ข้ามไปเนื้อหา

ลี เซียนลุง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ลี เซียนลุง
李显龙
ลีใน พ.ศ. 2559
รัฐมนตรีอาวุโสสิงคโปร์
เริ่มดำรงตำแหน่ง
15 พฤษภาคม พ.ศ. 2567
ดำรงตำแหน่งร่วมกับ Teo Chee Hean
นายกรัฐมนตรีลอว์เรนซ์ หว่อง
ก่อนหน้าตรรมัน จัณมุกรัตตินัม
นายกรัฐมนตรีสิงคโปร์ คนที่ 3
ดำรงตำแหน่ง
12 สิงหาคม พ.ศ. 2547 – 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2567
(19 ปี 277 วัน)
ประธานาธิบดีเซลลาปัน รามานาทาน
โทนี ตัน เค็ง ยัม
เจ. วาย. ปิลไล
ฮาลิมาห์ ยาคอบ
ตรรมัน จัณมุกรัตตินัม
ก่อนหน้าโก๊ะ จ๊กตง
ถัดไปลอว์เรนซ์ หว่อง
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
ดำรงตำแหน่ง
พ.ศ. 2544 – 1 ธันวาคม พ.ศ. 2550
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2495 (72 ปี)[1]
สิงคโปร์
พรรคการเมืองพรรคกิจประชาชน
คู่สมรส
  • Wong Ming Yang (สมรส 1978; เสียชีวิต 1982)
  • โฮ ชิง (สมรส 1985)
บุตร4
บุพการีลี กวนยู (พ่อ)
Kwa Geok Choo (แม่)
ความสัมพันธ์ลี เซียนหยาง (น้องชาย)
Lee Wei Ling (น้องสาว)
ศิษย์เก่าวิทยาลัยทรินิตี เคมบริดจ์ (BA, Dipl.)
มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด (MPA)
อาชีพนักการเมือง
วิชาชีพนายพล
ลายมือชื่อ
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง
สังกัดกองทัพสิงคโปร์
ประจำการพ.ศ. 2514–2527
ยศพลจัตวา
บังคับบัญชาDirector of the Joint Operations and Planning Directorate
Chief of Staff – General Staff
Assistant Chief of the General Staff (Operations)
Commanding Officer, 23rd Battalion Singapore Artillery

ลี เซียนลุง (จีนตัวย่อ: 李显龙; จีนตัวเต็ม: 李顯龍; พินอิน: Lǐ Xiǎnlóng, หลี เสี่ยนหลง) เป็นนักการเมืองชาวสิงคโปร์ รัฐมนตรีอาวุโส อดีตนายกรัฐมนตรีคนที่ 3 ของประเทศสิงคโปร์ เป็นบุตรชายคนโตของลี กวนยู อดีตนายกรัฐมนตรี และมีภรรยาเป็นประธานเจ้าหน้าที่บริหารบริษัทเทมาเส็กโฮลดิ้งส์

ลี เซียนลุง สามารถพูดภาษาอังกฤษ ภาษามลายู ภาษาจีนแมนดาริน และภาษารัสเซียได้ในขณะที่มีอายุเพียง 10 ปี[2] เมื่อจบชั้นมัธยม ได้รับทุนจากรัฐบาลไปเรียนที่มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ ประเทศอังกฤษ ในสาขาคณิตศาสตร์ และจบปริญญาตรีด้วยเกียรตินิยมอันดับ 1 หลังจากนั้น จบปริญญาโทที่มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด สหรัฐอเมริกา ในสาขารัฐประศาสนศาสตร์

เมื่อสมัครเข้าเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรใน พ.ศ. 2527 ลี เซียนลุง ได้รับเลือกตั้งจากประชาชนตามระบอบประชาธิปไตย และอยู่ในวงการเมืองมามากกว่า 20 ปี ก่อนที่จะได้รับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนที่ 3 ของสิงคโปร์ต่อจากโก๊ะ จ๊กตง ที่อยู่ในตำแหน่งนายกรัฐมนตรีมา 14 ปี

