สตรีในประเทศยูเครน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สตรีในประเทศยูเครน
สตรีชนบทชาวยูเครน[ต้องการอ้างอิง] ในคัชต์ชอวานีแย (ยูเครน: คัชชอวาเนีย) โปแลนด์ ในคริสต์ทศวรรษ 1940
สถิติทั่วไป
การตายของมารดา (ต่อ 100,000 คน)32 (ค.ศ. 2010)
สตรีในรัฐสภา20.8 เปอร์เซ็นต์ (ค.ศ. 2019)[1]
สตรีอายุมากกว่า 25 ปีที่มีการศึกษาระดับมัธยมศึกษา91.5 เปอร์เซ็นต์ (ค.ศ. 2012)
สตรีในกำลังแรงงาน62 เปอร์เซ็นต์ [ช:74 เปอร์เซ็นต์] (ค.ศ. 2016)
ดัชนีความไม่เสมอภาคทางเพศ[2]
ค่า0.234 (ค.ศ. 2019)
อันดับ52 จาก 162
ดัชนีช่องว่างระหว่างเพศระดับโลก[3]
ค่า0.714 (ค.ศ. 2021)
อันดับ74 จาก 156

สตรีในประเทศยูเครน มีสิทธิตามรัฐธรรมนูญเท่าเทียมกับผู้ชายในด้านเศรษฐกิจ การเมือง วัฒนธรรม และสังคม เช่นเดียวกับในครอบครัว ขณะที่ผู้หญิงได้รับเงินเดือนที่ต่ำกว่าและมีโอกาสก้าวหน้าในอาชีพอย่างจำกัด

ประชากรประมาณ 45 เปอร์เซ็นต์ของประเทศยูเครน (45 ล้านคน)[4] ส่วนใหญ่ที่ได้รับความรุนแรง ทั้งทางร่างกาย ทางเพศ หรือทางจิตใจ ซึ่งเป็นผู้หญิง[5]

ประวัติคตินิยมสิทธิสตรีในประเทศยูเครน[แก้]

ประวัติศาสตร์ของประเทศยูเครนในช่วงสองศตวรรษที่ผ่านมามีความเกี่ยวข้องอย่างใกล้ชิดกับประวัติศาสตร์ของจักรวรรดิรัสเซียและต่อมาในสหภาพโซเวียต ประเทศยูเครนได้รับเอกราชใน ค.ศ. 1991 และปัจจุบันเป็นรัฐที่มีประชากรมากกว่า 40 ล้านคน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นชาวคริสต์นิกายออร์ทอดอกซ์ และ 70 เปอร์เซ็นต์ของประชากรอยู่ในเมือง[6]

หนึ่งในองค์การคตินิยมสิทธิสตรีที่ใหญ่ที่สุดในทวีปยุโรปก่อตั้งขึ้นเมื่อช่วงคริสต์ทศวรรษ 1920 ในยูเครนตะวันตกสมัยใหม่ หรือเดิมคือกาลิเชีย[7] องค์การนี้เรียกว่าสหภาพสตรียูเครน และนำโดยมีแลนา รุดนึตสกา[8] ซึ่งในระหว่างคตินิยมสิทธิสตรียุคโซเวียตถูกจัดว่าเป็นอุดมการณ์ของชนชั้นกระฎุมพี[9] ดังนั้น จึงเป็นการต่อต้านการปฏิวัติและต่อต้านสหภาพโซเวียต[10] ครั้นหลังจากได้รับเอกราชของยูเครนใน ค.ศ. 1991 ขบวนการคตินิยมสิทธิสตรีก็เริ่มหยั่งราก[9]

ส่วนใน ค.ศ. 2010 ได้มีกลุ่มสิทธิสตรีหลายกลุ่มที่ทำงานอยู่ในประเทศยูเครน[11][12][13] รวมทั้งแฟมีนิสตึชนาออแฟนซือวา[14] และสหภาพสตรียูเครน[15] ส่วนแฟแมน ซึ่งเป็นกลุ่มสิทธิสตรีที่มีการเคลื่อนไหวมากที่สุดในเคียฟ ถูกปิดอย่างเป็นทางการใน ค.ศ. 2013 โดยองค์การดังกล่าวได้ออกจากประเทศยูเครนเพราะผู้นำกลัว "เกี่ยวกับชีวิตและเสรีภาพของพวกเธอ"[16][17][18]

