สรวนาภวัน
ประเภท | เอกชน |
---|---|
อุตสาหกรรม | ภัตตาคาร |
รูปแบบ | อาหารอินเดียใต้ไม่มีเนื้อสัตว์ |
ก่อตั้ง | 1981 |
ผู้ก่อตั้ง | พี. ราชโคปาล (P. Rajagopal) |
สำนักงานใหญ่ | , อินเดีย |
จำนวนที่ตั้ง | 25 (ในอินเดีย), 85 (นอกอินเดีย) |
พื้นที่ให้บริการ | อินเดีย, ออสเตรเลีย, นิวซีแลนด์, มาเลเซีย, โอมาน, แคนาดา, ฝรั่งเศส, เบลเยียม, เยอรมนี, สิงคโปร์, บาห์เรน, สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์, สหราชอาณาจักร, สหรัฐอเมริกา, คูเวต, ซาอุดีอาระเบีย, เคนยา, แอฟริกาใต้, กาตาร์, ฮ่องกง, ไทย, เนเธอร์แลนด์, สวีเดน |
บุคลากรหลัก | พี.อาร์. ศิวะ กุมาร (P. R. Siva Kumar) อาร์. สรวนาน (R. Saravanan) |
ผลิตภัณฑ์ | อาหาร, ของหวาน, เบเกอรี, ไอสครีม |
บริการ | อาหารจานด่วน, สั่งกลับบ้าน, เดลิเวอรี และ รับจัดเลี้ยงนอกสถานที่ |
รายได้ | ₹29,782.4 million (417.5 ร้อยล้านUS$) (2017) |
พนักงาน | 8,700 (ในอินเดีย - 2014) |
เว็บไซต์ | www.saravanabhavan.com |
โฮเต็ล สรวนาภวัน (Hotel Saravana Bhavan) หรือคนไทยมักเรียกว่า ซาราวาน่า บาวาน เป็นเครือร้านอาหารอินเดียใต้ที่ใหญ่ที่สุดในโลก ก่อตั้งขึ้นในปี 1981 ด้วยเงินทูนเริ่มต้นเพียง ₹5,000 ในเมืองเจนไน, รัฐทมิฬนาฑู, ประเทศอินเดีย[1] ปัจจุบันมีสาขากว่า 39 สาขาในประเทศอินเดีย (30 สาขาอยู่ใน เจนไน) และมีอีกกว่า 87 สาขานอกประเทศอินเดียทั้งในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ ตะวันออกกลาง แอฟริกา ยุโรป และอเมริกาเหนือ[2][3] สำหรับแฟรนไชส์สรวนาภวันในประเทศไทยตั้งอยู่ที่โครงการบ้านสีลมในเขตบางรัก กรุงเทพมหานคร และเคยมีสาขาที่ซอยสุขุมวิท 22 เขตคลองเตย
ประวัติ
[แก้]พี. ราชโคปาล (P. Rajagopal) เริ่มต้นด้วยการเปิดร้านของชำเล็ก ๆ ของเขาในแถบชานเมือง[4] ในปี 1992 ราชโคปาลได้เดินทางสิงคโปร์และได้เจอกับร้านอาหารจานด่วน (ฟาสต์ฟู้ด) นานาชาติอย่างแม็คโดนัลด์ จึงได้นำมาเป็นแบบอย่างกับการเปิดร้านอาหารอินเดีย[5]
ในทศวรรษ 1990s เครือสรวนาภวัน ,(Saravana Bhavan chain) ได้แพร่ขยายไปทั่วตามย่านต่าง ๆ ของเมืองเจนไน และในปี 2000 ได้เปิดสาขาแรกนอกประเทศอินเดียที่เมืองดูไบ ในสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ที่ซึ่งมีชาวอินเดียโพ้นทะเลอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก ต่อมาจึงได้ขยายสาขาออกไปในเมืองใหญ่อย่าง ปารีส, แฟรงก์เฟิร์ต, ลอนดอน, นิวยอร์กซิตี, ดัลลัส, โทรอนโท, สตอกโฮล์ม, โดฮา, อัคแลนด์ และกรุงเทพมหานคร ในขณะที่สรวนาภวันเป็นที่นิยมมากในหมู่คนที่ไม่ใช่คนอินเดีย แต่เป้าหมายหลักจริง ๆ ของเครือคือชาวอินเดียใต้โพ้นทะเลมากกว่า[6] นอกจากนี้สรวนาภวันยังส่งออกพนักงานจากอินเดียไปทำงานตามสาขาในต่างประเทศด้วย[7]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "Founder & Key Personalities". Saravana Bhavan. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-05-24. สืบค้นเมื่อ 2007-05-31.
- ↑ Berry, Rynn; Suzuki, Chris A.; Litsky, Barry (2006). The Vegan Guide to New York City. Ethical Living. p. 27. ISBN 0-9788132-0-0. สืบค้นเมื่อ 2008-07-03.
- ↑ Addison, Bill (2006-06-30). "Diners line up for Saravana dosas". San Francisco Chronicle. สืบค้นเมื่อ 2008-07-03.
- ↑ Romig, Rollo (7 May 2014). "Masala Dosa to Die For". สืบค้นเมื่อ 12 April 2019 – โดยทาง NYTimes.com.
- ↑ The Hindu, Friday, 21 August 1998
- ↑ "Coconuts Hong Kong Hot Spot food review of Indian restaurant Saravana Bhavan". Coconuts. 18 November 2015. สืบค้นเมื่อ 12 April 2019.
- ↑ Management, Strategic; Asia-Pacific; China; India; America, North. "Indian Restaurant Chains Have Overseas Expansion on Their Menus". Knowledge@Wharton. สืบค้นเมื่อ 12 April 2019.