สตรีในประเทศยูเครน
สถิติทั่วไป | |
---|---|
การตายของมารดา (ต่อ 100,000 คน) | 32 (ค.ศ. 2010) |
สตรีในรัฐสภา | 20.8 เปอร์เซ็นต์ (ค.ศ. 2019)[1] |
สตรีอายุมากกว่า 25 ปีที่มีการศึกษาระดับมัธยมศึกษา | 91.5 เปอร์เซ็นต์ (ค.ศ. 2012) |
สตรีในกำลังแรงงาน | 62 เปอร์เซ็นต์ [ช:74 เปอร์เซ็นต์] (ค.ศ. 2016) |
ดัชนีความไม่เสมอภาคทางเพศ[2] | |
ค่า | 0.234 (ค.ศ. 2019) |
อันดับ | 52 จาก 162 |
ดัชนีช่องว่างระหว่างเพศระดับโลก[3] | |
ค่า | 0.714 (ค.ศ. 2021) |
อันดับ | 74 จาก 156 |
สตรีในประเทศยูเครน มีสิทธิตามรัฐธรรมนูญเท่าเทียมกับผู้ชายในด้านเศรษฐกิจ การเมือง วัฒนธรรม และสังคม เช่นเดียวกับในครอบครัว ขณะที่ผู้หญิงได้รับเงินเดือนที่ต่ำกว่าและมีโอกาสก้าวหน้าในอาชีพอย่างจำกัด
ประชากรประมาณ 45 เปอร์เซ็นต์ของประเทศยูเครน (45 ล้านคน)[4] ส่วนใหญ่ที่ได้รับความรุนแรง ทั้งทางร่างกาย ทางเพศ หรือทางจิตใจ ซึ่งเป็นผู้หญิง[5]
ประวัติคตินิยมสิทธิสตรีในประเทศยูเครน
[แก้]ประวัติศาสตร์ของประเทศยูเครนในช่วงสองศตวรรษที่ผ่านมามีความเกี่ยวข้องอย่างใกล้ชิดกับประวัติศาสตร์ของจักรวรรดิรัสเซียและต่อมาในสหภาพโซเวียต ประเทศยูเครนได้รับเอกราชใน ค.ศ. 1991 และปัจจุบันเป็นรัฐที่มีประชากรมากกว่า 40 ล้านคน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นชาวคริสต์นิกายออร์ทอดอกซ์ และ 70 เปอร์เซ็นต์ของประชากรอยู่ในเมือง[6]
หนึ่งในองค์การคตินิยมสิทธิสตรีที่ใหญ่ที่สุดในทวีปยุโรปก่อตั้งขึ้นเมื่อช่วงคริสต์ทศวรรษ 1920 ในยูเครนตะวันตกสมัยใหม่ หรือเดิมคือกาลิเชีย[7] องค์การนี้เรียกว่าสหภาพสตรียูเครน และนำโดยมีแลนา รุดนึตสกา[8] ซึ่งในระหว่างคตินิยมสิทธิสตรียุคโซเวียตถูกจัดว่าเป็นอุดมการณ์ของชนชั้นกระฎุมพี[9] ดังนั้น จึงเป็นการต่อต้านการปฏิวัติและต่อต้านสหภาพโซเวียต[10] ครั้นหลังจากได้รับเอกราชของยูเครนใน ค.ศ. 1991 ขบวนการคตินิยมสิทธิสตรีก็เริ่มหยั่งราก[9]
ส่วนใน ค.ศ. 2010 ได้มีกลุ่มสิทธิสตรีหลายกลุ่มที่ทำงานอยู่ในประเทศยูเครน[11][12][13] รวมทั้งแฟมีนิสตึชนาออแฟนซือวา[14] และสหภาพสตรียูเครน[15] ส่วนแฟแมน ซึ่งเป็นกลุ่มสิทธิสตรีที่มีการเคลื่อนไหวมากที่สุดในเคียฟ ถูกปิดอย่างเป็นทางการใน ค.ศ. 2013 โดยองค์การดังกล่าวได้ออกจากประเทศยูเครนเพราะผู้นำกลัว "เกี่ยวกับชีวิตและเสรีภาพของพวกเธอ"[16][17][18]
ในช่วงสงครามในดอนบัสซึ่งเริ่มต้นใน ค.ศ. 2014 ได้มีการพัฒนา "ขบวนการอาสาสมัครขนาดใหญ่ของผู้หญิงที่จัดกิจกรรมเพื่อมนุษยธรรมและการเสวนาในชุมชน" ตามคำกล่าวของออกซานา ปอตาปอวา นักสตรีนิยมและนักวิจัยการเสริมสร้างสันติภาพรวมถึงนักเคลื่อนไหวที่สร้างละครเพื่อการเสวนา ซึ่งเป็นองค์การนอกภาครัฐ เพื่อสนับสนุนการเคลื่อนไหวอาสาสมัครสตรี[19]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "Women in Parliaments: World Classification". ipu.org. 25 July 2019.
