วยาคติ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

วยาคติ หรือ อาวุโสนิยม (อังกฤษ: ageism, agism) คือการเหมารวมหรือการเลือกปฏิบัติต่อบุคคลหรือกลุ่มบุคคลด้วยเหตุแห่งอายุหรือวัยซึ่งอาจเกิดขึ้นอย่างลำลองหรืออย่างเป็นระบบ[1][2] ศัพท์ ageism ได้รับการบัญญัติขึ้นในปี พ.ศ. 2512 โดยรอเบิร์ต นีล บัตเลอร์ แพทย์และนักพฤฒาวิทยาชาวอเมริกัน เพื่ออธิบายการเลือกปฏิบัติต่อผู้อาวุโสในทำนองเดียวกันกับลัทธิกีดกันทางเพศและอคติทางเชื้อชาติ[3] บัตเลอร์นิยามว่า "วยาคติ" เป็นการรวมกันขององค์ประกอบที่เชื่อมโยงกันสามองค์ประกอบ ได้แก่ ทัศนคติเดียดฉันท์ผู้สูงอายุ วัยสูงอายุ และกระบวนการเปลี่ยนตามวัย, การเลือกปฏิบัติต่อผู้สูงอายุ, แนวปฏิบัติและนโยบายเชิงสถาบันที่ทำให้การเหมารวมผู้สูงอายุดำเนินไปอย่างไม่จบสิ้น[4]

ศัพท์นี้ยังใช้กล่าวถึงความเดียดฉันท์และการเลือกปฏิบัติต่อวัยรุ่นและเด็ก เช่น การปฏิเสธสิทธิ์บางประการที่มักสงวนไว้สำหรับผู้ใหญ่ (อย่างสิทธิ์ในการออกเสียงลงคะแนน สิทธิ์ในการดำรงตำแหน่งทางการเมือง สิทธิ์ในการซื้อและการดื่มแอลกอฮอล์ สิทธิ์ในการซื้อและสูบบุหรี่หรือกัญชา สิทธิ์ในการแต่งงาน สิทธิ์ในการเป็นเจ้าของปืน สิทธิ์ในการพนัน สิทธิ์ในการยินยอมหรือปฏิเสธการรักษาพยาบาล สิทธิ์ในการลงนามในสัญญา ฯลฯ)[5] การเพิกเฉยต่อความคิดเห็นของพวกเขาเนื่องจากถือว่า "ยังเด็กเกินไป" หรือการทึกทักว่าพวกเขาควรประพฤติตนในลักษณะบางอย่างให้สมกับอายุ[6] อย่างไรก็ตาม ศัพท์นี้ส่วนใหญ่มักใช้ในสถานการณ์ที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติต่อผู้สูงอายุ ผู้สูงอายุเองก็อาจมีวยาคติได้อย่างลึกซึ้งจากการซึมซับภาพเหมารวมในแง่ลบเกี่ยวกับความสูงวัยมาทั้งชีวิต[7] ความกลัวตาย ความกลัวความพิการ และการพึ่งพิงผู้อื่นเป็นสาเหตุหลักของวยาคติ โดยการหลีกเลี่ยง การแบ่งแยก และการปฏิเสธผู้สูงอายุเป็นกลไกการรับมือที่ช่วยให้ผู้คนเลี่ยงการคิดถึงความตายของตนเอง[8]

อ้างอิง[แก้]

  1. Nelson, T.D., บ.ก. (2002). Ageism: Stereotyping and Prejudice against Older Persons. MIT Press. ISBN 978-0-262-64057-2.
  2. Quadagno, J. (2008). The field of social gerontology. In E. Barrosse (Ed.), Aging & the life course: An introduction to social gerontology (pp. 2–23). New York: McGraw-Hill.
  3. Butler, R. N. (1969). "Age-ism: Another form of bigotry". The Gerontologist. 9 (4): 243–246. doi:10.1093/geront/9.4_part_1.243. PMID 5366225. S2CID 42442342.
  4. Wilkinson J and Ferraro K, Thirty Years of Ageism Research. In Nelson T (ed). Ageism: Stereotyping and Prejudice Against Older Persons. Massachusetts Institute of Technology, 2002
  5. "Discrimination Against Youth Voice". freechild.org. 7 January 2016. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-06-26. สืบค้นเมื่อ 2020-09-21.
  6. "Young and Oppressed" เก็บถาวร 28 กรกฎาคม 2011 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. youthrights.org. Retrieved on 11 April 2012.
  7. "Youthful Indiscretions" เก็บถาวร 27 มกราคม 2016 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. kingsreview.co.uk. Retrieved on 11 September 2015.
  8. Friend, Tad (13 พฤศจิกายน 2017). "Why Ageism Never Gets Old". The New Yorker. ISSN 0028-792X. สืบค้นเมื่อ 2017-11-28.