สนธิสัญญาว่าด้วยการจำกัดและการลดอาวุธทางรัฐนาวี
สนธิสัญญาว่าด้วยการจำกัดและการลดอาวุธทางรัฐนาวี | |
---|---|
คณะผู้แทนจากสหรัฐมาที่งานประชุม มกราคม ค.ศ. 1930. | |
ประเภท | การควบคุมอาวุธ |
บริบท | สงครามโลกครั้งที่ 1 |
วันลงนาม | 22 เมษายน ค.ศ. 1930 |
ที่ลงนาม | ลอนดอน |
วันมีผล | 27 ตุลาคม ค.ศ. 1930 |
วันหมดอายุ | 31 ธันวาคม ค.ศ. 1936 (ยกเว้นส่วนที่ 4) |
ผู้เจรจา | เฮนรี แอล. สติมสัน แรมซีย์ แมกดอนัลด์ André Tardieu ดีโน กรันดี วากัตสึกิ เรจิโร |
ผู้ลงนาม | เฮอร์เบิร์ต ฮูเวอร์ พระเจ้าจอร์จที่ 5 แห่งสหราชอาณาจักร Gaston Doumergue พระเจ้าวิตโตรีโอ เอมานูเอเลที่ 3 แห่งอิตาลี จักรพรรดิโชวะ |
ภาคี | สหรัฐ จักรวรรดิบริติช ฝรั่งเศส อิตาลี ญี่ปุ่น |
ผู้เก็บรักษา | สันนิบาตชาติ |
ภาษา | อังกฤษ |
สนธิสัญญาว่าด้วยการจำกัดและการลดอาวุธทางรัฐนาวี (อังกฤษ: Treaty for the Limitation and Reduction of Naval Armament) หรือ สนธิสัญญารัฐนาวีกรุงลอนดอน (อังกฤษ: London Naval Treaty) เป็นการตกลงระหว่างสหราชอาณาจักร จักรวรรดิญี่ปุ่น ฝรั่งเศส อิตาลี และสหรัฐอเมริกา ซึ่งลงนามเมื่อวันที่ 22 เมษายน ค.ศ. 1930 ซึ่งเป็นการวางกฎเกณฑ์เกี่ยวกับการรบด้วยเรือดำน้ำ และการจำกัดจำนวนการต่อเรือรบของภาคีสนธิสัญญา
การประชุม
[แก้]สนธิสัญญาดังกล่าวเป็นเอกสาร แต่การเจรจาระหว่างคู่เจรจายังคงเริ่มต้นขึ้นมาก่อนหน้าการประชุมทางเรือกรุงลอนดอนอย่างเป็นทางการ ซึ่งคงดำเนินมาตลอดช่วงเวลาของการประชุมอย่างเป็นทางการ และยังได้ดำเนินต่อไปอีกหลายปีหลังจากนั้น
เงื่อนไข
[แก้]เงื่อนไขของสนธิสัญญาดังกล่าวเป็นข้อตกลงเพิ่มเติมจากที่ได้ตกลงกันไว้แล้วในสนธิสัญญารัฐนาวีกรุงวอชิงตัน ข้อตกลงดังกล่าวมีชื่อเรียกอย่างเป็นทางการว่า สนธิสัญญาการจำกัดขนาดและการลดยุทธภัณฑ์ทางทะเล
ที่ประชุมได้รื้อฟื้นความพยายามจากการประชุมทางเรือกรุงเจนีวา แห่งปี ค.ศ. 1927 ซึ่งในการประชุมครั้งนั้นประสบความล้มเหลว เนื่องจากคณะผู้แทนจากประเทศต่าง ๆ เกิดความรู้สึกไม่ดีต่อรัฐบาลอังกฤษและรัฐบาลสหรัฐอเมริกา ซึ่งอาจเริ่มต้นมาจากการสนทนาระหว่างประธานาธิบดีเฮอร์เบิร์ต ฮูเวอร์ กับนายกรัฐมนตรีแรมเซย์ แมคโดนัล ณ ค่ายราพิเดน ในปี ค.ศ. 1929 แต่ปัจจัยอื่น ๆ ที่ส่งผลกระทบต่อความตึงเครียด ซึ่งคณะผู้แทนจากชาติต่าง ๆ ที่เข้าร่วมประชุมแสดงออกมา[1]
ภายในเงื่อนไขของสนธิสัญญาดังกล่าว ระวางขับน้ำของเรือโดยมาตรฐานและขนาดลำกล้องของปืนเรือดำน้ำถูกจำกัดขนาดเป็นครั้งแรก และยังเป็นแบ่งประเภทของเรือลาดตระเวนติดปืนที่มีขนาดลำกล้องของปืนไม่เกิน 6.1 นิ้ว (155 มม.) เรียกว่าเป็น "เรือลาดตระเวนเบา" ส่วนเรือลาดตระเวนที่ติดปืนที่มีขนาดลำกล้องของปืนไปจนถึง 8 นื้ว (203 มม.) เรียกว่าเป็น "เรือลาดตระเวนหนัก" ส่วนการจำกัดระวางเรือโดยรวมนั้นขึ้นอยู่กับการแบ่งลำดับชั้นของประเทศที่ร่วมลงนามทุกประเทศ
มาตราที่ 22 ซึ่งมีความเกี่ยวข้องกับการใช้เรือดำน้ำโดยประกาศเป็นกฎหมายระหว่างประเทศ ว่า เรือพาณิชย์ซึ่ง "ยืนกรานปฏิเสธที่จะหยุด" หรือ "มีการต่อต้านอย่างเห็นได้ชัด" อาจถูกจมได้ โดยที่ไม่จำเป็นต้องลำเลียงลูกเรือและผู้โดยสารไปยังสถานที่ปลอดภัยก่อน[2]
