สวนกระท่อม

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
กุหลาบ, เคล็มมาทิส, หลังคาจาก: สวนกระท่อมในบริททานี่ย์

สวนกระท่อม เป็นสวนที่มีลักษณะเฉพาะ แต่ไม่มีรูปแบบการจัดสวนที่ตายตัว, เป็นสวนแบบโบราณ, มีการปลูกต้นไม้หลายชนิดไว้ด้วยกันรวมไปถึงชนิดที่สามารถทานได้, มีของประดับสวนมากมายหลายแบบ สวนกระท่อมนี้ ดั้งเดิมพบในอังกฤษ เป็นสวนที่มีเสน่ห์ตรึงใจมากกว่าให้ความรู้สึกโอ่อ่ามีระเบียบ ย้อนกลับไปหลายศตวรรษ สวนมักจะเน้นจัดแบบเรียบง่าย แต่สามารถใช้ประโยชน์ได้เต็มพื้นที่ ในช่วง 1870 มีการปรับปรุงรูปแบบของสวน อังกฤษได้จัดให้สวนดูมีแบบแผนมากขึ้น และคงไว้ซึ่งกลิ่นอายของสวนแนวอังกฤษซึ่งเป็นสวนที่จัดแบบเรียบๆไม่มีรูปแบบที่แน่นอน มีการปลูกพืชล้มลุกให้ดูเต็มพื้นที่ สวยสบายตา

สวนกระท่อมแบบโบราณสามารถใช้ประโยชน์ได้เต็มพื้นที่มากกว่าสวนกระท่อมที่พบเห็นกันในปัจจุบัน — เนื่องจากมีการปลูกผักและสมุนไพรสำคัญๆไว้หลายชนิด, มีผลไม้บ้างเล็กน้อย, อาจมีรังผึ้งหรือแม้แต่ปศุสัตว์ด้วย ส่วนดอกไม้จะใช้เพื่อตกแต่งบริเวณที่ดูโล่งๆ แต่เมื่อเวลาผ่านไป ดอกไม้ก็กลายมาเป็นส่วนสำคัญที่จัดให้ดูเด่นกว่าส่วนอื่นๆในสวน สวนกระท่อมในสมัยก่อนมักเป็นสวนแบบมีรั้วล้อม, อาจเป็นรั้วพุ่มกุหลาบก็ได้ ดอกไม้ในสวนจะเน้นไม้ดอกประดับโบราณเช่นกัน, อย่างเช่น ดอกพริมโรส และ ไวโอเล็ต, อาจมีดอกไม้ทั่ว ๆ ไป อย่างเช่น ดาวเรือง และ สมุนไพรต่างๆ นอกจากนั้น จะปลูกกุหลาบแบบโบราณที่จะออกดอกเพียงปีละครั้งแต่กลิ่นหอมอวลไปทั้งสวนด้วย อาจปลูกดอกไม้แบบเรียบๆอย่างเดซี่ และดอกไม้สมุนไพรทั่วไป ในภายหลัง แม้แต่ในสวนใหญ่ ๆ ยังมีการแยกพื้นที่บางส่วนไว้ เพื่อจัด "สวนกระท่อม" ไว้ด้วย

ในปัจจุบัน สวนกระท่อมมีมากมายหลายแบบตามแต่ละพื้นที่ และความแตกต่างในความชอบของรูปแบบสวนอังกฤษและชนิดต้นไม้ของแต่ละบุคคล เช่น การตกแต่งด้วยหญ้าหรือใช้พืชที่ขึ้นเองตามธรรมชาติ ซึ่งไม่เคยมีในสวนกระท่อมหรือสวนตามชนบทจริงๆ กุหลาบโบราณ, ทรงสวยงาม กลิ่มหอมแรง, ยังเป็นส่วนสำคัญที่จะต้องมีประดับสวนแบบกระท่อมนี้ไว้ — ปลูกรวมกับพันธุ์สมัยใหม่ที่สามารถทนต่อโรคได้ดีกว่า ทั้งสวนแบบสมัยก่อนและในปัจจุบัน มีการประดับด้วยไม้เลื้อยอายุหลายปีที่โตแผ่งกิ่งก้านอย่างอิสระ

ประวัติ[แก้]

จุดเริ่มต้น[แก้]

กระท่อมมุงหลังคาจากล้อมรอบไปด้วยสวน (สร้างเมื่อ 1812–1816) ที่ถนนวอเบอร์น, แอมธิล, เบดฟอร์ดไชร์

สวนกระท่อม, เป็นที่รู้จักในช่วงสมัยเอลิซาเบท, เป็นสวนที่ปลูกสมุนไพรและผลไม้ต่างๆ[1] สมมติฐานหนึ่งที่พบคือ สวนนี้เป็นผลมาจาก แบล็ค เดธ ในยุค 1340, ชนชั้นใช้แรงงานเสียชีวิตเป็นจำนวนมาก ทำให้เหลือที่สำหรับปลูกเพียงกระท่อมเล็กๆมีสวนนิดหน่อยเท่านั้น[2] ในช่วงปลายของศตวรรษที่ 19,[3] สวนหลายๆที่จัดขึ้นมาในกระท่อมเล็กๆในหมู่บ้าน เพื่อใช้เป็นอาหารและสมุนไพร รวมถึงดอกไม้ต่างๆที่ปลูกเพื่อประดับให้ความสวยงาม เฮเลน ลีช วิเคราะห์ถึงความเป็นมาของสวนกระท่อมที่มีเสน่ห์นี้, มองลึกลงไปตั้งแต่รูปแบบของสวนจนถึงความเป็นมา, รวมถึงการปลูกสวนครัว และสวนสมุนไพร เธอสรุปว่า ในศตวรรษที่ 19 ขาดแคลนคนงานจำนวนมาก รวมถึงมีการพยายามปลูกพืชที่สามารถทนต่อความหนาวเย็นของหน้าแล้งได้, ในงานเขียนของ จอห์น คลอเดียส ลูดอน[4] พบว่า ลูดอนได้ร่วมออกแบบสวนขนาดใหญ่ที่ เกรท ทิว, อ็อกฟอร์ดไชร์, ที่ซึ่งคนงานในฟาร์มได้สร้างกระท่อมและสวนขนาดเล็กในพื้นที่ขึ้นมา—ประมาณเอเคอร์เดียวเท่านั้น—พวกเขาสามารถปลูกพืชไว้ทาน ทั้งยังเลี้ยงหมูและไก่ด้วย[5]