ต่อมาในวันที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2567 ลี เซียนลุง ได้ลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีสิงคโปร์ และส่งมอบตำแหน่งให้ลอว์เรนซ์ หว่อง[3]

ชีวิตช่วงต้น

[แก้]

ลี เซียนลุงเป็นบุตรคนโตของลี กวนยูกับ Kwa Geok Choo และหลานชายฝั่งบิดาของ Lee Chin Koon (2446–2538) กับ Chua Jim Neo (2448–2523) เขาเกิดที่โรงพยาบาลสตรีและเด็กเคเคที่สิงคโปร์ในวันที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2495[4] ซึ่งขณะนั้นยังเป็นอาณานิคมอังกฤษ[5] แม่ของเขามีบรรพบุรุษจากอำเภอถงอานกับหล่งหู ส่วนพ่อมีบรรพบุรุษจากเทศมณฑลต้าปู้ในประเทศจีน[6][7]

การศึกษา

[แก้]

ชีวิตส่วนตัว

[แก้]

ลีแต่งงานกับ Wong Ming Yang ภรรยาคนแรกที่เป็นแพทย์ชาวมาเลเซียโดยกำเนิด ในวันที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2521 ทั้งคู่ให้กำเนิดลูกสาวชื่อ Li Xiuqi ใน พ.ศ. 2524 และลูกชายชื่อ Li Yipeng ใน ค.ศ. 2525 หลังให้กำเนิดลูกชาย 3 สัปดาห์ Wong เสียชีวิตจากอาการหัวใจวายในวันที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2525 ด้วยอายุ 31 ปี[8]

ลีแต่งงานใหม่กับโฮ ชิงใน พ.ศ. 2528 ข้าราชการที่มีอนาคตสดใส ผู้ต่อมาได้เป็นกรรมการบริหารและประธานเจ้าหน้าที่บริหารของเทมาเส็กโฮลดิงส์[9] ทั้งคู่ให้กำเนิดลูกชายสองคนชื่อ Li Hongyi และ Li Haoyi[10] โดย Li Hongyi ลูกชายคนโต เป็นนายทหารชั้นสัญญาบัตรในกองทัพสิงคโปร์[11] และเป็นรองอธิบดีหน่วยงานเทคโนโลยีภาครัฐ[12][13] ส่วน Li Haoyi ลูกชายคนเล็ก เป็นวิศวกรซอฟต์แวร์ที่เขียนหนังสือเกี่ยวกับภาษาโปรแกรม Scala[14]

ในตอนแรก ลีได้รับการวินิจฉัยเป็นมะเร็งต่อมน้ำเหลือง ซึ่งเขาไปทำเคมีบำบัด[15]ในช่วงต้นคริสต์ทศวรรษ 1990[16] ต่อมาเขาได้รับการผ่าตัดต่อมลูกหมากโดยใช้หุ่นยนต์รูปรูกุญแจช่วยสำเร็จในวันที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558 หลังได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นมะเร็งต่อมลูกหมาก[17][18][19]

