่อมแบบโบราณ[23]
พืชพรรณต่างๆ
[แก้]ต้นไม้ต่างๆในสวนกระท่อมนี้จะนิยมพืชพรรณแบบสมัยก่อน ที่ให้ความรู้สึกเก่าแก่ ดูสวยงามแต่เรียบง่าย ในปัจจุบันมีนักจัดสวนจำนวนมากใช้พืชแบบดั้งเดิม หรือ ต้นไม้'เก่าแก่' หลากหลายชนิดมาตกแต่งสวน— ถึงแม้ว่า ต้นไม้เหล่านี้อาจจะไม่ใช่ต้นไม้ที่อยู่ในสวนกระท่อมแบบโบราณจริงๆก็ตาม[26] นอกเหนือไปจากนั้น สมัยนี้ยังมีดอกไม้อีกมากมายหลายชนิดที่สามารถนำมาตกแต่งให้ดูเข้ากันกับสวนกระท่อมได้ ยกตัวอย่างเช่น, กุหลาบสมัยใหม่ที่พัฒนาโดย เดวิด ออสติน เป็นที่นิยมอย่างมาก เพราะรูปทรงของกุหลาบมีลักษณะเดียวกันกับกุหลาบโบราณ(รูปทรงถ้วยซับซ้อนหลายชั้น) และกลิ่นที่หอมแรง—ทั้งนี้ยังสามารถบานทน, ออกดอกดกตลอดปี, และทนต่อโรค[27] สวนกระท่อมสมัยใหม่นี้ มักจะนำต้นไม้ พืชพรรณต่างๆในท้องถิ่นมาปรับใช้ในสวน ทำให้สวนสามารถทนต่อสภาพอากาศได้ดี, เนื่องจากสวนอยู่ทน มีประโยชน์มากกว่าการนำพืชพรรณแบบสวนโบราณมาปลูกในสภาพแวดล้อมที่ไม่อำนวย— แต่ถึงอย่างนั้น ก็มีการปลูกพืชพรรณในสวนกระท่อมแบบโบราณกันมากมายทั่วโลก[28]
กุหลาบ
[แก้]กุหลาบเป็นต้นไม้ที่ขาดไม่ได้ในสวนกระท่อม: กุหลาบทรงพุ่ม, กุหลาบเลื้อย, กุหลาบโบราณเน้นที่ทรงพุ่มเขียวหนาแน่น, ไม่โปร่งเหมือนพันธุ์กุหลาบตัดดอกสมัยใหม่ สวนกระท่อมในสมัยก่อนนั้นจะใช้กุหลาบสายพันธุ์โรซา กัลลิกา, ซึ่งมีลักษณะทรงพุ่มกว้าง สูงราว 3–4 ฟุต, มีสีชมพูจางๆจนถึงสีม่วงเข้ม—รูปทรงดอกมีตั้งแต่ดอกชั้นเดียวและดอกหลายชั้น เป็นกุหลาบที่มีกลิ่มหอมมาก รวมถึงกุหลาบสายพันธุ์โบราณอโปเธแครี่ (อาร์. กัลลิกา 'ออฟฟิไซนาลิส'), ดอกสีแดงม่วงที่มีกลิ่นหอมเฉพาะตัว นอกจากนั้นยังมีกุหลาบอีกหลายสายพันธุ์ เช่น ดามัสก์ โรส, ที่ปลูกในยุโรปเพื่อใช้ในการปรุงน้ำหอม ต้นสูงได้ถึง 4-6 ฟุต หรืออาจจมากกว่านั้น, กิ่งก้านสามารถดัดได้ ทำให้สวนดูสบาย ไม่แข็งจนเกินไปนัก หรือสายพันธุ์ที่ต้นสูงหน่อยคือพวกอัลบา โรส, ที่สามารถปลูกได้งามในที่ร่ม[29]
โปรวองซ์ โรส หรือ โรซา เซนติโฟเลีย เป็น กุหลาบดอกใหญ่เต็มทรง เรียกกันว่า"แคบเบจ โรส" เป็นสายพันธุ์ที่มีชื่อเสียงมาก โด่งดังจากภาพเขียนของดัชช์ มาสเตอร์ ช่วงศตวรรษที่ 17 กุหลาบพุ่มสายพันธุ์นี้มีกลิ่นหอมมาก กว้างและสูงราว 5 ฟุต, ทรงต้นจะห้อยออกด้านข้าง สามารถดัดให้เลื้อยได้ง่าย กุหลาบเซนติโฟเลียนี้แตกแยกออกมาอีกหลายสายพันธุ์ แต่ละสายพันธุ์ก็เป็นที่นิยมอย่างมากในการจัดสวนกระท่อม, รวมไปถึงกุลาบมอสด้วย(กุหลาบที่มี 'มอส' มาอาศัยเจริญเติบโตอยู่ตามกิ่งก้าน) ไม่เหมือนสายพันธุ์ส่วนใหญ่กุหลาบในปัจจุบัน, กุหลาบโบราณจะออกดอกเพียงปีละครั้งเท่านั้น, ดังนั้นจะไม่มีการตัดแต่งต้นหลายครั้งในแต่ละปี การที่ไม่ออกดอกดกตลอดปี ทำให้มีต้นไม้ดอกไม้อื่นๆมาอาศัยยึดเกาะเพื่อเลื้อย อย่างเช่น เถาเคล็มมาทิส กุหลาบในสวนกระท่อมนี้จะไม่ปลูกแยกเดี่ยวๆต่างหาก, แต่ส่วนใหญ่ก็จะมีการปลูกพืชชนิดอื่นๆมาแซม เช่น ดอกไม้, เถาไม้, หรือ พืชคลุมดินต่างๆ[30]
ในศตวรรษที่ 18 มีการเปิดตัวกุหลาบหลากหลายสายพันธุ์ โดยเฉพาะไชน่า โรสส์ (มาจากชื่อ โรซา ไคเนนซิส) ซึ่งเป็นสายพันธุ์ที่ ออกดอกตลอดปี แต่ยังคงไว้ซึ่งรูปทรงของกุหลาบโบราณ รวมถึงพันธุ์ เบอร์เบิ้น โรส และ นอเซ็ต โรส, ซึ่งเป็นที่นิยมเอามาจัดไว้ในสวนกระท่อม, และล่าสุด, กุหลาบ"อังกฤษ" ของ เดวิด ออสติน[31]
ไม้เลื้อย
[แก้]กุหลาบโบราณหลายสายพันธุ์ มีกิ่งก้านที่ยาวมาก, ซึ่งสามารถนำมายึดกับโครงไม้ระแนงหรือกำแพงได้ เรียกว่า "พาด", มากกว่า "เลื้อย"[32] ไม้เลื้อยในสวนกระท่อมโบราณนั้นประกอบไปด้วย ยูโรเปียน ฮันนี่ซัคเคิล (โลนิเซรา เพอริไซเมนัม) และ ทราเวิลเลอร์ จอย (เคล็มเมทิส ไวทัลบา) แต่ในสวนกระท่อมปัจจุบัน นิยมปลูกสายพันธุ์ เคล็มเมทิส ที่มีรูปร่างลักษณะเดียวกับสายพันธุ์แบบโบราณ, ใบขึ้นห่างกัน ทำให้สามารถโตแทรกต้นไม้และกุหลาบต่างๆ รวมถึงตามรั้วและทางเดินได้[33] นอกจากนั้นยังมีสายพันธุ์เคล็มมาทิสอีกมากมายที่นำมาจัดสวนกระท่อม เช่น เคล็มเมทิส อาร์มานดี, เคล็มเมทิส ไครโซโคมา, และ เคล็มเมทิส แฟลมมูลา. ต้นฮันนี่ซัคเคิลก็นิยมเป็นสายพันธุ์ ฮันนี่ซัคเคิลญี่ปุ่น และ โลนีเซรา ทราโกฟิลลา[34]
พืชตามแนวพุ่มไม้
[แก้]ในสวนกระท่อมโบราณนั้น มีการปลูกต้นไม้เป็นแนวรั้วเพื่อป้องกันคนร้ายและสร้างความเป็นส่วนตัวให้กับพื้นที่พักอาศัย ใบของพืชที่มีหนาม สามารถใช้ชงชาหรือทานเล่นเป็นขนมรสชาติเยี่ยม, ส่วนพวกดอกไม้ใช้ทำไวน์ สำหรับพืชที่โตไวอย่าง เอลเดอร์เบอร์รี่ นอกจากจะได้ประโยชน์ในการทำเป็นรั้วแล้ว ผลเบอร์รี่ยังนำมาทำไวน์และอาหารได้ด้วย ส่วนดอกนำมาทุบ ใช้ทำโลชั่นหรือขี้ผึ้ง ส่วนเนื้อไม้นำไปใช้ประโยชน์ได้หลายอย่าง ทั้งของเล่น, หมุด, ไม้เสียบ, และไม้ตกปลา ยังมี