สวน โยแมน คอทเทจเจอร์ มีการเลี้ยงผึ้งและทำปศุสัตว์ เลี้ยงหมูและสร้างคอกหมูไว้ด้วย ซึ่งดูเข้ากันได้เป็นอย่างดี ในยุคกลางไม่ค่อยนิยมชมดอกไม้กันเท่าไหร่นัก พวกเขาสนใจเลี้ยงสัตว์เพื่อเอาเนื้อเป็นอาหารมากกว่า, สมุนไพรก็ปลูกเพื่อใช้ประโยชน์ทำยา หรือนำไปปรุงอาหาร มากกว่าปลูกเพื่อความสวยงามเพียงอย่างเดียวเท่านั้น[2] ในยุคของเอลิซาเบ็ท เริ่มมีความมั่งคั่งมากขึ้น ทำให้มีพื้นที่เหลือไว้ปลูกดอกไม้ประดับมากขึ้น มีการปลูกไวโอเล็ตมากมายกระจายในสวน (สวยงาม กลิ่นหอม และช่วยป้องกันไม่ให้มีตัวหนอนในสวนด้วย); คาเลนดูลาส และ พริมโรส ก็เป็นที่นิยมเช่นกัน นำไปทำอาหารรสชาติดีมาก นอกจากนั้นยังมี สวีต วิลเลี่ยม และ ฮอลลี่ฮ็อคส์ ที่ปลูกเพื่อประดับให้ความสวยงามเท่านั้น[6]

สวนและการพัฒนา[แก้]

การออกแบบที่ "ดูเป็นธรรมชาติ" เป็นที่รู้จักโดยทั่ว อเล็กซานเดอร์ โป๊ป เป็นคนแรกๆที่เสนอแนวคิดเรื่องสวนง่ายๆไม่จัดตามแปลน, ในปี 1713 เขาเขียนบทความเกี่ยวกับสวน "ธรรมชาติเรียบง่ายที่ไม่ปรุงแต่ง"[7] ในศตวรรษที่ 18 นักเขียนอย่าง โจเซฟ แอดดิซัน และ ลอร์ด ชาฟทีสบิวรี ก็เห็นด้วยกับรูปแบบสวนสไตล์นี้ พัฒนาการของสวนกระท่อมในแต่ละยุคสามารถหาอ่านได้จาก เดอะ ค็อทเทจ การ์เด้นเนอร์ - คนจัดสวนกระท่อม (1848–61), เรียบเรียงโดย จอร์จ วิลเลียม จอห์นสัน, เรื่อง "ฟลอริส ฟลาวเวอร์ - ดอกไม้ในร้านขายดอกไม้", กล่าวถึง คาร์เนชั่น และ ออริคูลัส ซึ่งนิยมปลูกกันอย่างมาก นับว่าเป็นงานอดิเรกของคนชั้นแรงงาน[8]

ผลงานฟื้นฟูสวนของ เกอทรูด เจคกิล ที่บ้านมาเนอร์, อัพตัท เกรย์, แฮมไชร์

วิลเลียม โรบินสัน และ เกอร์ทรูด เจคกิล ร่วมแพร่แนวคิดสวนประเภทนี้ออกไปผ่านหนังสือหลายเล่ม และหลายๆบทความในแมกกาซีน เดอะ ไวลด์ การ์เด้น ของโรบินสัน ตีพิมพ์ในปี 1870, เป็นการตีพิมพ์ครั้งแรก เรื่อง "ดอกไม้ป่าในสวนอังกฤษ", ซึ่งเคยโดนตัดออกไปเมื่อคราวตีพิมพ์ครั้งก่อน[9] ในเรื่อง สวนดอกไม้อังกฤษ, ภาพประกอบไปด้วย สวนกระท่อมต่างๆ จาก โซเมอร์เซ็ท, เค้นท์ และ เซอร์รี่ , "สิ่งหนึ่งที่ได้จากสวนเล็กๆนี้คือ มันเป็นสวนที่น่ารักมาก สิ่งเล็กๆน้อยๆในสวนมีผลต่อผู้ที่พบเห็นได้"[10] ตั้งแต่ช่วงปี 1890 เพื่อนสนิทของเขา เจคกิล ได้ปรับแปลนออกแบบสวนที่จัดในบ้านหลังใหญ่ๆแถบชนบทให้ดูมีหลักการมากขึ้น ภาพ สีสันในสวนดอกไม้ (1908) ของเธอยังมีการตีพิมพ์มาจนถึงทุกวันนี้

