ข้ามไปเนื้อหา

รางวัลสันติภาพขงจื๊อ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

รางวัลสันติภาพขงจื๊อ (จีน: 孔子和平獎; อังกฤษ: Confucius Peace Prize) ริเริ่มขึ้นใน พ.ศ. 2553 โดยองค์กรในสาธารณรัฐประชาชนจีนตามที่ได้รับการเสนอโดยนักธุรกิจ หลิว จือชีน เมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553 ถึงแม้ว่าสมาชิกของคณะกรรมการมอบรางวัลกล่าวว่า รางวัลดังกล่าวมีประวัติยาวนานกว่านั้นมาก ประธานคณะกรรมการมอบรางวัลระบุว่า รางวัลสันติภาพขงจื๊อมีขึ้นเพื่อ "ส่งเสริมสันติภาพของโลกจากมุมมองของโลกตะวันออก" และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง สันติภาพขงจื๊อ[1] ผู้ได้รับรางวัลจะได้รับรางวัลเหรินหมินปี้ 100,000 หยวน (15,000 ดอลลาร์สหรัฐ) [2]

จุดกำเนิด

[แก้]

ตามข้อมูลของเดอะการ์เดียน สมาชิกคณะกรรมการในพิธีมอบรางวัล พ.ศ. 2553 กล่าวว่า รางวัลดังกล่าวมีพิธีมอบครั้งแรกใน พ.ศ. 2444 และรางวัลที่จะมอบใน พ.ศ. 2553 ได้มีการเตรียมการมานานตั้งแต่ พ.ศ. 2531 แล้ว[3] ตามข้อมูลของเดอะนิวยอร์กไทมส์ หลิว จือชีน นักการธนาคารชาวจีน เป็นบุคคลแรกที่เสนอรางวัลดังกล่าวในบทบรรณาธิการในเดอะโกลบอลไทมส์[4]

ประานคณะกรรมการมอบรางวัลกล่าวว่าพวกเขาหาทุนให้กับรางวัลดังกล่าวด้วยจุดประสงค์ด้านความรักชาติ ถึงแม้เขาจะกล่าวว่าคณะกรรมการมอบรางวัลจะมิใช่องค์กรของรัฐ แต่ก็ได้ระบุว่าพวกเขาทำงานร่วมกับกระทรวงวัฒนธรรม[4] อย่างไรก็ตาม กระทรวงวัฒนธรรมของจีนได้พูดคุยกับยูไนเต็ดเดลีนิวส์ในไทเป และกล่าวว่าพวกเขาไม่เคยได้ยินว่ามีการมอบรางวัลดังกล่าวให้กับเลี่ยน ชาน จนกระทั่งปรากฏตามหน้าหนังสือพิมพ์[5] หนังสือพิมพ์ฮ่องกง หมิงเป่า ได้รายงานว่า จดหมายซึ่งออกโดยคณะกรรมการส่งให้กับเลี่ยน ชาน ไม่มีตราประทับอย่างเป็นทางการของกระทรวงวัฒนธรรม

รางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ พ.ศ. 2553

[แก้]

รัฐบาลจีนไม่เห็นด้วยกับการที่หลิว เซี่ยวโป ได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพประจำ พ.ศ. 2553 ในเดือนตุลาคม และระบุว่าพิธีการมอบรางวัลจะถูกจัดขึ้นในวันที่ 10 ธันวาคม[6] การมอบรางวัลให้แก่หลิวถูกมองในแง่ลบมากในจีน โดยมีเจ้าหน้าที่บางคนโต้แย้งว่า หลิวมิได้ส่งเสริม "มิตรภาพระหว่างประเทศ การลดอาวุธและการชุมนุมสันติภาพ" ดังที่ได้ระบุเป็นวัตถุประสงค์ของรางวัลโนเบลสันติภาพเลย[7]

ปฏิกิริยาต่อรางวัลสันติภาพขงจื๊อ

[แก้]

ผู้ที่ได้รับรางวัลสันติภาพขงจื๊อคนแรก คือ อดีตรองประธานาธิบดีสาธารณรัฐจีนและหัวหน้าพรรคก๊กมินตั๋ง เลี่ยน ชาน สำหรับการมีส่วนร่วมในการพัฒนาความสัมพันธ์เชิงบวกระหว่างไต้หวันกับจีนแผ่นดินใหญ่[8] เลี่ยน ชานไม่ได้เข้าร่วมพิธีมอบรางวัลซึ่งจัดขึ้นที่ปักกิ่ง[6][1] และไม่ได้รับทราบอย่างเป็นทางการว่าเขาได้รับรางวัลดังกล่าว ผู้ช่วยของเขาได้ออกมาระบุว่า เขาได้รับ "ข้อมูลมือสองจากนักหนังสือพิมพ์"[4] อันเป็นการขัดแย้งกับแถลงการณ์ในโกลบอลไทมส์โดยประธานคณะกรรมการมอบรางวัลสันติภาพขงจื๊อ กล่าวว่า เลี่ยนได้รับการติดต่อจากคณะกรรมการแล้ว[9] ฝ่ายโฆษกของพรรคประชาธิปไตยก้าวหน้า ฝ่ายค้านในไต้หวัน กล่าวว่า รางวัลดังกล่าวไม่ควรถือเป็นจริงเป็นจังนัก[10] รางวัลดังกล่าว ประกอบด้วยรูปแกะสลักขนาดเล็กและห่อธนบัตรจำนวน 1,000 ห่อ ได้รับการรวบรวมโดยเด็กหญิงด้านหน้าของผู้ชมที่เป็นนักหนังสือพิมพ์กว่า 100 คน

