ข้ามไปเนื้อหา

วัดตะโมะชีนบีนชเวกูจี้

พิกัด: 21°38′32.7″N 96°03′17.06″E / 21.642417°N 96.0547389°E / 21.642417; 96.0547389
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
วัดตะโมะชีนบีนชเวกูจี้
တမုတ်ရှင်ပင်ရွှေဂူကြီးဘုရား
ศาสนา
ศาสนาพุทธ
นิกายเถรวาท
ที่ตั้ง
ที่ตั้งเจาะแซ ภาคมัณฑะเลย์ ประเทศพม่า
วัดตะโมะชีนบีนชเวกูจี้ตั้งอยู่ในประเทศพม่า
วัดตะโมะชีนบีนชเวกูจี้
ที่ตั้งในประเทศพม่า
พิกัดภูมิศาสตร์21°38′32.7″N 96°03′17.06″E / 21.642417°N 96.0547389°E / 21.642417; 96.0547389
สถาปัตยกรรม
ผู้ก่อตั้งพระเจ้าอโนรธามังช่อ
ลงเสาเข็มคริสต์ศตวรรษที่ 11
เสร็จสมบูรณ์คริสต์ศตวรรษที่ 14

วัดตะโมะชีนบีนชเวกูจี้ หรือ เจดีย์ตะโมะชีนบีนชเวกูจี้ (พม่า: တမုတ်ရှင်ပင်ရွှေဂူကြီးဘုရား) เป็นวัดพุทธในเมืองเจาะแซ ภาคมัณฑะเลย์ ประเทศพม่า[1] เดิมสร้างขึ้นโดยพระเจ้าอโนรธามังช่อ และชั้นสองได้รับการต่อเติมโดยพระเจ้านรปติสี่ตู่ ทั้งสองชั้นถูกหุ้มอยู่ในวิหารขนาดใหญ่ที่สร้างโดย พระเจ้าอุซะนาแห่งอาณาจักรปี้นยะ เป็นหนึ่งในเก้าวัดนอกเมืองโบราณที่บ่งบอกถึงขอบเขตอาณาจักรพุกาม[2][3]

ที่ตั้ง

[แก้]

วัดตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือจากเจาะแซ บนถนนที่มุ่งสู่ตะด้าอู้ ใกล้กับหมู่บ้านจองปานโกนและญองบีนเซาะ[4]

ประวัติศาสตร์

[แก้]

วัดชั้นแรกสร้างขึ้นโดยพระเจ้าอโนรธามังช่อในคริสต์ศตวรรษที่ 11 และชั้นที่สองโดยพระเจ้านรปติสี่ตู่ พระราชนัดดาของพระองค์ ในคริสต์ศตวรรษที่ 12 มีการตกแต่งเรื่องราวชาดกบนระเบียงชั้นบน และชั้นท้ายสุดโดยพระเจ้าอุซะนาแห่งอาณาจักรปี้นยะ ในคริสต์ศตวรรษที่ 14 เพื่อปกป้องภัยจากธรรมชาติมากขึ้น เมื่อเวลาผ่านไปวัดแห่งนี้ก็ถูกซ่อนอยู่ใต้เนินดิน ซึ่งในปี ค.ศ. 1915 ก็มีการสร้างเจดีย์ใหม่ประดับอยู่บนเนินดิน ค.ศ. 1993 มีการพบร่องรอยของโครงสร้างอิฐโบราณบางส่วนที่เชิงเนิน แต่ได้รับอนุญาตให้ขุดค้นในปี ค.ศ. 2008 เนื่องจากกังวลว่าการทำเช่นนั้นจะทำให้วัดที่ห่อหุ้มเสียหาย[5][6][7][8]

ค.ศ. 2015 กระทรวงกิจการศาสนาและวัฒนธรรม กำหนดให้วัดตะโมะชีนบีนชเวกูจี้ เป็นมรดกโบราณสถานของประเทศพม่า[9][10][11][12]

คลังภาพ

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "ကျောက်ဆည် တမုတ်ရွှေဂူကြီးဘုရားဗုဒ္ဓဝင်ပြတိုက် ရှေးဟောင်းနယ်မြေပြင်ပတွင် ဆောက်လုပ်မည်". The Voice Weekly (ภาษาพม่า). 25 December 2019. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 21 February 2021. สืบค้นเมื่อ 4 November 2020.
  2. "Tamote Shinpin Shwegugyi (Ta Mok Shwe-gu-gyi) Temple". Shwe Myanmar Info (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-09-21. สืบค้นเมื่อ 2020-11-04.
  3. "ပုဂံခေတ်လက်ရာ တမုတ်ရွှေဂူကြီးဘုရား ထိန်းသိမ်းရေး ထိုင်း ကူညီမည်". The Irrawaddy (ภาษาพม่า). 14 March 2013. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 February 2021. สืบค้นเมื่อ 4 November 2020.
  4. "ဗိသုကာလက္ရာထူးေတြနဲ႔ တမုတ္ရွင္ပင္ေရႊဂူဘုရား". The Standard Time Daily (ภาษาพม่า). 27 February 2019. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 28 August 2019. สืบค้นเมื่อ 4 November 2020.
  5. "Amazing discovery in Kyaukse region". The Myanmar Times. 3 October 2011. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 10 November 2018. สืบค้นเมื่อ 4 November 2020.
  6. "တမုတ်ရွှေဂူကြီး အမိုးခုံးကို ဒီဇင်ဘာလတွင် စတင် ဆောက်လုပ်မည်". The Myanmar Times (ภาษาพม่า). 8 November 2012. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-02-21. สืบค้นเมื่อ 2020-11-04.
  7. ""The Encased Buddhist Monuments and Buddha Statues found in Myanmar"" (PDF). Asia Pacific Sociological Association. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-02-05. สืบค้นเมื่อ 2020-11-04.
  8. Fame, Asian (8 May 2017). "ေခတ္သုံးေခတ္႐ုပ္ပြားဆင္းတုေတာ္မ်ားတည္ရွိရာ တမုတ္ရွင္ပင္ေရႊဂူႀကီးဘုရား". Popular News Journal (ภาษาพม่า). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 28 February 2021. สืบค้นเมื่อ 25 March 2023.
  9. "တမုတ်ရှင်ပင်ရွှေဂူကြီး စေတီပရိဝုဏ်ကို ရှေးဟောင်းဇုန်အဖြစ် သတ်မှတ်". 7Day News (ภาษาพม่า). 15 December 2015.[ลิงก์เสีย]
  10. "တမုတ်ရွှေဂူကြီးဘုရားကို ရှေးဟောင်း အမွေအနှစ်စာရင်း၌ ထည့်သွင်းမည်". The Irrawaddy (ภาษาพม่า). 7 January 2015. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 February 2022. สืบค้นเมื่อ 4 November 2020.
  11. "တမုတ်ရှင်ပင်ရွှေဂူဘုရားကို ရှေးဟောင်းအမွေအနှစ်အဖြစ် သတ်မှတ်ရန် တင်ပြထား". The Myanmar Times (ภาษาพม่า). 2 September 2015. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-02-26. สืบค้นเมื่อ 2020-11-04.
  12. "Bagan-era pagoda in line for listing". The Myanmar Times. 1 September 2015. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 7 January 2021. สืบค้นเมื่อ 4 November 2020.