- ↑ "Gender Inequality Index" (PDF). HUMAN DEVELOPMENT REPORTS. สืบค้นเมื่อ 26 October 2021.
- ↑ "Global Gender Gap Report 2021" (PDF). World Economic Forum. สืบค้นเมื่อ 21 December 2021.
- ↑ "Ukraine country profile - Overview". BBC News. สืบค้นเมื่อ 23 March 2015.
- ↑ Kyivans join global rally to end violence against women, Kyiv Post (14 February 2013)
- ↑ "Europe :: Ukraine — The World Factbook - Central Intelligence Agency". www.cia.gov. สืบค้นเมื่อ 2020-12-15.
- ↑ "Галицькі феміністки 1930-х: нацистське "Кухня-Церква-Діти" не для нас". Історична правда. สืบค้นเมื่อ 23 March 2015.
- ↑ "Львівські феміністки. Мілена Рудницька". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-12-09.
- ↑ 9.0 9.1 A Biographical Dictionary of Women's Movements and Feminisms: Central, Eastern and South Eastern Europe, 19th and 20th Centuries by Francisca De Haan, Krasimira Daskalova and Anna Loutfi, Central European University Press, 2006, ISBN 978-963-7326-39-4 (page 411 etc.)
- ↑ Topless protesters gain fame in Ukraine[ลิงก์เสีย], The Washington Post (November 19, 2010)
- ↑ Women accuse Ukraine's Azarov of discrimination, Kyiv Post (1 April 2010)
- ↑ New Feminist Offensive aims to lift women, Kyiv Post (22 March 2012)
- ↑ Feminine Femen targets 'sexpats', Kyiv Post (22 May 2009)
- ↑ (ในภาษายูเครน) Аборти в Україні: право на вибір чи право на життя? Abortions in Ukraine: the right to choose or the right to life?, BBC Ukrainian (25 May 2012)
- ↑ Historical Dictionary of Feminism (Historical Dictionaries of Religions, Philosophies and Movements) by Janet K. Boles, The Scarecrow Press, 2004, ISBN 978-0-8108-4946-4 (page 324)
- ↑ (ในภาษายูเครน) У колишньому офісі Femen відкрили книжкову крамницю In the former office Femen opened a bookstore, Ukrayinska Pravda (23 October 2013)
- ↑ (ในภาษายูเครน) Активістки Femen втекли з України Femen activists fled from Ukraine, Ukrayinska Pravda (31 August 2013)
- ↑ (ในภาษายูเครน) Femen закриє офіс в Україні, але діяльність не припинить Femen closes office in Ukraine, however, the activities do not stop, Ukrayinska Pravda (27 August 2013)
- ↑ "OSCE Networking Platform for Women Leaders including Peacebuilders and Mediators". Organization for Security and Cooperation in Europe. 2021-12-06. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-12-14. สืบค้นเมื่อ 2022-02-02.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ สตรีในประเทศยูเครน