สรวนาภวัน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
โฮเต็ล สรวนา ภวัน
Hotel Saravana Bhavan
ประเภทเอกชน
อุตสาหกรรมภัตตาคาร
รูปแบบอาหารอินเดียใต้ไม่มีเนื้อสัตว์
ก่อตั้ง1981; 43 ปีที่แล้ว (1981)
ผู้ก่อตั้งพี. ราชโคปาล (P. Rajagopal)
สำนักงานใหญ่,
อินเดีย
จำนวนที่ตั้ง
25 (ในอินเดีย), 85 (นอกอินเดีย)
พื้นที่ให้บริการ
อินเดีย, ออสเตรเลีย, นิวซีแลนด์, มาเลเซีย, โอมาน, แคนาดา, ฝรั่งเศส, เบลเยียม, เยอรมนี, สิงคโปร์, บาห์เรน, สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์, สหราชอาณาจักร, สหรัฐอเมริกา, คูเวต, ซาอุดีอาระเบีย, เคนยา, แอฟริกาใต้, กาตาร์, ฮ่องกง, ไทย, เนเธอร์แลนด์, สวีเดน
บุคลากรหลัก
พี.อาร์. ศิวะ กุมาร (P. R. Siva Kumar)
อาร์. สรวนาน (R. Saravanan)
ผลิตภัณฑ์อาหาร, ของหวาน, เบเกอรี, ไอสครีม
บริการอาหารจานด่วน, สั่งกลับบ้าน, เดลิเวอรี และ รับจัดเลี้ยงนอกสถานที่
รายได้เพิ่มขึ้น29,782.4 million (417.5 ร้อยล้านUS$) (2017)
พนักงาน
8,700 (ในอินเดีย - 2014)
เว็บไซต์www.saravanabhavan.com

โฮเต็ล สรวนาภวัน (Hotel Saravana Bhavan) หรือคนไทยมักเรียกว่า ซาราวาน่า บาวาน เป็นเครือร้านอาหารอินเดียใต้ที่ใหญ่ที่สุดในโลก ก่อตั้งขึ้นในปี 1981 ด้วยเงินทูนเริ่มต้นเพียง 5,000 ในเมืองเจนไน, รัฐทมิฬนาฑู, ประเทศอินเดีย[1] ปัจจุบันมีสาขากว่า 39 สาขาในประเทศอินเดีย (30 สาขาอยู่ใน เจนไน) และมีอีกกว่า 87 สาขานอกประเทศอินเดียทั้งในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ ตะวันออกกลาง แอฟริกา ยุโรป และอเมริกาเหนือ[2][3] สำหรับแฟรนไชส์สรวนาภวันในประเทศไทยมีอยู่ทั้งหมด 2 สาขา คือที่ย่านสีลม ในเขตบางรัก และอีกแห่งที่เขตคลองเตย กรุงเทพมหานคร

ประวัติ[แก้]

พี. ราชโคปาล (P. Rajagopal) เริ่มต้นด้วยการเปิดร้านของชำเล็ก ๆ ของเขาในแถบชานเมือง[4] ในปี 1992 ราชโคปาลได้เดินทางสิงคโปร์และได้เจอกับร้านอาหารจานด่วน (ฟาสต์ฟู้ด) นานาชาติอย่างแม็คโดนัลด์ จึงได้นำมาเป็นแบบอย่างกับการเปิดร้านอาหารอินเดีย[5]

ในทศวรรษ 1990s เครือสรวนาภวัน ,(Saravana Bhavan chain) ได้แพร่ขยายไปทั่วตามย่านต่าง ๆ ของเมืองเจนไน และในปี 2000 ได้เปิดสาขาแรกนอกประเทศอินเดียที่เมืองดูไบ ในสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ที่ซึ่งมีชาวอินเดียโพ้นทะเลอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก ต่อมาจึงได้ขยายสาขาออกไปในเมืองใหญ่อย่าง ปารีส, แฟรงก์เฟิร์ต, ลอนดอน, นิวยอร์กซิตี, ดัลลัส, โทรอนโท, สตอกโฮล์ม, โดฮา, อัคแลนด์ และกรุงเทพมหานคร ในขณะที่สรวนาภวันเป็นที่นิยมมากในหมู่คนที่ไม่ใช่คนอินเดีย แต่เป้าหมายหลักจริง ๆ ของเครือคือชาวอินเดียใต้โพ้นทะเลมากกว่า[6] นอกจากนี้สรวนาภวันยังส่งออกพนักงานจากอินเดียไปทำงานตามสาขาในต่างประเทศด้วย[7]

อ้างอิง[แก้]

  1. "Founder & Key Personalities". Saravana Bhavan. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-05-24. สืบค้นเมื่อ 2007-05-31.
  2. Berry, Rynn; Suzuki, Chris A.; Litsky, Barry (2006). The Vegan Guide to New York City. Ethical Living. p. 27. ISBN 0-9788132-0-0. สืบค้นเมื่อ 2008-07-03.
  3. Addison, Bill (2006-06-30). "Diners line up for Saravana dosas". San Francisco Chronicle. สืบค้นเมื่อ 2008-07-03.
  4. Romig, Rollo (7 May 2014). "Masala Dosa to Die For". สืบค้นเมื่อ 12 April 2019 – โดยทาง NYTimes.com.
  5. The Hindu, Friday, 21 August 1998
  6. "Coconuts Hong Kong Hot Spot food review of Indian restaurant Saravana Bhavan". Coconuts. 18 November 2015. สืบค้นเมื่อ 12 April 2019.
  7. Management, Strategic; Asia-Pacific; China; India; America, North. "Indian Restaurant Chains Have Overseas Expansion on Their Menus". Knowledge@Wharton. สืบค้นเมื่อ 12 April 2019.