ข้ามไปเนื้อหา

สมาคมชาวมาเลเซียเชื้อสายจีน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สมาคมชาวมาเลเซียเชื้อสายจีน
ชื่อจีน马来西亚华人公会 Mǎláixīyà huárén gōnghuì
ชื่อมาเลย์Persatuan Cina Malaysia
ชื่อย่อMCA
ผู้ก่อตั้งTan Cheng Lock
ประธานWee Ka Siong
เลขาธิการChong Sin Woon
ตัวแทนประธานMah Hang Soon
รองประธานLim Ban Hong
Tan Teik Cheng
Ti Lian Ker
Yew Teong Look
หัวหน้าหญิงHeng Seai Kie
หัวหน้าเยาวชนNicole Wong Siaw Ting
ก่อตั้ง27 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1949
ก่อนหน้าสมาคมชาวมาลายาเชื้อสายจีน
ที่ทำการชั้น 8, Wisma MCA, 163, จาลันอัมปัง, 50450 กัวลาลัมเปอร์, มาเลเซีย
หนังสือพิมพ์เดอะสตาร์
Nanyang Siang Pau
ฝ่ายเยาวชนMCA Youth Section
ฝ่ายสตรีWanita MCA
อุดมการณ์เกี่ยวข้องกับชาวมาเลเซียเชื้อสายจีน
อนุรักษ์นิยมทางสังคม
ชาตินิยมจีน (ประวัตื)
ลัทธิไตรราษฎร์ (ประวัติ)
จุดยืนกลาง-ขวา[1]
กลุ่มระดับชาติพรรคพันธมิตร (ค.ศ.1952–73)
แนวร่วมแห่งชาติ (ค.ศ.1973–)
สี  น้ำเงินและเหลือง
เพลงMa Hua Dang Ge
วุฒิสภามาเลเซีย:
6 / 70
สภาผู้แทนราษฎรของมาเลเซีย:
2 / 222
สภานิติบัญญัติของมาเลเซีย:
8 / 587
เว็บไซต์
www.mca.org.my
ธงประจำพรรค
การเมืองมาเลเซีย
รายชื่อพรรคการเมือง
การเลือกตั้ง
สมาคมชาวมาเลเซียเชื้อสายจีน

สมาคมชาวมาเลเซียเชื้อสายจีน (อังกฤษ: Malaysian Chinese Association, MCA; จีนตัวย่อ: 马来西亚华人公会; จีนตัวเต็ม: 馬來西亞華人公會; พินยิน: Mǎláixīyà Huárén Gōnghuì; จีนกวางตุ้ง: MaLoiSaiYa WahYen KoongWui; มลายู: Persatuan Cina Malaysia) เป็นพรรคการเมืองเชื้อชาติเดียวในมาเลเซียซึ่งเป็นตัวแทนของชาวมาเลเซียเชื้อสายจีน เป็นหนึ่งในสามพรรคหลักของแนวร่วมแห่งชาติ เป็นพรรคที่ทรงอิทธิพลพรรคหนึ่งในมาเลเซีย สามารถควบคุมสื่อที่สำคัญในมาเลเซียได้

การก่อตั้ง

[แก้]
ตัน เชง ลอก ผู้ก่อตั้งสมาคม

การก่อตั้งสหพันธรัฐมลายาไม่ได้เป็นผลดีต่อชาวจีน เพราะสิทธิในการเป็นพลเมืองของกลุ่มที่ไม่ใช่ชาวมลายูถูกเพิกถอน สมาคมชาวมาเลเซียเชื้อสายจีนก่อตั้งขึ้นเมื่อ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2492 โดยการนำของนักธุรกิจชาวจีนช่องแคบ ตัน เชงลอก ทำให้เกิดความตึงเครียดระหว่างชาวจีนกับชาวมลายูและโอน จาฟาร์ผู้นำอุมโนพยายามวางระยะห่างจากตัน

ตันเคยเป็นสมาชิกสันนิบาตมลายาต่อต้านญี่ปุ่น สมาชิกแรกต่อตั้งของสมาคมส่วนใหญ่เป็นสมาชิกก๊กมินตั๋งและเข้าร่วมในฐานะเป็นทางเลือกที่เป็นองค์กรฝ่ายตรงข้ามกับพรรคคอมมิวนิสต์มลายา และได้รับการสนับสนุนจากอังกฤษที่กลับมาปกครองมลายาอีกครั้ง สมาชิกจะแบ่งเป็นกลุ่มย่อยตามบ้านเกิดในจีน ผู้นำคนแรกของสมาคมเป็นอดีตผู้นำทางทหารของก๊กมินตั๋ง เลือง ยิวโกห์

