ศิวสมารัก
ภาพเรนเดอร์ของโครงการ | |
พิกัด | 18°55′39″N 72°47′28″E / 18.9274°N 72.7910°E |
---|---|
ที่ตั้ง | ทะเลอาหรับนอกชายฝั่งมุมไบ ประเทศอินเดีย |
ผู้ออกแบบ | ราม วี. สุตาร์ |
ประเภท | รูปปั้น |
วัสดุ | โครงเหล็กกล้า, คอนกรีตเสริมเหล็ก |
ความสูง | 212 เมตร (696 ฟุต) ความสูงรวมฐาน[1][2] |
เริ่มก่อสร้าง | 24 ธันวาคม 2016 |
การเปิด | 2021 (ตามแผน) |
อุทิศแด่ | ฉัตรปตี ศิวาจี มหาราช |
เว็บไซต์ | เว็บไซต์ทางการ |
ฉัตรปตี ศิวาจี มหาราช สมารัก หรือเรียกโดยสั้นว่า ศิวสมารัก (มราฐี: शिव स्मारक; Shiv Smarak) เป็นโครงการก่อสร้างอนุสรณ์สถานระลึกถึงฉัตรปตี ศิวาจี มหาราช กษัตริย์นักรบและผู้ก่อตั้งจักรวรรดิมราฐา โดยจะก่อสร้างในทะเลอาหรับนอกชายฝั่งมุมไบ รัฐมหาราษฏระ ประเทศอินเดีย[3] โดยรูปปั้นจะหันหน้าเข้ายังชายฝั่งคีรคาวมจาวปตี ห่างไปราว 1.5 km บนเกาะที่ถมขึ้นจากหิน[4] รูปปั้นจะมีความสูง 210 m (690 ft) รวมจากฐานถึงปลายยอดของดาบ โดยฐานสูง 88.8 m (291 ft)[5][6][7][8] แรกเริ่มวางแผนก่อสร้างรูปปั้นอยู่ที่ความสูง 192 เมตร และต่อมาเพิ่มเป็น 212 เนื่องจากรัฐบาลต้องการเพิ่มความสูงไว้แข่ขันเป็นรูปปั้นที่สูงที่สุดในโลกกับพระพุทธรูปจงหยวนต้าฝูในประเทศจีน[9] พื้นที่ของอนุสรณ์สถานตามแผนอยู่ที่ 130,000 ตารางเมตร (1,400,000 ตารางฟุต) และคาดการณ์ว่าจะเสร็จในปี 2021 ด้วยมูลค่าก่อสร้างประมาณอยู่ที่ ₹3,826 โคร (16.3 หมื่นล้านบาท)
แผนโดยรวมของโครงการยังประกอบด้วยอาคารศูนย์ข้อมูลนักท่องเที่ยว, สวนอนุสรณ์, สวนอาหาร และศูนย์ประชุมที่สามารถจุปริมาณได้ 10,000 คน[10] นอกจากนี้ยังมีพิพิธภัณฑ์, หอศิลป์, ศูนย์จัดแสดงนิทรรศการ, แอมฟิเทียรเตอร์, ลานจอดเฮลิคอปเตอร์, แบบจำลองป้อมของศิวาจี ไปจนถึงโรงพยาบาล
สถานะ
[แก้]น้ำจากแม่น้ำหลายสายในรัฐและดินจากป้อมต่าง ๆ ของจักรพรรดิศิวาจีถูกรวบรวมโดยอาสาสมัครเพื่อนำมาประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์ในวันที่ 24 ธันวาคม 2016 โดยนายกรัฐมนตรี นเรนทระ โมที[11][12]
และมีบริษัท Egis in India เป็นที่ปรึกษาการบริหารโครงการ[13] บริษัท Egis in India เป็นบริษัทลูกสาขาอินเดียของเครือ Egis group จากฝรั่งเศส[14]
โครงการได้รับการต่อต้านและคัดค้านโดยชุมชนชาวประมงชาวโกลีซึ่งเชื่อว่าโครงการก่อสร้างจะมีผลกระทบและทำลายวิถีชีวิตของตน[15] ในขณะที่ประธานใหญ่ของมหาราษฏระ นวนิรมาณ เสนา ราช ตัจเกราย แย้งว่างบประมาณนี้ควรนำไปใช้พัฒนาและทำนุบำรุงป้อมปราการต่าง ๆ ทั่วรัฐมหาราษฏระที่จักรพรรดิศิวาจีสร้างไว้จะเป็นการเหมาะสมกว่า[16]
แผนเริ่มแรกตั้งใจจะใช้หินในการถมเกาะจากหินที่ได้จากการเจาะอุโมงค์รถไฟใต้ดินมุมไบสายสาม อย่างไรก็ตาม โครงการถูกเลื่อนออกไปนานและหินเหล่านี้ได้ถูกนำไปใช้งานอย่างอื่นแทนแล้ว[17]
ดูเพิ่ม
[แก้]- โครงการก่อสร้างรูปปั้นขนาดใหญ่ที่อื่น ๆ ในประเทศอินเดีย
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "Cost cutting: For Chattrapati Shivaji Maharaj memorial, Maharashtra makes sculpture shorter, sword taller". The Indian Express (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2018-07-16. สืบค้นเมื่อ 2018-10-24.[ลิงก์เสีย]