โรบินสันและเจคกิล เป็นส่วนหนึ่งของกระแสการเคลื่อนไหวทางศิลปหัตถกรรม, กระแสนี้แพร่ไปทั้งในศิลปะ, สถาปัตยกรรม, และหัตถกรรม ในช่วงปลายของศตวรรษที่ 19 มีการสนับสนุน วาดภาพเขียนแนวง่ายๆไม่มีลายเส้นตายตัว ซึ่งเป็นผลมาจากอิทธิพลของสวนกระท่อมอังกฤษที่ดูโรแมนติก[11] งานแสดงศิลปหัตถกรรมในปี 1888 เริ่มมีกระแสเกี่ยวกับแนวคิดของสไตล์การจัดสวนชนบทที่ดูเป็นธรรมชาติ[12] งานการออกแบบสวนของโรบินสันและเจคกิลมักจะเกี่ยวข้องกับบ้านสไตล์ชนบท[13] ทั้งสองคนได้รับอิทธิพลมาจาก วิลเลี่ยม มอริส, หนึ่งในผู้นำกระแสการเคลื่อนไหวทางศิลปะหัตถกรรม—โรบินสันอ้างอิงคำวิจารณ์ของมอรริสในเรื่องของ แปลงดอกไม้ในสวน; เจคกิลเห็นพ้องกับแนวคิดของมอริสและได้วาดลายสวนดอกไม้ตามที่เธอออกแบบ[14] เมื่อมอริสสร้างบ้านสีแดงในเค้นท์, นับเป็นการจุดประกายความคิดแนวใหม่ในทางสถาปัตยกรรมและการจัดสวน—สวนแบบ"โบราณ" กลายมาเป็นกระแสท่ามกลางชาวอังกฤษชนชั้นกลาง, และความงามของสวนกระท่อมนี้ก็เริ่มแพร่ไปในอเมริกา[15]

สวนกระท่อมในปัจจุบัน[แก้]

ช่วงต้นศตวรรษที่ 20 คำว่า "สวนกระท่อม" อาจหมายรวมสวนที่มีขนาดใหญ่โตอย่าง ฮิดโคต มาเนอร์ ด้วยก็ได้, โดยสวนดังกล่าว วีต้า แซ็ควิลล์-เวสต์ ได้ให้คำนิยามไว้ว่า "สวนกระท่อมที่งดงามที่สุด"[16] แต่ลักษณะการจัดสวนมีการควบคุมโทนสีไว้อย่างดีเยี่ยม, เช่นสวน "เรด บอร์เดอร์" ที่โด่งดัง แซ็ควิลล์-เวสต์ได้นำความคิดนี้ไปจัด "สวนกระท่อม" ในรูปแบบของเธอเอง, ซึ่งเป็นหนึ่งในสวนที่ ปราสาทซิสซิงเฮิร์ส—แนวคิดของเธอที่มีต่อสวนกระท่อมคือ "ต้นไม้ที่ปลูกรวมๆกันแบบง่ายๆ, มีพุ่มไม้น่ารักๆที่ปลูกรวมกับกุหลาบ,[17] มีพืชสมุนไพรมากมาย, ไม้เลื้อยพาดไปมา, มีต้นไม้ต้นน้อยๆที่ขึ้นได้เองตามธรรมชาติ".[16] ทั้งนี้ ศิลปินอย่าง เฮเลน อัลลิงแฮม(1848–1926) ก็เห็นพ้องอย่างเดียวกันกับแนวคิดดังกล่าว[18] รวมถึง มาเกอรี่ ฟิช (1892–1969), ผู้ซึ่งเป็นเจ้าของสวน อีส แลมบรูค มาเนอร์[19]

สวนกระท่อมในฝรั่งเศสดัดแปลงมาจากช่วงต้นศตวรรษที่ 20 ตัวอย่างเช่น สวนโมเน็ทที่จีเวอร์นี ที่โด่งดัง, สวนขนาดใหญ่ที่ปลูกพืชมากมายหลายชนิด, หลากหลายสีสันสดใส, และสวนน้ำสวย ภายหลัง, คำว่า 'สวนกระท่อม' รวมๆถึงสวนทุกแบบที่จัดแบบง่ายๆ, ไม่มีแปลนตายตัว อาจใช้ต้นไม้ชนิดอื่นๆมาจัดให้แตกต่างจากสวนกระท่อมแบบโบราณได้ ดังเช่น ทุ่งหญ้าแพร์รี่ (ในอเมริกันตะวันตกกลาง) และ สวนกระท่อมแชปปารอลในแคลิฟอร์เนีย[20]

รูปแบบของสวน[แก้]