ฮอลลี่ ที่นิยมนำมาปลูกเป็นแนวรั้วเหมือนกัน เพราะมีประโยชน์ โตไว และสามารถขยายพันธุ์ได้เอง ส่วน พรีเว็ต ก็ปลูกง่ายและสามารถขยายพันธุ์เองได้เช่นกัน ในภายหลัง ไม้ประดับที่เน้นความสวยงามมากกว่าประโยชน์ใช้สอยก็กลายมาเป็นที่นิยมในการทำแนวรั้วสวนกระท่อม, อย่างเช่น ลอเร็ล, ไลแลค, สโนว์เบอร์รี่, จาโพนิกา,และอื่นๆ[35]
ดอกไม้และเหล่าสมุนไพร
[แก้]ดอกไม้ที่นิยมปลูกกันมากในสวนกระท่อม คือพวกดอกไม้ที่ดึงดูดใจทั้งหลาย—เช่น ไวโอเล็ต, พิงค์, และพริมโรสส์[33]—รวมถึงพวกที่ปลูกเพื่อใช้ประโยชน์บางอย่าง ตัวอย่างเช่น, คาเลนดูลา, เลี้ยงง่าย ดอกสีส้มสดใส, ทานได้มีประโยชน์, หรือใช้เพื่อเพิ่มสีสันในเนยและชีสได้, อาจเติมลงในซุปหรือสตูว์, ใช้ทาบาดแผลได้ ในสวนกระท่อมแบบโบราณจะปลูก พืชล้มลุก และสมุนไพร, ซึ่งโตง่าย ขยายพันธุ์ได้เอง[36] พวกที่นิยมปลูกกัน ได้แก่ ไวโอเล็ค, แพนซี่, สต็อค, แลพ มิโนเน็ตต์[26]
ไม้ยืนต้นในสวนกระท่อมมีมากมาย [33]— เป็นไม้ที่อยู่คู่กับสวนกระท่อมมาช้านาน เช่น ฮอลลี่ฮ็อคส์, คาร์เนชั่น, สวีต วิลเลี่ยมส์, มาเกอร์เร็ต, มาริโกลด์, ลิลลี่, โพนี่, ทิวลิป, โครคัส, เดซี่, ฟ็อกโกลฟว์, มงส์ฮู้ด, ลาเวนเดอร์, แคมพานูลาส์, โซโลมอน ซีล, อีฟเวนนิ่ง พริมโรส, ลิลลี่ ออฟ เดอะ วัลเล่ย์, พริมโรส, คาวสลิป, และ กุหลาบหลากหลายสายพันธุ์[26]
ในปัจจุบัน อาจนับว่าพืชสมุนไพรเป็นพืชประดับสวน, แต่สำหรับสวนกระท่อมในสมัยก่อน ปลูกเพื่อใช้ประโยชน์จริงๆ สมุนไพรนั้นมีประโยชน์มากมาย อาจใช้เป็นยา, เครื่องอาบน้ำ, หรือใช้ทำความสะอาด กลิ่นของสมุนไพรช่วยดับกลิ่นที่ไม่พึงประสงค์ได้ บางชนิดใช้นำมาย้อมสีผ้า[37] สมุนไพรที่นิยมปลูกในสวนกระท่อมแบบโบราณ ได้แก่ เซจ, ไทม์, เซ้าเธิร์นวู้ด, วอร์มวู้ด, แคทมิ้นท์, ฟีเวอร์ฟิว, ลังเวิท, โซปเวิท, ฮีสซอป, สวืท วู้ดรัฟ, และ ลาเวนเดอร์[38][39]
ผลไม้
[แก้]ผลไม้ในสวนกระท่อมโบราณ จะประกอบไปด้วย แอ๊ปเปิ้ล และ แพร์, เพื่อใช้ทำ ไซเดอร์ และทานผล,[40] มีกูสเบอร์รี่และราสเบอร์รี่ ส่วนสวนกระท่อมสมัยใหม่จะปลูกผลไม้หลากหลายมาก มีการปลูกเพื่อประดับสวนให้ดูสวยงาม หรือปลูกต้นถั่วต่างๆ, อย่างเช่น แครปแอ๊ปเปิ้ล และ เฮเซล, รวมไปถึงต้นไม้อย่างด๊อกวู้ด[41]
See also
[แก้]References
[แก้]Notes