ลีให้ความสนใจในการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ และเคยเขียนโปรแกรมแก้ปัญหาซูโดกุด้วยภาษา C++ ในช่วงเวลาว่าง[20]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "PMO |Mr LEE Hsien Loong". 4 September 2020. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 23 July 2020. สืบค้นเมื่อ 18 July 2020.
  2. "ทำไมสื่อสิงคโปร์ถึงยก "ลี เซียน ลุง" เป็น Prime Minister Google : มติชนออนไลน์". web.archive.org. 2016-03-04. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2022-01-04.{{cite web}}: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์)
  3. "'ลี เซียน ลุง' สละเก้าอี้ผู้นำสิงคโปร์ หลังรั้งตำแหน่ง 2 ทศวรรษ 'ลอว์เรนซ์ หว่อง' รับไม้ต่อวันนี้". มติชน. 15 พฤษภาคม 2024. สืบค้นเมื่อ 15 พฤษภาคม 2024.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  4. Yeo, Julia (12 August 2019). "15 ever-so-slightly interesting factoids about PM Lee Hsien Loong, since it's his 15th year as our PM". Mothership.sg. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 July 2020. สืบค้นเมื่อ 24 July 2020.
  5. "Mr Lee Hsien Loong". Prime Minister's Office Singapore. 10 February 1952. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 April 2020. สืบค้นเมื่อ 12 September 2020.
  6. "新加坡內閣資政李光耀". Xinhua News (ภาษาจีนตัวเต็ม). Xinhua News Agency. 31 December 2008. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 31 December 2008. สืบค้นเมื่อ 13 September 2020.
  7. "李光耀劝扁勿藉奥运搞台独". zaobao.com (ภาษาChinese (Singapore)). 19 November 2007. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 30 December 2008. สืบค้นเมื่อ 13 September 2020.{{cite web}}: CS1 maint: unfit URL (ลิงก์)
  8. Bertha Henson (9 May 1993). "It was a bolt from the blue". The Sunday Times / Asiaone. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 19 May 2007. สืบค้นเมื่อ 19 August 2008.
  9. Lee, Philip (1 November 1982). "I remember – by Col Lee". The Straits Times. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 13 August 2017. สืบค้นเมื่อ 13 August 2017.
  10. Sudderuddin, Shuli (9 March 2009). "PM Lee attends OCC parade". The Straits Times. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 March 2009. สืบค้นเมื่อ 13 August 2017.{{cite web}}: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์)
  11. Burton, John (13 July 2007). "E-mail by Singapore PM's son backfires". Financial Times. ISSN 0307-1766. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 June 2014. สืบค้นเมื่อ 13 August 2017.
  12. "Ministers make time for children's graduation". The Straits Times. 21 November 1987. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 13 August 2017. สืบค้นเมื่อ 13 August 2017.
  13. Yuen-C, Tham (15 June 2017). "PM Lee Hsien Loong's son Li Hongyi says he is not interested in politics". The Straits Times (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 13 August 2017. สืบค้นเมื่อ 13 August 2017.
  14. Li, Haoyi (2020). Hands-on Scala Programming: Learn Scala in a Practical, Project-Based Way. Li Haoyi. ISBN 978-9811456930.
  15. Lee, Hsien Loong. "Motivational Message Contributed By Mr Lee Hsien Loong, Prime Minister of Singapore". CancerStory. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 February 2015. สืบค้นเมื่อ 16 February 2015.
  16. Henson, Bertha. "'It was a bolt from the blue. But that's life.'". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 19 May 2007. สืบค้นเมื่อ 16 February 2015.
  17. Tham, Yuen-C (15 February 2015). "PM Lee Hsien Loong diagnosed with prostate cancer, to undergo surgery on Monday". The Straits Times. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 February 2015. สืบค้นเมื่อ 15 February 2015.
  18. "PM Lee's operation 'successful', 'expected to recover fully'". CNA. 16 February 2015. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 16 February 2015. สืบค้นเมื่อ 16 February 2015.
  19. "PM Lee Hsien Loong's prostate cancer operation a success". AsiaOne. 16 February 2015. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 19 February 2015. สืบค้นเมื่อ 12 September 2015.
  20. "Prime Minister of Singapore shares his C++ code for Sudoku solver". Ars Technica UK. 4 May 2015. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 September 2020. สืบค้นเมื่อ 12 September 2015.

บรรณานุกรม

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]
ก่อนหน้า ลี เซียนลุง ถัดไป
โก๊ะ จ๊กตง นายกรัฐมนตรีสิงคโปร์
(12 สิงหาคม พ.ศ. 2547 — 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2567)
ลอว์เรนซ์ หว่อง