รูปปั้นแห่งเอกภาพ

พิกัด: 21°50′17″N 73°43′09″E / 21.8380°N 73.7191°E / 21.8380; 73.7191
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก Statue of Unity)
รูปปั้นแห่งเอกภาพ
รูปปั้นแห่งเอกภาพในวันที่ 31 ตุลาคม ค.ศ. 2018
แผนที่
พิกัด21°50′17″N 73°43′09″E / 21.8380°N 73.7191°E / 21.8380; 73.7191
ที่ตั้งนิคมเกวฑิยา เขตนรรมทา รัฐคุชราต อินเดีย
ผู้ออกแบบราม วันชี สุตาร
ประเภทรูปปั้น
วัสดุโครงคร่าวเหล็ก, คอนกรีตเสริมแรง, วัสดุหุ้มทองสัมฤทธิ์[1]
ความสูง
  • รูปปั้น: 182 เมตร (597 ฟุต)
  • รวมฐาน: 240 เมตร (790 ฟุต)[1]
เริ่มก่อสร้าง31 ตุลาคม ค.ศ. 2014 (2014-10-31)
สร้างเสร็จตุลาคม 2018
การเปิด31 ตุลาคม 2018; 5 ปีก่อน (2018-10-31)
อุทิศแด่สรทารวัลลภ ภาอี ปเฏล
เว็บไซต์statueofunity.in

รูปปั้นแห่งเอกภาพ (อังกฤษ: Statue of Unity; ฮินดี: स्टैच्यू ऑफ यूनिटी) เป็นรูปปั้นขนาดใหญ่ของวัลลภ ภาอี ปเฏล (ค.ศ. 1875–1950) รัฐบุรุษและนักเรียกร้องเอกราชอินเดีย และเป็นรูปปั้นที่สูงที่สุดในโลก โดยมีความสูง 182 เมตร (597 ฟุต) หรือสองเท่าของอนุสาวรีย์เทพีเสรีภาพ[2] ตั้งอยู่ในรัฐคุชราต ประเทศอินเดีย บนเกาะกลางแม่น้ำเกาะหนึ่ง หันหน้าสู่เขื่อนสรทารสโรวรซึ่งกั้นแม่น้ำนรรมทาในนิคมเกวฑิยา ห่างจากนครวโฑทราไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ 100 กิโลเมตร (62 ไมล์)[3]

โครงการรูปปั้นนี้ได้รับการประกาศเป็นครั้งแรกใน ค.ศ. 2010 ส่วนการก่อสร้างเริ่มขึ้นในเดือนตุลาคม ค.ศ. 2014 โดยบริษัทลาร์เซนแอนด์ทูโบรซึ่งทำสัญญาก่อสร้างมูลค่าราว 29,890 ล้านรูปี (420 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) รูปปั้นได้รับการออกแบบโดยราม วันชี สุตาร ประติมากรชาวอินเดีย และทำพิธีเปิดโดยนเรนทระ โมที นายกรัฐมนตรีอินเดีย เมื่อวันที่ 31 ตุลาคม ค.ศ. 2018 ซึ่งเป็นวันครบรอบวันเกิด 143 ปีของปเฏล[4]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 "Gujarat: Sardar Patel statue to be twice the size of Statue of Liberty". CNN-IBN. 30 October 2013. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 31 October 2013. สืบค้นเมื่อ 30 October 2013.
  2. Ashwani Sharma (1 November 2014). "14 Things You Did Not Know about Sardar Patel, the Man Who United India". Topyaps. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 January 2015. สืบค้นเมื่อ 16 May 2014.
  3. "Gujarat: Statue of Unity expected to attract 10,000 tourists daily". The Times of India. 31 October 2018. สืบค้นเมื่อ 10 November 2018.
  4. "PM Unveils Sardar Patel's 2,900-Crore Statue of Unity Today: 10 Facts". MSN. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 31 October 2018. สืบค้นเมื่อ 31 October 2018.

ข้อมูลเพิ่มเติม[แก้]