[แก้]- ↑ Ryrie, Charlie (2004). The Cottage Garden: How to Plan and Plant a Garden That Grows Itself. Collins & Brown. p. 7. ISBN 1-84340-216-5.
- ↑ 2.0 2.1 Scott-James, Anne; Osbert Lancaster (2004). The Pleasure Garden: An Illustrated History of British Gardening. Frances Lincoln Publishers. p. 80. ISBN 978-0-7112-2360-8.[ลิงก์เสีย]
- ↑ Anne Scott-James, The Cottage Garden (London: Lane) 1981, de-mythologised the origins of the English cottage garden, and its treasured topiary among the vegetables and flowers, popularly supposed to represent heirlooms from the seventeenth century.
- ↑ Leach, Helen (2000). Cultivating Myths: Fiction, Fact and Fashion in Garden History. Auckland: Godwit. ISBN 1-86962-049-6.
- ↑ A Biographical Dictionary of British Architects, 1600–1840, Howard Colvin, Yale University Press, 2008 ISBN 0-300-12508-9, p 659
- ↑ Lloyd, Christopher; Richard Bird (1999). The Cottage Garden. Jacqui Hurst. Dorling Kindersley. pp. 6–9. ISBN 978-0-7513-0702-3.
- ↑ Reynolds, Myra (1896). The Treatment of Nature in English Poetry Between Pope and Wordsworth. The University of Chicago Press. p. 253.
- ↑ Gould, Jim (Spring 1988). "The Lichfield Florists". Garden History. Garden History, Vol. 16, No. 1. 16 (1): 17–23. doi:10.2307/1586902. JSTOR 1586902.
- ↑ Massingham, Betty (1978). "William Robinson: A Portrait". Garden History. The Garden History Society. 6 (1): 61–85. doi:10.2307/1586557. JSTOR 1586557. p. 63f.
- ↑ Massingham, p. 71.
- ↑ Kendle, Tony; Stephen Forbes (1997). Urban Nature Conservation: Landscape Management in the Urban Countryside. Taylor & Francis. p. 79. ISBN 978-0-419-19300-5.
- ↑ Horwood, Catherine (2008). Potted History: The Story of Plants in the Home. Frances Lincoln Publishers. p. 151. ISBN 978-0-7112-2800-9.[ลิงก์เสีย]
- ↑ Kammen, Carol; Norma Prendergast (2000). Encyclopedia of Local History. Rowman Altamira. p. 205. ISBN 978-0-7425-0399-1.
- ↑ Hamilton, Jill (1998). The Gardens of William Morris. Frances Lincoln Publishers. p. 87. ISBN 978-0-7112-1370-8.
