ข้ามไปเนื้อหา

วงศ์นกโป่งวิด

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
วงศ์นกโป่งวิด
ช่วงเวลาที่มีชีวิตอยู่: ต้นสมัยไพลโอซีน ถึงปัจจุบัน
นกโป่งวิดตัวเมีย
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Chordata
ชั้น: Aves
อันดับ: Charadriiformes
วงศ์: Rostratulidae
สกุล
  • Rostratula
  • Nycticryphes

วงศ์นกโป่งวิด (ชื่อวิทยาศาสตร์: Rostratulidae; อังกฤษ: painted-snipes) เป็นหนึ่งในอันดับนกลุยน้ำ ซึ่งประกอบด้วย 2 สกุลคือ Rostratula และ Nycticryphes

ลักษณะทางสรีรวิทยา

[แก้]

นกทั้งสามชนิดในวงศ์นกโป่งวิด มีขาค่อนข้างยาว จะงอยปากยาวคล้ายนกปากซ่อมในวงศ์ Scolopacidae แต่นกโป่งวิดมีสีขนโดดเด่นกว่ามาก ตาโตและตำแหน่งลูกตาไปทางด้านหน้า ภาวะทวิสันฐานทางเพศของนกโป่งวิด (ความแตกต่างระหว่างสองเพศ) ที่ขนนกและขนาด ตัวผู้มีสีซีดกว่า ลายกว่า และขนาดเล็กกว่าตัวเมีย

วิวัฒนาการชาติพันธุ์

[แก้]

วงศ์นกโป่งวิด (Rostratulidae) ปัจจุบันประกอบด้วยสองสกุล และสามชนิด (ซึ่งหนึ่งชนิดสูญพันธุ์ไปแล้ว) นกในวงศ์นกโป่งวิด (painted-snipe, Rostratulidae) ดูเผิน ๆ คล้ายนกในวงศ์นกปากซ่อม (วงศ์นกอีก๋อย – true-snipe, Scolopacidae) แต่ทั้งสองวงศ์ไม่เกี่ยวข้องเป็นญาติใกล้ชิด วิวัฒนาการที่มาบรรจบกันภายใต้แรงกดดันคัดเลือก (selective pressure) จากสิ่งแวดล้อมที่คล้ายคลึงกันส่งเสริมให้เกิดผลการวิวัฒนาการของลักษณะทางสรีรวิทยาที่คล้ายคลึงกันเช่น จะงอยปาก และขาที่เรียวยาว ขนนกที่มีลายพราง และสัดส่วนของร่างกายที่มีลักษณะเฉพาะ

นกวงศ์นกโป่งวิดเป็นญาติใกล้ชิดที่สุดของอันดับย่อย Thinocoridea และ Jacanoidea ได้แก่ นกอีแจว, นกพริก, seedsnipe และ plains wanderer แม้ว่าจะมีลักษณะทางสรีรวิทยาที่คล้ายคลึงกันน้อยกว่านกปากซ่อม[1]

วงศ์นกโป่งวิด ชนิด †Rostratula minator ที่สูญพันธุ์ไปแล้ว ได้รับการอธิบายในปีค.ศ. 1988 จากซากสมัยไพลโอซีนช่วงต้น ที่พบในแหล่งโบราณคดีในลางเงอบาอานเวก (Langebaanweg) ประเทศแอฟริกาใต้ และเป็นฟอสซิลชิ้นแรกที่มาจากวงศ์นกโป่งวิด (Rostratulidae) การเปรียบเทียบการวัดกระดูกของ R. minator กับสายพันธุ์ปัจจุบันที่ยังหลงเหลืออยู่แสดงให้เห็นว่ามันมีขนาดพอ ๆ กัน แต่มีความแตกต่างกันมากพอที่บ่งชี้ว่าชนิด R. minator อาจเป็นเพียงนกโป่งวิดเฉพาะถิ่นของแอฟริกาที่สูญพันธุ์ไปแล้ว แทนที่จะเป็นบรรพบุรุษโดยตรงของ R. benghalensis[2]

นกโป่งวิดออสเตรเลีย ถูกระบุชนิด Rostratula australis โดยจอห์น โกลด์ (John Gould) ในปีค.ศ. 1838 แม้ว่าในภายหลังจะรวมเป็นชนิดย่อยของนกโป่งวิด (R. benghalensis) ที่คล้ายกันมาก ในชื่อ Rostratula benghalensis australis แต่เมื่อไม่นานนี้นกโป่งวิดออสเตรเลียได้รับการแยกออกเป็นชนิดจากความแตกต่างทางสัณฐานวิทยาและพันธุกรรม[3] [4]

อนุกรมวิธาน

[แก้]
ความสัมพันธ์ของวงศ์ Rostratulidae
กับวงศ์อื่นในอันดับนกลุยน้ำ อย่างย่อ
[5][6]
 
 

Lari

Scolopaci

Charadrii

สกุล ภาพ ชนิด ถิ่นอาศัยและแหล่งกระจายพันธุ์
Rostratula
Vieillot, 1816
Rostratula benghalensis – นกโป่งวิด (painted-snipe) มักพบนกโป่งวิดในหนองน้ำในแอฟริกา เอเชียใต้ และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
Rostratula australis – นกโป่งวิดออสเตรเลีย (Australian painted-snipe) หายาก และประชากรลดลง พบเฉพาะในออสเตรเลีย[7]
Rostratula minator – สูญพันธุ์ไปแล้วในสมัยไพโลซีน พบซากในแอฟริกาใต้[8]
Nycticryptes
Wetmore & Peters, 1923

Nycticryphes semicollaris – นกโป่งวิดอเมริกาใต้

มักพบในทุ่งหญ้าหนองน้ำในอเมริกาใต้
Charadriiformes
Limicoli
Jacanida(Thinocori)
Thincoroidea
Pedionomidae