- ↑ "Fadnavis govt retains Chattrapati Shivaji Maharaj's statue as world's tallest, increases height after China's Buddha statue competes". India Today (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 6 September 2018.[ลิงก์เสีย]
- ↑ "Shivaji Memorial located in the Arabian Sea: Statue to tower on green foundation". The Indian Express. 2016-12-24. สืบค้นเมื่อ 2017-01-11.[ลิงก์เสีย]
- ↑ "Chhatrapati Shivaji Maharaj statue: India is about to spend over $50000 million on a statue in the middle of the Arabian sea". Qz.com. 2016-12-23. สืบค้นเมื่อ 2017-01-11.
- ↑ Safi, Michael (2018-09-14). "India to break record for world's largest statue ... twice". The Guardian (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). ISSN 0261-3077. สืบค้นเมื่อ 2020-06-02.
- ↑ "Cost cutting: For Shivaji memorial, Maharashtra makes sculpture shorter, sword taller". The Indian Express. 16 July 2018. สืบค้นเมื่อ 24 October 2018.
- ↑ India, Press Trust of (7 March 2018). "Maha govt reduced Shivaji maharaj statue height to 126 metres: Chavan". Business Standard India. สืบค้นเมื่อ 6 September 2018.
- ↑ Safi, Michael (14 September 2018). "India to break record for world's largest statue … twice". the Guardian (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 14 September 2018.
- ↑ "ShivSmarak: Maharashtra government wants to increase the height of the memorial". Mumbai Mirror. Press Trust of India. 25 November 2017. สืบค้นเมื่อ 4 November 2018.
- ↑ "Shiv Smarak in Mumbai: PM Narendra Modi to perform bhoomi pooja for Shivaji maharaj statue tomorrow". The Economic Times. 2016-12-23. สืบค้นเมื่อ 2017-01-11.
- ↑ Dr Uday S Kulkarni (2016-12-24). "A memorial in the sea | Latest News & Updates at Daily News & Analysis". Dnaindia.com. สืบค้นเมื่อ 2017-01-11.
- ↑ "Narendra Modi performs 'bhoomipujan' of Chhatrapati Shivaji Maharaj statue". M.economictimes.com. 2016-12-24. สืบค้นเมื่อ 2017-01-11.[ลิงก์เสีย]
- ↑ "EGIS India to help plan Shivaji maharaj memorial". Hindustan Times. 2016-02-25. สืบค้นเมื่อ 2016-12-24.
- ↑ "Our Management". Egis group. 2015-04-16. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-12-24. สืบค้นเมื่อ 2016-12-24.
- ↑ Nachiket Tekawade (2016-12-25). "Ahead of PM's visit, fisherfolk protest". thehindu.com. สืบค้นเมื่อ 2017-01-11.
- ↑ "Ahead of PM's visit, fisherfolk detained". The Hindu. 25 December 2016. สืบค้นเมื่อ 15 November 2018.
- ↑ Chacko, Benita (1 April 2017). "Shivaji maharaj memorial: Mumbai Metro 3 rubble unlikely to be used". The Indian Express. สืบค้นเมื่อ 17 September 2018.