{{cite book}}
: ไม่รู้จักพารามิเตอร์|coauthors=
ถูกละเว้น แนะนำ (|author=
) (help) - ↑ Clayton, Virginia Tuttle (2000). The Once and Future Gardener: Garden Writing from the Golden Age of Magazines, 1900–1940. David R. Godine Publisher. p. xx. ISBN 978-1-56792-102-1.
- ↑ 16.0 16.1 Vita Sackville-West, "Hidcote Manor", Journal of the Royal Horticultural Society 74 (1949:476-81), as noted by Brent Elliott in "Historical Revivalism in the Twentieth Century: A Brief Introduction" Garden History 28.1, Reviewing the Twentieth-Century Landscape (Summer 2000:17–31)
- ↑ The "old roses" Vita Sackville-West was rediscovering were introduced from French growers in the 1830s and 1840s. See Graham Stuart Thomas, The Old Shrub Roses.
- ↑ Hunt, John Dixon; Joachim Wolschke-Bulmahn (1993). The Vernacular Garden: Dumbarton Oaks Colloquium on the History of Landscape Architecture XIV. Dumbarton Oaks. p. 9. ISBN 978-0-88402-201-5.
- ↑ ODNB entry for Margery Fish by Catherine Horwood Retrieved 1 December 2012. (Pay-walled)
- ↑ White, Lee Anne (2001). Exploring Garden Style: Creative Ideas from America's Best Gardeners. Taunton Press. p. 95. ISBN 978-1-56158-474-1.
- ↑ "Designing the Country Cottage Garden". aggie-horticulture.tamu.edu. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-07-13. สืบค้นเมื่อ 2008-12-28.
- ↑ 22.0 22.1 Turner, Roger (2005). Design in the Plant Collector's Garden. Timber Press. p. 172. ISBN 978-0-88192-690-3.
- ↑ 23.0 23.1 Williams, Robin (1995). Royal Horticultural Society (บ.ก.). The Garden Designer. Frances Lincoln Publishers. p. 190. ISBN 978-0-7112-0812-4.
- ↑ White, Lee Anne (2001). Exploring Garden Style: Creative Ideas from America's Best Gardeners. Taunton Press. pp. 89–93. ISBN 978-1-56158-474-1.
- ↑ Lloyd, Christopher; Richard Bird (1999). The Cottage Garden. Jacqui Hurst. Dorling Kindersley. p. 6. ISBN 978-0-7513-0702-3.
- ↑ 26.0 26.1 26.2 Scott-James, The Pleasure Garden, p. 83.
- ↑ Lee Anne White, Lee Anne White (2001). Exploring Garden Style. Taunton Press. p. 106. ISBN 978-1-56158-474-1.
- ↑ White, Lee Anne (2001). Exploring Garden Style: Creative Ideas from America's Best Gardeners. Taunton Press. p. 92. ISBN 978-1-56158-474-1.
- ↑ Schulman, Andrew; Jacqueline Koch (2004). The Northwest Cottage Garden. Sasquatch Books. pp. 131–132. ISBN 978-1-57061-363-0.
- ↑ Schulman, Andrew; Jacqueline Koch (2004). The Northwest Cottage Garden. Sasquatch Books. pp. 132–133. ISBN 978-1-57061-363-0.
- ↑ Schulman, Andrew; Jacqueline Koch (2004). The Northwest Cottage Garden. Sasquatch Books. pp. 134–138. ISBN 978-1-57061-363-0.
- ↑ Beutler, Linda (2004). Gardening with Clematis. Timber Press. p. 88. ISBN 978-0-88192-644-6.
- ↑ 33.0 33.1 33.2 Philips, Sue (2003). Cottage Garden Flowers. Sterling Publishing Company. p. 18. ISBN 978-1-84403-065-1.
- ↑ Squire, David; Alan Bridgewater (2006). The Climbing Plants Specialist. Gill Bridgewater. Sterling Publishing Company. p. 55. ISBN 978-1-84537-105-0.
- ↑ Porter, Valerie (2006). Yesterday's Countryside. David & Charles. pp. 47–48. ISBN 978-0-7153-2196-6.