ระยะต่อไปของความพยายามจำกัดขนาดกองทัพเรือเกิดขึ้น ณ ที่ประชุมทางเรือเจนีวาครั้งที่สอง ในปี ค.ศ. 1932 และในปีนั้นเอง อิตาลีได้ปลดประจำการเรือประจัญบาน 2 ลำ เรือลาดตระเวน 12 ลำ เรือพิฆาต 25 ลำ และเรือดำน้ำ 12 ลำ ซึ่งคิดรวมเป็นระวางเรือรวมกันทั้งหมด 130,000 ตัน[3] และการเจรจาระหว่างผู้ร่วมลงนามอื่น ๆ ยังคงดำเนินต่อไปอีกเป็นเวลาหนึ่งปี[4] และได้ข้อสรุปเป็นสนธิสัญญาทางเรือกรุงลอนดอนฉบับที่สอง แห่งปี ค.ศ. 1936
การโกงสนธิสัญญา
[แก้]กองทัพเรืออังกฤษ อเมริกันและญี่ปุ่นใช้อุบายเพื่อโกงสนธิสัญญาดังกล่าว[5] ตัวอย่างเช่น การสร้าง "เรือประจัญบานเบา" ของกองทัพเรือทั้งสามประเทศนั้นเป็นเพียงแต่ในนามเท่านั้น เพราะอานุภาพของเรือประจัญบานเบา (สนธิสัญญากำหนดว่า มีขนาดปืนไม่เกิน 155 มม.) เทียบเท่าได้กับ "เรือประจัญบานหนัก" โดยเรือเหล่านี้จะติดตั้งปืนที่มีขนาดไม่เกินที่สนธิสัญญากำหนด แต่จะติดปืนใหญ่มากขึ้น เป็นต้น
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Steiner, Zara S. (2005). The Lights that Failed: European International History 1919-1933, pp. 587-591.
- ↑ Treaty for the Limitation and Reduction of Naval Armaments, (Part IV, Art. 22, relating to submarine warfare). London, 22 April 1930
- ↑ "Italy Will Retire 130,000 tons of Navy; Two Battleships, All That She Owns, Are Included in the Sweeping Economy Move. Four New Cruisers to go [plus] Eight Old Ones, 25 Destroyers and 12 Submarines Also to Be Taken Out of Service," New York Times. August 18, 1932.
- ↑ "Naval Men See Hull on the London Talks; Admiral Leigh and Commander Wilkinson Will Sail Today to Act as Advisers," New York Times. June 9, 1934.
- ↑ Seldon, Charles A. "Japan's Attitude Halts Naval Talks; Delays in Entering Parleys in London Result in Calling Them Off Until Fall. Davis Will Return Home; Washington Is Disappointed by Failure of Tokyo to Offer Preliminary Program," New York Times. July 17, 1934.
- Steiner, Zara S. (2005). The Lights that Failed: European International History 1919-1933. Oxford: Oxford University Press. 10-ISBN 0-198-22114-2; 13-ISBN 978-0-198-22114-2; OCLC 58853793
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- สนธิสัญญานาวี
- สนธิสัญญาการควบคุมอาวุธ
- สนธิสัญญาเกี่ยวข้องกับจักรวรรดิญี่ปุ่น
- สนธิสัญญาเกี่ยวข้องกับสาธารณรัฐฝรั่งเศสที่ 3
- สนธิสัญญาเกี่ยวข้องกับสหราชอาณาจักร
- สนธิสัญญาเกี่ยวข้องกับสหรัฐ
- สนธิสัญญาเกี่ยวข้องกับราชอาณาจักรอิตาลี
- สนธิสัญญาในคริสต์ศตวรรษที่ 20
- สนธิสัญญาในสมัยระหว่างสงคราม
- สนธิสัญญาด้านอาวุธ
- กองทัพเรือจักรวรรดิญี่ปุ่น
- เรจามารีนา
- ความสัมพันธ์ญี่ปุ่น–สหรัฐ
- ความสัมพันธ์สหราชอาณาจักร–สหรัฐ
- ความสัมพันธ์อิตาลี–สหรัฐ
- ความสัมพันธ์ฝรั่งเศส–สหรัฐ
- ความสัมพันธ์ฝรั่งเศส–อิตาลี
- ความสัมพันธ์อิตาลี–ญี่ปุ่น
- ความสัมพันธ์ฝรั่งเศส–ญี่ปุ่น
- ความสัมพันธ์ญี่ปุ่น–สหราชอาณาจักร
- ความสัมพันธ์ฝรั่งเศส–สหราชอาณาจักร
- พระเจ้าวิตโตรีโอ เอมานูเอเลที่ 3 แห่งอิตาลี
- แรมซีย์ แมกดอนัลด์
- เฮอร์เบิร์ต ฮูเวอร์
- สมเด็จพระเจ้าจอร์จที่ 5 แห่งสหราชอาณาจักร
- จักรพรรดิโชวะ