วยาคติ
วยาคติ หรือ (อังกฤษ: ageism, agism) คือการเหมารวมหรือการเลือกปฏิบัติต่อบุคคลหรือกลุ่มบุคคลด้วยเหตุแห่งอายุหรือวัยซึ่งอาจเกิดขึ้นอย่างลำลองหรืออย่างเป็นระบบ[1][2] ศัพท์ ageism ได้รับการบัญญัติขึ้นในปี พ.ศ. 2512 โดยรอเบิร์ต นีล บัตเลอร์ แพทย์และนักพฤฒาวิทยาชาวอเมริกัน เพื่ออธิบายการเลือกปฏิบัติต่อผู้อาวุโสในทำนองเดียวกันกับลัทธิกีดกันทางเพศและอคติทางเชื้อชาติ[3] บัตเลอร์นิยามว่า "วยาคติ" เป็นการรวมกันขององค์ประกอบที่เชื่อมโยงกันสามองค์ประกอบ ได้แก่ ทัศนคติเดียดฉันท์ผู้สูงอายุ วัยสูงอายุ และกระบวนการเปลี่ยนตามวัย, การเลือกปฏิบัติต่อผู้สูงอายุ, แนวปฏิบัติและนโยบายเชิงสถาบันที่ทำให้การเหมารวมผู้สูงอายุดำเนินไปอย่างไม่จบสิ้น[4]
ศัพท์นี้ยังใช้กล่าวถึงความเดียดฉันท์และการเลือกปฏิบัติต่อวัยรุ่นและเด็ก เช่น การปฏิเสธสิทธิ์บางประการที่มักสงวนไว้สำหรับผู้ใหญ่ (อย่างสิทธิ์ในการออกเสียงลงคะแนน สิทธิ์ในการดำรงตำแหน่งทางการเมือง สิทธิ์ในการซื้อและการดื่มแอลกอฮอล์ สิทธิ์ในการซื้อและสูบบุหรี่หรือกัญชา สิทธิ์ในการแต่งงาน สิทธิ์ในการเป็นเจ้าของปืน สิทธิ์ในการพนัน สิทธิ์ในการยินยอมหรือปฏิเสธการรักษาพยาบาล สิทธิ์ในการลงนามในสัญญา ฯลฯ)[5] การเพิกเฉยต่อความคิดเห็นของพวกเขาเนื่องจากถือว่า "ยังเด็กเกินไป" หรือการทึกทักว่าพวกเขาควรประพฤติตนในลักษณะบางอย่างให้สมกับอายุ[6] อย่างไรก็ตาม ศัพท์นี้ส่วนใหญ่มักใช้ในสถานการณ์ที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติต่อผู้สูงอายุ ผู้สูงอายุเองก็อาจมีวยาคติได้อย่างลึกซึ้งจากการซึมซับภาพเหมารวมในแง่ลบเกี่ยวกับความสูงวัยมาทั้งชีวิต[7] ความกลัวตาย ความกลัวความพิการ และการพึ่งพิงผู้อื่นเป็นสาเหตุหลักของวยาคติ โดยการหลีกเลี่ยง การแบ่งแยก และการปฏิเสธผู้สูงอายุเป็นกลไกการรับมือที่ช่วยให้ผู้คนเลี่ยงการคิดถึงความตายของตนเอง[8]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Nelson, T.D., บ.ก. (2002). Ageism: Stereotyping and Prejudice against Older Persons. MIT Press. ISBN 978-0-262-64057-2.
- ↑ Quadagno, J. (2008). The field of social gerontology. In E. Barrosse (Ed.), Aging & the life course: An introduction to social gerontology (pp. 2–23). New York: McGraw-Hill.
- ↑ Butler, R. N. (1969). "Age-ism: Another form of bigotry". The Gerontologist. 9 (4): 243–246. doi:10.1093/geront/9.4_part_1.243. PMID 5366225. S2CID 42442342.
- ↑ Wilkinson J and Ferraro K, Thirty Years of Ageism Research. In Nelson T (ed). Ageism: Stereotyping and Prejudice Against Older Persons. Massachusetts Institute of Technology, 2002
- ↑ "Discrimination Against Youth Voice". freechild.org. 7 January 2016. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-06-26. สืบค้นเมื่อ 2020-09-21.
- ↑ "Young and Oppressed" เก็บถาวร 28 กรกฎาคม 2011 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. youthrights.org. Retrieved on 11 April 2012.
- ↑ "Youthful Indiscretions" เก็บถาวร 27 มกราคม 2016 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. kingsreview.co.uk. Retrieved on 11 September 2015.
- ↑ Friend, Tad (13 พฤศจิกายน 2017). "Why Ageism Never Gets Old". The New Yorker. ISSN 0028-792X. สืบค้นเมื่อ 2017-11-28.