สวนกระท่อมแนวคลาสสิคจะจัดใกล้ๆกับกระท่อม, แต่ก็ยังมีสวนกระท่อมอีกมากมายที่จัดในพื้นที่บริเวณบ้านหรือที่ดินต่างๆ ตัวอย่างเช่น ฮิดโคท มาเนอร์, ซึ่งแลดูเหมือนสวนที่แบ่งเป็นห้องๆ[21][22] รูปแบบการจัดสวนแบบกระท่อมนี้ขึ้นอยู่กับองค์ประกอบโดยรวมมากกว่าการจัดสวนแบบแปลนที่ตายตัว: มองดูแล้วสวนกระท่อมนี้จะไม่มีดูเรียบง่าย เหมือนเป็นเพียงแค่การปลูกดอกไม้, สมุนไพร, และผัก แล้วจัดวางในพื้นที่เล็กๆรวมกัน โดยหน้าตาของสวนกระท่อมนี้, ทำให้รู้สึกว่าสวนสวยดูมีเสน่ห์ ด้วยความที่สวนจัดวางต้นไม้แน่นๆ, ส่วนใหญ่จึงนิยมใช้กระถางขนาดเล็กๆ, อาจวางไว้ตามทางเดินหรือจัดเป็นแนวรั้วก็ได้ ทั้งนี้ ต้นไม้, แบบแปลน, และอุปกรณ์แต่ละชิ้นจะต้องเลือกชิ้นที่ให้ความรู้สีกเรียบง่าย หรือเป็นแบบที่นิยมใช้กันในชนบททั่วไป [23] สวนกระท่อมสมัยใหม่นิยมใช้ดอกไม้หรืออุปกรณ์ที่หาได้ง่ายตามถิ่นนั้นๆ,มากกว่าจะหาพืชพันธุ์แบบโบราณมาจัดให้เหมือนแต่ก่อน สิ่งที่เหมือนกันระหว่างสวนกระท่อมโบราณกับสวนกระท่อมนปัจจุบันคือ รูปร่างหน้าตาโดยรวมของสวน, พื้นที่ประโยชน์ใช้สอยในสวน, มีดอกไม้สวยงาม สมุนไพร และพืชผักต่างๆปลูกรวมกันอยู่มากมาย[24]

สวนกระท่อมเน้นการออกแบบที่เรียบง่าย, ไม่เน้นความใหญ่โตกว้างขวาง หรือโอ่อ่าหรูหรา ไม่สนใจการจัดให้เป็นระเบียบหรือ การวางแปลนสวนแบบเรขาคณิต เน้นการจัดวางแบบธรรมดาๆมากกว่า สวนอาจจะลามขึ้นไปถึงตัวบ้านก็ได้ สนามหญ้าอาจปลูเป็นกลุ่มของดอกไม้นานาชนิด, ความกว้างของแปลงปลูกก็ไม่มีขนาดตายตัว ไม่มีการวางแปลนเฉพาะถึงธีมหรือความลงตัวของสีสันในสวน, จัดให้สีสันของต้นไม้แต่ละชนิดที่ขึ้นข้างกันดูกลืนกันเท่านั้นพอ ลักษณะโดยรวมของสวนกระท่อมนี้ อาจกล่าวได้ว่า "สวนผักที่ปกคลุมไปด้วยดอกไม้นานาพรรณ"[22] วิธีการปลูก จะเน้นปลูกให้ต้นไม้แต่ละต้นวางชิดกัน ทั้งนี้เพื่อป้องกันไม่ให้มีวัชพืชและช่วยรักษาความชื้นของดินด้วย, สวนทางเดินในสวนนิยมใช้แผ่นหิน หรือปูน, มีการปลูกเถาไม้รอบๆขอบทางเดิน, ทำให้ดูแลรักษาง่าย ซึ่งถือเป็นลักษณะเฉพาะอย่างหนึ่งของสวนกระท่อม

ส่วนประกอบสวน[แก้]

ทางเดิน, ต้นไม้ข้างทาง, และรั้วในสวน จะต้องดูเก่าแก่แบบโบราณ รั้วไม้และประตูไม้, ทางเดินที่ทำจากอิฐหรือก้อนหินแบบที่นิยมกันในท้องถิ่นนั้นๆ, รวมถึงต้นไม้ที่ให้ร่มเงา ทำให้สวนดูเป็นธรรมชาติ เรียบง่าย— ไม่เป็นทางการมากนัก— สวนสวยงามและให้ความรู้สึกว่าเป็นสวนกระท่อมที่แท้จริง[25] กระถางต้นไม้, อุปกรณ์ประดับสวน, และเครื่องใช้ต่างๆก็ต้องเป็นแบบที่ความรู้สึกสบายดูเป็นธรรมชาติด้วย— ทุกสิ่งทุกอย่างในสวนต้องทำให้เกิดความประทับใจและหวนระลึกถึงความเป็นสวนกระท่อมแบบโบราณ[23]

พืชพรรณต่างๆ[แก้]

ต้นไม้ต่างๆในสวนกระท่อมนี้จะนิยมพืชพรรณแบบสมัยก่อน ที่ให้ความรู้สึกเก่าแก่ ดูสวยงามแต่เรียบง่าย ในปัจจุบันมีนักจัดสวนจำนวนมากใช้พืชแบบดั้งเดิม หรือ ต้นไม้'เก่าแก่' หลากหลายชนิดมาตกแต่งสวน— ถึงแม้ว่า ต้นไม้เหล่านี้อาจจะไม่ใช่ต้นไม้ที่อยู่ในสวนกระท่อมแบบโบราณจริงๆก็ตาม[26] นอกเหนือไปจากนั้น สมัยนี้ยังมีดอกไม้อีกมากมายหลายชนิดที่สามารถนำมาตกแต่งให้ดูเข้ากันกับสวนกระท่อมได้ ยกตัวอย่างเช่น, กุหลาบสมัยใหม่ที่พัฒนาโดย เดวิด ออสติน เป็นที่นิยมอย่างมาก เพราะรูปทรงของกุหลาบมีลักษณะเดียวกันกับกุหลาบโบราณ(รูปทรงถ้วยซับซ้อนหลายชั้น) และกลิ่นที่หอมแรง—ทั้งนี้ยังสามารถบานทน, ออกดอกดกตลอดปี, และทนต่อโรค[27] สวนกระท่อมสมัยใหม่นี้ มักจะนำต้นไม้ พืชพรรณต่างๆในท้องถิ่นมาปรับใช้ในสวน ทำให้สวนสามารถทนต่อสภาพอากาศได้ดี, เนื่องจากสวนอยู่ทน มีประโยชน์มากกว่าการนำพืชพรรณแบบสวนโบราณมาปลูกในสภาพแวดล้อมที่ไม่อำนวย— แต่ถึงอย่างนั้น ก็มีการปลูกพืชพรรณในสวนกระท่อมแบบโบราณกันมากมายทั่วโลก[28]

กุหลาบ[แก้]

A climbing sport of the elite Souvenir de la Malmaison, introduced before 1893, typical of a modern cottage garden.