ในช่วงสงครามในดอนบัสซึ่งเริ่มต้นใน ค.ศ. 2014 ได้มีการพัฒนา "ขบวนการอาสาสมัครขนาดใหญ่ของผู้หญิงที่จัดกิจกรรมเพื่อมนุษยธรรมและการเสวนาในชุมชน" ตามคำกล่าวของออกซานา ปอตาปอวา นักสตรีนิยมและนักวิจัยการเสริมสร้างสันติภาพรวมถึงนักเคลื่อนไหวที่สร้างละครเพื่อการเสวนา ซึ่งเป็นองค์การนอกภาครัฐ เพื่อสนับสนุนการเคลื่อนไหวอาสาสมัครสตรี[19]

อ้างอิง[แก้]

  1. "Women in Parliaments: World Classification". ipu.org. 25 July 2019.
  2. "Gender Inequality Index" (PDF). HUMAN DEVELOPMENT REPORTS. สืบค้นเมื่อ 26 October 2021.
  3. "Global Gender Gap Report 2021" (PDF). World Economic Forum. สืบค้นเมื่อ 21 December 2021.
  4. "Ukraine country profile - Overview". BBC News. สืบค้นเมื่อ 23 March 2015.
  5. Kyivans join global rally to end violence against women, Kyiv Post (14 February 2013)
  6. "Europe :: Ukraine — The World Factbook - Central Intelligence Agency". www.cia.gov. สืบค้นเมื่อ 2020-12-15.
  7. "Галицькі феміністки 1930-х: нацистське "Кухня-Церква-Діти" не для нас". Історична правда. สืบค้นเมื่อ 23 March 2015.
  8. "Львівські феміністки. Мілена Рудницька". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-12-09.
  9. 9.0 9.1 A Biographical Dictionary of Women's Movements and Feminisms: Central, Eastern and South Eastern Europe, 19th and 20th Centuries by Francisca De Haan, Krasimira Daskalova and Anna Loutfi, Central European University Press, 2006, ISBN 978-963-7326-39-4 (page 411 etc.)
  10. Topless protesters gain fame in Ukraine[ลิงก์เสีย], The Washington Post (November 19, 2010)
  11. Women accuse Ukraine's Azarov of discrimination, Kyiv Post (1 April 2010)
  12. New Feminist Offensive aims to lift women, Kyiv Post (22 March 2012)
  13. Feminine Femen targets 'sexpats', Kyiv Post (22 May 2009)
  14. (ในภาษายูเครน) Аборти в Україні: право на вибір чи право на життя? Abortions in Ukraine: the right to choose or the right to life?, BBC Ukrainian (25 May 2012)
  15. Historical Dictionary of Feminism (Historical Dictionaries of Religions, Philosophies and Movements) by Janet K. Boles, The Scarecrow Press, 2004, ISBN 978-0-8108-4946-4 (page 324)
  16. (ในภาษายูเครน) У колишньому офісі Femen відкрили книжкову крамницю In the former office Femen opened a bookstore, Ukrayinska Pravda (23 October 2013)
  17. (ในภาษายูเครน) Активістки Femen втекли з України Femen activists fled from Ukraine, Ukrayinska Pravda (31 August 2013)
  18. (ในภาษายูเครน) Femen закриє офіс в Україні, але діяльність не припинить Femen closes office in Ukraine, however, the activities do not stop, Ukrayinska Pravda (27 August 2013)
  19. "OSCE Networking Platform for Women Leaders including Peacebuilders and Mediators". Organization for Security and Cooperation in Europe. 2021-12-06. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-12-14. สืบค้นเมื่อ 2022-02-02.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]