Pedionomus

Thinocoridae

Attagis

Thinocorus

Jacanoidea
Rostratulidae

Nycticryphes

Rostratula

Jacanidae

Actophilornis

Metopidius

Microparra

Irediparra

Scolopacida
Scolopacidae
Numeniinae

Bartramia

Numenius

Limosinae

Limosa

Arenariinae

Limicola

Ereunetes

Calidris

Arenaria

Prosobonia

Tringinae
Scolopacinae
Lari



แผนผังวิวัฒนาการชาติพันธุ์ ตามข้อมูลอ้างอิง Baker, A.J. et al. (2012)[9] และ Boyd, J. H. et al. (2016)[10]

พฤติกรรม

[แก้]

โดยทั่วไปนกโป่งวิดทั้ง 3 ชนิดอาศัยอยู่ในหนองน้ำ บึง และหนองน้ำซึ่งโดยปกติจะอยู่ในที่ราบลุ่ม นอกฤดูผสมพันธุ์นกโป่งวิดมักมีนิสัยสันโดษ รวมกันหรือออกหากินเวลาพลบค่ำหรือกลางคืน[11]

การหาอาหาร

[แก้]

นกโป่งวิดเป็นนกที่กินไม่เลือก (กินทั้งเนื้อและพืช) ได้แก่ สัตว์พวกหนอนปล้อง หอยทาก แมลงในน้ำและหนองน้ำ และกุ้งปู นอกจากนี้ยังกินเมล็ดธัญพืชและหญ้า เช่นข้าวฟ่าง และข้าว ซึ่งธัญพืชอาจเป็นอาหารหลักในประชากรบางกลุ่ม[11]

การผสมพันธุ์

[แก้]

การผสมพันธุ์ของนกโป่งวิดแตกต่างกันไปตามสกุล ในขณะที่นกโป่งวิดอเมริกาใต้เป็นคู่ผัวเมียเดียว นกโป่งวิดสกุล Rostratula ตัวเมียหนึ่งตัวจะจับคู่ผสมพันธุ์กับเพศผู้หลายตัว (เรียกว่า polyandry) นกตัวเมียในสกุล Rostratula จะผูกพันกับตัวผู้หลายตัวในช่วงฤดูผสมพันธุ์ เมื่อวางไข่แล้วตัวผู้ตัวเดียวจะให้การฟักไข่และการดูแลลูกนกตลอด รังของทั้งสองชนิดมีลักษณะเป็นหลุมตื้น ๆ มักสร้างขึ้นบนกลุ่มพืชพวกหญ้าและกก ขนาดครอกมีตั้งแต่ 2–4 ฟอง ฟักไข่เป็นเวลา 15–21 วัน[11]

การอนุรักษ์

[แก้]

ในปัจจุบันวงศ์นกโป่งวิด 2 ชนิด คือนกโป่งวิดอเมริกาใต้ และนกโป่งวิดยังไม่ถือว่าถูกคุกคามจากกิจกรรมของมนุษย์ อย่างไรก็ตามนกโป่งวิดออสเตรเลียมีประชากรลดลงและถือว่าใกล้สูญพันธุ์ในออสเตรเลีย[7]

อ้างอิง

[แก้]
  1. del Hoyo, J.; Elliot, A. & Sargatal, J. (editors). (1996). Handbook of the Birds of the World. Volume 3: Hoatzin to Auks. Lynx Edicions. ISBN 84-87334-20-2
  2. "R. minator description, department of vertebrate zoology at Smithsonian Institution" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2014-06-02. สืบค้นเมื่อ 2021-05-04.
  3. Christidis, Les; Boles, Walter (2008). Systematics and taxonomy of Australian Birds. Collingwood, Vic: CSIRO Publishing. pp. 136. ISBN 978-0-643-06511-6.
  4. Baker AJ, Perreira SL, Rogers DI, Elbourne R and Hassell CJ (2007) Mitochondrial-DNA shows that the Australian Painted Snipe is a full species, Rostratula australis. Emu 107: 185-189
  5. Fain, Matthew G.; Houde, Peter (2007). "Multilocus perspectives on the monophyly and phylogeny of the order Charadriiformes (Aves)". BMC Evolutionary Biology. 7: 35. doi:10.1186/1471-2148-7-35. PMC 1838420. PMID 17346347.
  6. Gibson, Rosemary; Baker, Allan (2012). "Multiple gene sequences resolve phylogenetic relationships in the shorebird suborder Scolopaci (Aves: Charadriiformes)". Molecular Phylogenetics and Evolution. 64 (1): 66–72. doi:10.1016/j.ympev.2012.03.008. PMID 22491071.
  7. 7.0 7.1 Lane, B.A.; & Rogers, D.I. (2000). "The Australian Painted-snipe, Rostratula (benghalensis) australis: an Endangered species?". Stilt 36: 26–34
  8. "R. minator description, department of vertebrate zoology at Smithsonian Institution" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2014-06-02. สืบค้นเมื่อ 2021-05-04.
  9. Baker, Allan J.; Yatsenko, Yuri; Tavares, Erika Sendra (2012). "Eight independent nuclear genes support monophyly of the plovers: The role of mutational variance in gene trees". Molecular Phylogenetics and Evolution. 65 (2): 631–641. doi:10.1016/j.ympev.2012.07.018. PMID 22842291.
  10. John, Boyd. "Charadriiformes". jboyd.net (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2017-07-16.
  11. 11.0 11.1 11.2 del Hoyo, J.; Elliot, A. & Sargatal, J. (editors). (1996). Handbook of the Birds of the World. Volume 3: Hoatzin to Auks. Lynx Edicions. ISBN 84-87334-20-2