กุหลาบเป็นต้นไม้ที่ขาดไม่ได้ในสวนกระท่อม: กุหลาบทรงพุ่ม, กุหลาบเลื้อย, กุหลาบโบราณเน้นที่ทรงพุ่มเขียวหนาแน่น, ไม่โปร่งเหมือนพันธุ์กุหลาบตัดดอกสมัยใหม่ สวนกระท่อมในสมัยก่อนนั้นจะใช้กุหลาบสายพันธุ์โรซา กัลลิกา, ซึ่งมีลักษณะทรงพุ่มกว้าง สูงราว 3–4 ฟุต, มีสีชมพูจางๆจนถึงสีม่วงเข้ม—รูปทรงดอกมีตั้งแต่ดอกชั้นเดียวและดอกหลายชั้น เป็นกุหลาบที่มีกลิ่มหอมมาก รวมถึงกุหลาบสายพันธุ์โบราณอโปเธแครี่ (อาร์. กัลลิกา 'ออฟฟิไซนาลิส'), ดอกสีแดงม่วงที่มีกลิ่นหอมเฉพาะตัว นอกจากนั้นยังมีกุหลาบอีกหลายสายพันธุ์ เช่น ดามัสก์ โรส, ที่ปลูกในยุโรปเพื่อใช้ในการปรุงน้ำหอม ต้นสูงได้ถึง 4-6 ฟุต หรืออาจจมากกว่านั้น, กิ่งก้านสามารถดัดได้ ทำให้สวนดูสบาย ไม่แข็งจนเกินไปนัก หรือสายพันธุ์ที่ต้นสูงหน่อยคือพวกอัลบา โรส, ที่สามารถปลูกได้งามในที่ร่ม[29]

โปรวองซ์ โรส หรือ โรซา เซนติโฟเลีย เป็น กุหลาบดอกใหญ่เต็มทรง เรียกกันว่า"แคบเบจ โรส" เป็นสายพันธุ์ที่มีชื่อเสียงมาก โด่งดังจากภาพเขียนของดัชช์ มาสเตอร์ ช่วงศตวรรษที่ 17 กุหลาบพุ่มสายพันธุ์นี้มีกลิ่นหอมมาก กว้างและสูงราว 5 ฟุต, ทรงต้นจะห้อยออกด้านข้าง สามารถดัดให้เลื้อยได้ง่าย กุหลาบเซนติโฟเลียนี้แตกแยกออกมาอีกหลายสายพันธุ์ แต่ละสายพันธุ์ก็เป็นที่นิยมอย่างมากในการจัดสวนกระท่อม, รวมไปถึงกุลาบมอสด้วย(กุหลาบที่มี 'มอส' มาอาศัยเจริญเติบโตอยู่ตามกิ่งก้าน) ไม่เหมือนสายพันธุ์ส่วนใหญ่กุหลาบในปัจจุบัน, กุหลาบโบราณจะออกดอกเพียงปีละครั้งเท่านั้น, ดังนั้นจะไม่มีการตัดแต่งต้นหลายครั้งในแต่ละปี การที่ไม่ออกดอกดกตลอดปี ทำให้มีต้นไม้ดอกไม้อื่นๆมาอาศัยยึดเกาะเพื่อเลื้อย อย่างเช่น เถาเคล็มมาทิส กุหลาบในสวนกระท่อมนี้จะไม่ปลูกแยกเดี่ยวๆต่างหาก, แต่ส่วนใหญ่ก็จะมีการปลูกพืชชนิดอื่นๆมาแซม เช่น ดอกไม้, เถาไม้, หรือ พืชคลุมดินต่างๆ[30]

ในศตวรรษที่ 18 มีการเปิดตัวกุหลาบหลากหลายสายพันธุ์ โดยเฉพาะไชน่า โรสส์ (มาจากชื่อ โรซา ไคเนนซิส) ซึ่งเป็นสายพันธุ์ที่ ออกดอกตลอดปี แต่ยังคงไว้ซึ่งรูปทรงของกุหลาบโบราณ รวมถึงพันธุ์ เบอร์เบิ้น โรส และ นอเซ็ต โรส, ซึ่งเป็นที่นิยมเอามาจัดไว้ในสวนกระท่อม, และล่าสุด, กุหลาบ"อังกฤษ" ของ เดวิด ออสติน[31]

ไม้เลื้อย[แก้]