เจ้าหน้าที่รัฐบาลไต้หวันได้รับรายงานว่า พวกเขาเห็นการมอบรางวัลสันติภาพขงจื๊อให้กับเลี่ยน ชาน ว่า "น่าขบขัน"[6]

หนังสือพิมพ์ดิอีโคโนมิสต์เปรียบเทียบการแทนที่รางวัลดังกล่าวกับปฏิกิริยาของนาซีเยอรมนี โดยการริเริ่มรางวัลเพื่อศิลปะและวิทยาศาสตร์แห่งชาติเยอรมัน หลังจากคาร์ล ฟอน ออสซิเอ็ดซกี ถูกห้ามไม่ให้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพใน ค.ศ. 1935 เช่นเดียวกับที่สหภาพโซเวียตห้ามอังเดร ซาคารอฟ มิให้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพใน ค.ศ. 1975[11]

ตามข้อมูลของไทเปไมส์ ผู้ที่ได้รับเสนอชื่อให้ได้รับรางวัลดังกล่าว ได้แก่ บิล เกตส์, เนลสัน มันเดลา, จิมมี คาร์เตอร์ และปันเชนลามะ[10] ตามข้อมูลของโกลบอลไทมส์ ผู้ที่ได้รับการเสนอชื่อ ได้แก่ มะห์มุด อับบาส, เนลสัน มันเดลา, บิล เกตส์, เฉียว ต้าโม กวีชาวจีน และพระปันเชนลามะองค์ปัจจุบันอย่างเป็นทางการของจีน[9]

เดอะโกลบอลไทมส์รายงานว่าผู้ที่ได้รับการเสนอชื่อทั้งห้าคนได้รับการคัดเลือกจากการเป็นผู้ชนะในการหยั่งเสียงออนไลน์[9] อย่างไรก็ตาม ผู้จัดงานกล่าวว่าการหยั่งเสียงดังกล่าวไม่สามารถดำเนินการจนสำเร็จได้เนื่องจาก "ปัญหาทางเทคนิค"[12]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 Jiang, Steven (2010-12-08). "China to hand out its own peace prize". CNN. สืบค้นเมื่อ 2010-12-08.
  2. "Confucius Peace Prize: China To Award Nobel Rival". Huffington Post. 8 December 2010. สืบค้นเมื่อ 11 December 2010.
  3. Branigan, Tana. "China's Confucius Peace Prize Has Chaotic Launch as Winner's Office Says He ...", The Guardian. Guardian News and Media Limited, 9 December 2010. Web. 12 December 2010.
  4. 4.0 4.1 4.2 Wong, Edward (2010-12-08). "China's Answer to Nobel Mystifies Its Winner". The New York Times. สืบค้นเมื่อ 2010-12-08.
  5. "中國否認頒「孔子和平獎」" [China denies awarding "Confucius Peace Prize"]. Ming Pao. 2010-12-09. สืบค้นเมื่อ 2010-12-11.
  6. 6.0 6.1 6.2 Martina, Michael (9 December 2010). "China stood up by winner of "Confucius peace prize"". Reuters. สืบค้นเมื่อ 12 December 2010.
  7. Garnaut, John (9 October 2010). "China furious at Nobel's 'violation'". The Age. Australia: Fairfax Media. สืบค้นเมื่อ 9 October 2010.
  8. Tran, Tini (2010-12-07). "China to award prize to rival Nobel". Yahoo! News. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-12-11. สืบค้นเมื่อ 2010-12-07.
  9. 9.0 9.1 9.2 Linlin, Liu; Liang Chen; Cao Xiaochen (8 December 2010). "Lien Chan Awarded 1st Confucius Peace Prize". People's Daily Online. สืบค้นเมื่อ 11 December 2010.{{cite news}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  10. 10.0 10.1 Yan-chih, Mo. "Lien Office Denies Hearing of Award." The Taipei Times, 8 December 2010. Web. 11 December 2010.
  11. "The empty chair". The Economist. 12 December 2010. สืบค้นเมื่อ 12 December 2010.
  12. Mandy Zuo (10 December 2010). "'Confusion' Prize brings Beijing doubtful reward". The South China Morning Post, via Lexis Nexis. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-10-03. สืบค้นเมื่อ 22 December 2010.