ข้ามไปเนื้อหา

วัดสามโคก

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
วัดสามโคก
แผนที่
ชื่อสามัญวัดสามโคก
ที่ตั้งเลขที่ 100 หมู่ที่ 2 ทางหลวงท้องถิ่น ปท.ถ 1-0015 ตำบลสามโคก อำเภอสามโคก จังหวัดปทุมธานี 12160
ประเภทวัดราษฎร์
นิกายมหานิกาย
พระพุทธรูปสำคัญหลวงพ่อโต
icon สถานีย่อยพระพุทธศาสนา

วัดสามโคก เป็นวัดราษฎร์สังกัดคณะสงฆ์ฝ่ายมหานิกาย ตั้งอยู่ในหมู่ที่ 2 บ้านธาตุ ตำบลสามโคก อำเภอสามโคก จังหวัดปทุมธานี

ประวัติ

[แก้]

วัดสร้างขึ้นเมื่อวันที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2100 โดยชายชราชาวมอญสองพี่น้องที่ได้อพยพลงมาจากเมืองหงสาวดี มีหลักฐานปรากฏเดิมมีชื่อว่า วัดเก๊าะปิ้น เป็นคำรามัญ เก๊าะ แปลว่า คอ ปิ้น แปลว่า ใหญ่ รวมแล้วแปลว่า "วัดคอใหญ่" ผู้พี่สร้างวัดเก๊าะปิ้น คนน้องได้สร้างวัดป่าฝ้าย ปัจจุบันได้รวมเป็นวัดเดียวกันชื่อว่า วัดสามโคก[1]

ในช่วงเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 1 วัดนี้ได้จัดงานฉลองอุโบสถ วัดได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2117 ทางวัดได้เปิดการสอนพระปริยัติธรรมเริ่มมาตั้งแต่ พ.ศ. 2500

อาคารเสนาสนะ

[แก้]

วัดมีอุโบสถ ศาลาการเปรียญ หอสวดมนต์ กุฏิสงฆ์ ศาลาบำเพ็ญกุศล ฌาปนสถาน สิ่งพิเศษคือมีหมู่กุฏิเป็นอาคารเรือนไทย ฝีมือช่าง น่าจะเป็นเรือนหลวงตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาที่ย้ายนำมาถวายวัด แต่ปัจจุบันมีสภาพทรุดโทรม[2] ปูชนียวัตถุที่สำคัญ คือ พระประธานในอุโบสถ นามว่า หลวงพ่อโต[3]

รายนามเจ้าอาวาส

[แก้]
  • พระอธิการผิว สงฺกจฺโจ (พ.ศ. 2461–2522)
  • พระผิน ฐิติโก (พ.ศ. 2522–2537)
  • พระมหาวันชัย สนฺตจิตฺโต (พ.ศ. 2538–2540)
  • พระอธิการสมพงษ์ กตปุญฺโญ (พ.ศ. 2510–ปัจจุบัน)

อ้างอิง

[แก้]
  1. "วัดสามโคก". องค์การบริหารส่วนจังหวัดปทุมธานี.
  2. วสุ โปษยะนันทน์. "การจัดการภูมิทัศน์และสถาปัตยกรรมของวัดไทยให้เกิดความเจริญศรัทธา : จากอดีตสู่ปัจจุบัน" (PDF). p. 83.
  3. "วัดสามโคก ต.สามโคก อ.สามโคก ปทุมธานี". ทัวร์วัดไทย. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-06-27. สืบค้นเมื่อ 2020-09-01.