เคล็มมาทิส วิทัลบา

กุหลาบโบราณหลายสายพันธุ์ มีกิ่งก้านที่ยาวมาก, ซึ่งสามารถนำมายึดกับโครงไม้ระแนงหรือกำแพงได้ เรียกว่า "พาด", มากกว่า "เลื้อย"[32] ไม้เลื้อยในสวนกระท่อมโบราณนั้นประกอบไปด้วย ยูโรเปียน ฮันนี่ซัคเคิล (โลนิเซรา เพอริไซเมนัม) และ ทราเวิลเลอร์ จอย (เคล็มเมทิส ไวทัลบา) แต่ในสวนกระท่อมปัจจุบัน นิยมปลูกสายพันธุ์ เคล็มเมทิส ที่มีรูปร่างลักษณะเดียวกับสายพันธุ์แบบโบราณ, ใบขึ้นห่างกัน ทำให้สามารถโตแทรกต้นไม้และกุหลาบต่างๆ รวมถึงตามรั้วและทางเดินได้[33] นอกจากนั้นยังมีสายพันธุ์เคล็มมาทิสอีกมากมายที่นำมาจัดสวนกระท่อม เช่น เคล็มเมทิส อาร์มานดี, เคล็มเมทิส ไครโซโคมา, และ เคล็มเมทิส แฟลมมูลา. ต้นฮันนี่ซัคเคิลก็นิยมเป็นสายพันธุ์ ฮันนี่ซัคเคิลญี่ปุ่น และ โลนีเซรา ทราโกฟิลลา[34]

พืชตามแนวพุ่มไม้[แก้]

ในสวนกระท่อมโบราณนั้น มีการปลูกต้นไม้เป็นแนวรั้วเพื่อป้องกันคนร้ายและสร้างความเป็นส่วนตัวให้กับพื้นที่พักอาศัย ใบของพืชที่มีหนาม สามารถใช้ชงชาหรือทานเล่นเป็นขนมรสชาติเยี่ยม, ส่วนพวกดอกไม้ใช้ทำไวน์ สำหรับพืชที่โตไวอย่าง เอลเดอร์เบอร์รี่ นอกจากจะได้ประโยชน์ในการทำเป็นรั้วแล้ว ผลเบอร์รี่ยังนำมาทำไวน์และอาหารได้ด้วย ส่วนดอกนำมาทุบ ใช้ทำโลชั่นหรือขี้ผึ้ง ส่วนเนื้อไม้นำไปใช้ประโยชน์ได้หลายอย่าง ทั้งของเล่น, หมุด, ไม้เสียบ, และไม้ตกปลา ยังมี ฮอลลี่ ที่นิยมนำมาปลูกเป็นแนวรั้วเหมือนกัน เพราะมีประโยชน์ โตไว และสามารถขยายพันธุ์ได้เอง ส่วน พรีเว็ต ก็ปลูกง่ายและสามารถขยายพันธุ์เองได้เช่นกัน ในภายหลัง ไม้ประดับที่เน้นความสวยงามมากกว่าประโยชน์ใช้สอยก็กลายมาเป็นที่นิยมในการทำแนวรั้วสวนกระท่อม, อย่างเช่น ลอเร็ล, ไลแลค, สโนว์เบอร์รี่, จาโพนิกา,และอื่นๆ[35]

ดอกไม้และเหล่าสมุนไพร[แก้]

ลาเวนเดอร์

ดอกไม้ที่นิยมปลูกกันมากในสวนกระท่อม คือพวกดอกไม้ที่ดึงดูดใจทั้งหลาย—เช่น ไวโอเล็ต, พิงค์, และพริมโรสส์[33]—รวมถึงพวกที่ปลูกเพื่อใช้ประโยชน์บางอย่าง ตัวอย่างเช่น, คาเลนดูลา, เลี้ยงง่าย ดอกสีส้มสดใส, ทานได้มีประโยชน์, หรือใช้เพื่อเพิ่มสีสันในเนยและชีสได้, อาจเติมลงในซุปหรือสตูว์, ใช้ทาบาดแผลได้ ในสวนกระท่อมแบบโบราณจะปลูก พืชล้มลุก และสมุนไพร, ซึ่งโตง่าย ขยายพันธุ์ได้เอง[36] พวกที่นิยมปลูกกัน ได้แก่ ไวโอเล็ค, แพนซี่, สต็อค, แลพ มิโนเน็ตต์[26]

ไม้ยืนต้นในสวนกระท่อมมีมากมาย [33]— เป็นไม้ที่อยู่คู่กับสวนกระท่อมมาช้านาน เช่น ฮอลลี่ฮ็อคส์, คาร์เนชั่น, สวีต วิลเลี่ยมส์, มาเกอร์เร็ต, มาริโกลด์, ลิลลี่, โพนี่, ทิวลิป, โครคัส, เดซี่, ฟ็อกโกลฟว์, มงส์ฮู้ด, ลาเวนเดอร์, แคมพานูลาส์, โซโลมอน ซีล, อีฟเวนนิ่ง พริมโรส, ลิลลี่ ออฟ เดอะ วัลเล่ย์, พริมโรส, คาวสลิป, และ กุหลาบหลากหลายสายพันธุ์[26]

ในปัจจุบัน อาจนับว่าพืชสมุนไพรเป็นพืชประดับสวน, แต่สำหรับสวนกระท่อมในสมัยก่อน ปลูกเพื่อใช้ประโยชน์จริงๆ สมุนไพรนั้นมีประโยชน์มากมาย อาจใช้เป็นยา, เครื่องอาบน้ำ, หรือใช้ทำความสะอาด กลิ่นของสมุนไพรช่วยดับกลิ่นที่ไม่พึงประสงค์ได้ บางชนิดใช้นำมาย้อมสีผ้า[37] สมุนไพรที่นิยมปลูกในสวนกระท่อมแบบโบราณ ได้แก่ เซจ, ไทม์, เซ้าเธิร์นวู้ด, วอร์มวู้ด, แคทมิ้นท์, ฟีเวอร์ฟิว, ลังเวิท, โซปเวิท, ฮีสซอป, สวืท วู้ดรัฟ, และ ลาเวนเดอร์[38][39]

ผลไม้[แก้]