- ↑ Gardner, Jo Ann; Holly S. Dougherty (2005). Herbs in Bloom. Timber Press. p. 109. ISBN 978-0-88192-698-9.
- ↑ Philips, Sue (2003). Cottage Garden Flowers. Sterling Publishing Company. p. 17. ISBN 978-1-84403-065-1.
- ↑ Garland, Sarah (2003). The Herb Garden. Frances Lincoln Publishers. p. 52. ISBN 978-0-7112-2057-7.[ลิงก์เสีย]
- ↑ Gardner, Jo Ann; Holly S. Dougherty (2005). Herbs in Bloom. Timber Press. pp. 36–37. ISBN 978-0-88192-698-9.
- ↑ The raw fruits, considered indigestible, were not much eaten before the twentieth century.
- ↑ Philips, Sue (2003). Cottage Garden Flowers. Sterling Publishing Company. pp. 18–19. ISBN 978-1-84403-065-1.
Bibliography
[แก้]- Clayton, Virginia Tuttle (2000). The Once and Future Gardener: Garden Writing from the Golden Age of Magazines, 1900–1940. David R. Godine Publisher. ISBN 978-1-56792-102-1.
- Garland, Sarah (2003). The Herb Garden. Frances Lincoln Publishers. ISBN 978-0-7112-2057-7.
- Gould, Jim (Spring 1988). "The Lichfield Florists". Garden History. Garden History, Vol. 16, No. 1. 16 (1): 17–23. doi:10.2307/1586902. JSTOR 1586902.
- Hamilton, Jill (1998). The Gardens of William Morris. Frances Lincoln Publishers. ISBN 978-0-7112-1370-8.
{{cite book}}
: ไม่รู้จักพารามิเตอร์|coauthors=
ถูกละเว้น แนะนำ (|author=
) (help) - Horwood, Catherine (2008). Potted History: The Story of Plants in the Home. Frances Lincoln Publishers. ISBN 978-0-7112-2800-9.
- Hunt, John Dixon; Joachim Wolschke-Bulmahn (1993). The Vernacular Garden: Dumbarton Oaks Colloquium on the History of Landscape Architecture XIV. Dumbarton Oaks. p. 9. ISBN 978-0-88402-201-5.
- Kammen, Carol; Norma Prendergast (2000). Encyclopedia of Local History. Rowman Altamira. ISBN 978-0-7425-0399-1.
- Kendle, Tony; Stephen Forbes (1997). Urban Nature Conservation: Landscape Management in the Urban Countryside. Taylor & Francis. ISBN 978-0-419-19300-5.
- Lloyd, Christopher; Richard Bird (1999). The Cottage Garden. Jacqui Hurst. Dorling Kindersley. ISBN 978-0-7513-0702-3.
- Massingham, Betty (1978). "William Robinson: A Portrait". Garden History. The Garden History Society. 6 (1): 61–85. doi:10.2307/1586557. JSTOR 1586557.
- Reynolds, Myra (1896). The Treatment of Nature in English Poetry Between Pope and Wordsworth. The University of Chicago press.
- Sackville-West, "Hidcote Manor", Journal of the Royal Horticultural Society 74 (1949:476-81), noted by Brent Elliott, "Historical Revivalism in the Twentieth Century: A Brief Introduction" Garden History 28.1, Reviewing the 20th-century Landscape (Summer 2000:17–31)
- Schulman, Andrew; Jacqueline Koch (2004). The Northwest Cottage Garden. Sasquatch Books. ISBN 978-1-57061-363-0.
- Scott-James, Anne (1981). The Cottage Garden. Allen Lane. ISBN 978-0-7139-1263-0.
- Scott-James, Anne; Osbert Lancaster (2004). The Pleasure Garden: An Illustrated History of British Gardening. Frances Lincoln Publishers. ISBN 978-0-7112-2360-8.
- White, Lee Anne (2001). Exploring Garden Style: Creative Ideas from America's Best Gardeners. Taunton Press. ISBN 978-1-56158-474-1.
External links
[แก้]- Royal Horticultural Society British gardening charity
- The Cottage Garden Society British Gardening society