หลังเหตุจลาจล พ.ศ. 2512

[แก้]

การเลือกตั้งทั่วไปครั้งที่ 3 ของมาเลเซียเกิดขึ้นเมื่อ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2512 สมาคมได้ 13 ที่นั่ง แต่สูญเสียการบริหารรัฐปีนัง ใน พ.ศ. 2517 ตัน เซียวซินได้ลาออกจากพรรคด้วยเหตุผลทางสุขภาพ

พ.ศ. 2528 – 2546

[แก้]

ในพ.ศ. 2528 ตัน กุนซวานได้เป็นหัวหน้าพรรค แต่อีกปีต่อมา เขาถูกฟ้องร้องในคดีทุจริตและต้องลาออกไป ลิง เลืองซิกขึ้นมาเป็นหัวหน้าพรรคแทน เขาลาออกใน พ.ศ. 2539 ลิม อาห์เล็กขึ้นมาเป็นหัวหน้าพรรคแทน ลิมได้เรียกร้องความสนใจของชุมชนชาวจีนให้มีมากขึ้น

ใน พ.ศ. 2542 เกิดการแบ่งส่วนภายในพรรค ลิมลาออกจากตำแหน่งรัฐมนตรีและเสนอให้ชัน กองชอยเข้าร่วมคณะรัฐมนตรีแทนหลังหารเลือกตั้ง พ.ศ. 2542 แต่มีกลุ่มที่เสนอให้ อง กาติงขึ้นเป็นรัฐมนตรีแทน ในที่สุด นายกรัฐมนตรี มหาธีร์ โมฮัมหมัดเข้ามาไกล่เกลี่ย

พ.ศ. 2546 – ปัจจุบัน

[แก้]

ใน พ.ศ. 2551 สมาคมได้รับเลือกตั้งน้อยลง และทำให้เกิดความแตกแยกภายในพรรคอีกระหว่างกลุ่มขององ ตีแกต และชิง ชอยเลก ทำให้เกิดวิกฤติผู้นำภายในพรรค จน พ.ศ. 2553 กลุ่มของชิง และผู้สนับสนุนอง ตีแกต ลาออกจากคณะกรรมการบริหารพรรคและเลือกตั้งกันใหม่ ชิงได้เป็นหัวหน้าพรรคและได้พยายามประสานรอยร้าวระหว่างกลุ่ม

อ้างอิง

[แก้]
  • Chin, James. 2013. "It Had to Happen: The Chinese Backlash in the 2008 General Elections" in Awakening: The Abdullah Badawi Years in Malaysia (SIRD 2013) pp 162–179
  • James Chin. Malaysian Chinese Association (MCA) Politics a Year Later: Crisis of Political Legitimacy, The Round Table: The Commonwealth Journal of International Affairs Vol. 99, No. 407, April 2010, pp. 153–162
  • James Chin. The Malaysian Chinese Dilemma: The Never Ending Policy (NEP), Chinese Southern Diaspora Studies, Vol 3, 2009
  • Chin, James (2006). "New Chinese Leadership in Malaysia: The Contest for the MCA and Gerakan Presidency". Contemporary Southeast Asia (CSEA), Vol. 28, No. 1 (April 2006).
  • Chin, James (2000). "A New Balance: The Chinese Vote in the 1999 Malaysian General Election". South East Asia Research 8 (3), 281–299.
  • Chin, James (2001). "Malaysian Chinese Politics in the 21st Century: Fear, Service and Marginalisaton". Asian Journal of Political Science 9 (2), 78–94.
  • Goh, Cheng Teik (1994). Malaysia: Beyond Communal Politics. Pelanduk Publications. ISBN 967-978-475-4.
  • "National Front parties were not formed to fight for Malaysian independence" เก็บถาวร 2007-06-16 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. Malaysia Today. by Pillai, M.G.G. (3 November 2005)

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]
  1. J Denis Derbyshire; Ian Derbyshire (1990). Political Systems Of The World. Allied Publishers. p. 118. ISBN 978-81-7023-307-7.