ผลไม้ในสวนกระท่อมโบราณ จะประกอบไปด้วย แอ๊ปเปิ้ล และ แพร์, เพื่อใช้ทำ ไซเดอร์ และทานผล,[40] มีกูสเบอร์รี่และราสเบอร์รี่ ส่วนสวนกระท่อมสมัยใหม่จะปลูกผลไม้หลากหลายมาก มีการปลูกเพื่อประดับสวนให้ดูสวยงาม หรือปลูกต้นถั่วต่างๆ, อย่างเช่น แครปแอ๊ปเปิ้ล และ เฮเซล, รวมไปถึงต้นไม้อย่างด๊อกวู้ด[41]

See also[แก้]

References[แก้]

Notes[แก้]

  1. Ryrie, Charlie (2004). The Cottage Garden: How to Plan and Plant a Garden That Grows Itself. Collins & Brown. p. 7. ISBN 1-84340-216-5.
  2. 2.0 2.1 Scott-James, Anne; Osbert Lancaster (2004). The Pleasure Garden: An Illustrated History of British Gardening. Frances Lincoln Publishers. p. 80. ISBN 978-0-7112-2360-8.[ลิงก์เสีย]
  3. Anne Scott-James, The Cottage Garden (London: Lane) 1981, de-mythologised the origins of the English cottage garden, and its treasured topiary among the vegetables and flowers, popularly supposed to represent heirlooms from the seventeenth century.
  4. Leach, Helen (2000). Cultivating Myths: Fiction, Fact and Fashion in Garden History. Auckland: Godwit. ISBN 1-86962-049-6.
  5. A Biographical Dictionary of British Architects, 1600–1840, Howard Colvin, Yale University Press, 2008 ISBN 0-300-12508-9, p 659
  6. Lloyd, Christopher; Richard Bird (1999). The Cottage Garden. Jacqui Hurst. Dorling Kindersley. pp. 6–9. ISBN 978-0-7513-0702-3.
  7. Reynolds, Myra (1896). The Treatment of Nature in English Poetry Between Pope and Wordsworth. The University of Chicago Press. p. 253.
  8. Gould, Jim (Spring 1988). "The Lichfield Florists". Garden History. Garden History, Vol. 16, No. 1. 16 (1): 17–23. doi:10.2307/1586902. JSTOR 1586902.
  9. Massingham, Betty (1978). "William Robinson: A Portrait". Garden History. The Garden History Society. 6 (1): 61–85. doi:10.2307/1586557. JSTOR 1586557. p. 63f.
  10. Massingham, p. 71.
  11. Kendle, Tony; Stephen Forbes (1997). Urban Nature Conservation: Landscape Management in the Urban Countryside. Taylor & Francis. p. 79. ISBN 978-0-419-19300-5.
  12. Horwood, Catherine (2008). Potted History: The Story of Plants in the Home. Frances Lincoln Publishers. p. 151. ISBN 978-0-7112-2800-9.[ลิงก์เสีย]
  13. Kammen, Carol; Norma Prendergast (2000). Encyclopedia of Local History. Rowman Altamira. p. 205. ISBN 978-0-7425-0399-1.
  14. Hamilton, Jill (1998). The Gardens of William Morris. Frances Lincoln Publishers. p. 87. ISBN 978-0-7112-1370-8. {{cite book}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |coauthors= ถูกละเว้น แนะนำ (|author=) (help)
  15. Clayton, Virginia Tuttle (2000). The Once and Future Gardener: Garden Writing from the Golden Age of Magazines, 1900–1940. David R. Godine Publisher. p. xx. ISBN 978-1-56792-102-1.
  16. 16.0 16.1 Vita Sackville-West, "Hidcote Manor", Journal of the Royal Horticultural Society 74 (1949:476-81), as noted by Brent Elliott in "Historical Revivalism in the Twentieth Century: A Brief Introduction" Garden History 28.1, Reviewing the Twentieth-Century Landscape (Summer 2000:17–31)
  17. The "old roses" Vita Sackville-West was rediscovering were introduced from French growers in the 1830s and 1840s. See Graham Stuart Thomas, The Old Shrub Roses.
  18. Hunt, John Dixon; Joachim Wolschke-Bulmahn (1993). The Vernacular Garden: Dumbarton Oaks Colloquium on the History of Landscape Architecture XIV. Dumbarton Oaks. p. 9. ISBN 978-0-88402-201-5.
  19. ODNB entry for Margery Fish by Catherine Horwood Retrieved 1 December 2012. (Pay-walled)
  20. White, Lee Anne (2001). Exploring Garden Style: Creative Ideas from America's Best Gardeners. Taunton Press. p. 95. ISBN 978-1-56158-474-1.
  21. "Designing the Country Cottage Garden". aggie-horticulture.tamu.edu. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-07-13. สืบค้นเมื่อ 2008-12-28.
  22. 22.0 22.1 Turner, Roger (2005). Design in the Plant Collector's Garden. Timber Press. p. 172. ISBN 978-0-88192-690-3.
  23. 23.0 23.1 Williams, Robin (1995). Royal Horticultural Society (บ.ก.). The Garden Designer. Frances Lincoln Publishers. p. 190. ISBN 978-0-7112-0812-4.
  24. White, Lee Anne (2001). Exploring Garden Style: Creative Ideas from America's Best Gardeners. Taunton Press. pp. 89–93. ISBN 978-1-56158-474-1.
  25. Lloyd, Christopher; Richard Bird (1999). The Cottage Garden. Jacqui Hurst. Dorling Kindersley. p. 6. ISBN 978-0-7513-0702-3.
  26. 26.0 26.1 26.2 Scott-James, The Pleasure Garden, p. 83.
  27. Lee Anne White, Lee Anne White (2001). Exploring Garden Style. Taunton Press. p. 106. ISBN 978-1-56158-474-1.
  28. White, Lee Anne (2001). Exploring Garden Style: Creative Ideas from America's Best Gardeners. Taunton Press. p. 92. ISBN 978-1-56158-474-1.
  29. Schulman, Andrew; Jacqueline Koch (2004). The Northwest Cottage Garden. Sasquatch Books. pp. 131–132. ISBN 978-1-57061-363-0.
  30. Schulman, Andrew; Jacqueline Koch (2004). The Northwest Cottage Garden. Sasquatch Books. pp. 132–133. ISBN 978-1-57061-363-0.
  31. Schulman, Andrew; Jacqueline Koch (2004). The Northwest Cottage Garden. Sasquatch Books. pp. 134–138. ISBN 978-1-57061-363-0.
  32. Beutler, Linda (2004). Gardening with Clematis. Timber Press. p. 88. ISBN 978-0-88192-644-6.
  33. 33.0 33.1 33.2 Philips, Sue (2003). Cottage Garden Flowers. Sterling Publishing Company. p. 18. ISBN 978-1-84403-065-1.
  34. Squire, David; Alan Bridgewater (2006). The Climbing Plants Specialist. Gill Bridgewater. Sterling Publishing Company. p. 55. ISBN 978-1-84537-105-0.
  35. Porter, Valerie (2006). Yesterday's Countryside. David & Charles. pp. 47–48. ISBN 978-0-7153-2196-6.
  36. Gardner, Jo Ann; Holly S. Dougherty (2005). Herbs in Bloom. Timber Press. p. 109. ISBN 978-0-88192-698-9.
  37. Philips, Sue (2003). Cottage Garden Flowers. Sterling Publishing Company. p. 17. ISBN 978-1-84403-065-1.
  38. Garland, Sarah (2003). The Herb Garden. Frances Lincoln Publishers. p. 52. ISBN 978-0-7112-2057-7.[ลิงก์เสีย]
  39. Gardner, Jo Ann; Holly S. Dougherty (2005). Herbs in Bloom. Timber Press. pp. 36–37. ISBN 978-0-88192-698-9.
  40. The raw fruits, considered indigestible, were not much eaten before the twentieth century.
  41. Philips, Sue (2003). Cottage Garden Flowers. Sterling Publishing Company. pp. 18–19. ISBN 978-1-84403-065-1.

Bibliography[แก้]

  • Clayton, Virginia Tuttle (2000). The Once and Future Gardener: Garden Writing from the Golden Age of Magazines, 1900–1940. David R. Godine Publisher. ISBN 978-1-56792-102-1.
  • Garland, Sarah (2003). The Herb Garden. Frances Lincoln Publishers. ISBN 978-0-7112-2057-7.
  • Gould, Jim (Spring 1988). "The Lichfield Florists". Garden History. Garden History, Vol. 16, No. 1. 16 (1): 17–23. doi:10.2307/1586902. JSTOR 1586902.
  • Hamilton, Jill (1998). The Gardens of William Morris. Frances Lincoln Publishers. ISBN 978-0-7112-1370-8. {{cite book}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |coauthors= ถูกละเว้น แนะนำ (|author=) (help)
  • Horwood, Catherine (2008). Potted History: The Story of Plants in the Home. Frances Lincoln Publishers. ISBN 978-0-7112-2800-9.
  • Hunt, John Dixon; Joachim Wolschke-Bulmahn (1993). The Vernacular Garden: Dumbarton Oaks Colloquium on the History of Landscape Architecture XIV. Dumbarton Oaks. p. 9. ISBN 978-0-88402-201-5.
  • Kammen, Carol; Norma Prendergast (2000). Encyclopedia of Local History. Rowman Altamira. ISBN 978-0-7425-0399-1.
  • Kendle, Tony; Stephen Forbes (1997). Urban Nature Conservation: Landscape Management in the Urban Countryside. Taylor & Francis. ISBN 978-0-419-19300-5.
  • Lloyd, Christopher; Richard Bird (1999). The Cottage Garden. Jacqui Hurst. Dorling Kindersley. ISBN 978-0-7513-0702-3.
  • Massingham, Betty (1978). "William Robinson: A Portrait". Garden History. The Garden History Society. 6 (1): 61–85. doi:10.2307/1586557. JSTOR 1586557.
  • Reynolds, Myra (1896). The Treatment of Nature in English Poetry Between Pope and Wordsworth. The University of Chicago press.
  • Sackville-West, "Hidcote Manor", Journal of the Royal Horticultural Society 74 (1949:476-81), noted by Brent Elliott, "Historical Revivalism in the Twentieth Century: A Brief Introduction" Garden History 28.1, Reviewing the 20th-century Landscape (Summer 2000:17–31)
  • Schulman, Andrew; Jacqueline Koch (2004). The Northwest Cottage Garden. Sasquatch Books. ISBN 978-1-57061-363-0.
  • Scott-James, Anne (1981). The Cottage Garden. Allen Lane. ISBN 978-0-7139-1263-0.
  • Scott-James, Anne; Osbert Lancaster (2004). The Pleasure Garden: An Illustrated History of British Gardening. Frances Lincoln Publishers. ISBN 978-0-7112-2360-8.
  • White, Lee Anne (2001). Exploring Garden Style: Creative Ideas from America's Best Gardeners. Taunton Press. ISBN 978-1-56158-474-1.

External links[แก้]

แม่แบบ:Horticulture and gardening