รางวัลพริตซ์เกอร์
หน้าตา
ลิงก์ข้ามภาษาในบทความนี้ มีไว้ให้ผู้อ่านและผู้ร่วมแก้ไขบทความศึกษาเพิ่มเติมโดยสะดวก เนื่องจากวิกิพีเดียภาษาไทยยังไม่มีบทความดังกล่าว กระนั้น ควรรีบสร้างเป็นบทความโดยเร็วที่สุด |
รางวัลพริตซ์เกอร์ (Pritzker Prize) เป็นรางวัลประจำปีที่มูลนิธิไฮแอตต์ (Hyatt) มอบเป็นเกียรติแก่สถาปนิกที่ยังมีชีวิตในปัจจุบัน (ขณะพิจารณารางวัล) เริ่มครั้งแรกในปี พ.ศ. 2522 โดยเจย์ พริตซ์เกอร์ (Jay Pritzker) เป็นการพิจารณาให้รางวัลแก่งานสถาปัตยกรรมดีเด่นที่มีคุณภาพในระดับสากล โดยส่วนหนึ่งของเกณฑ์ในการพิจารณาให้รางวัลคือการสร้างนวัตกรรมที่ดีและมีคุณภาพ เสริมสร้างและบูรณาการการใช้เทคโนโลยีที่ดีในการก่อสร้าง สถาปนิกผู้ได้รับรางวัลจะได้รับเงิน 100,000 ดอลลาร์สหรัฐ รางวัลนี้เปรียบเสมือนรางวัลโนเบลผลงานทางด้านสถาปัตยกรรม
รายชื่อสถาปนิกผู้ได้รับรางวัลพริตซ์เกอร์
[แก้]- พ.ศ. 2522 (ค.ศ. 1979) ฟิลิป จอห์นสัน (Philip Johnson) สหรัฐอเมริกา (ค.ศ. 1906 – 2005)
- พ.ศ. 2523 (ค.ศ. 1980) ลุยส์ บาร์รากัน (Luis Barragán) เม็กซิโก (ค.ศ. 1902 – 1988)
- พ.ศ. 2524 (ค.ศ. 1981) เจมส์ สเตอร์ลิง (James Stirling) of the United Kingdom (ค.ศ. 1924 – 1992)
- พ.ศ. 2525 (ค.ศ. 1982) เควิน โรช (Kevin Roche) สหรัฐอเมริกา–ไอร์แลนด์
- พ.ศ. 2526 (ค.ศ. 1983) ไอ. เอ็ม. เพ (Ieoh Ming Pei) สหรัฐอเมริกา (เกิดในประเทศจีน)
- พ.ศ. 2527 (ค.ศ. 1984) ริชาร์ด ไมเออร์ (Richard Meier) สหรัฐอเมริกา
- พ.ศ. 2528 (ค.ศ. 1985) ฮันส์ ฮอลไลน์ (Hans Hollein) ออสเตรีย
- พ.ศ. 2529 (ค.ศ. 1986) กอทท์ฟรีด เบิม (Gottfried Böhm) เยอรมนี
- พ.ศ. 2530 (ค.ศ. 1987) เคนโซ ทังเงะ (Kenzo Tange) ญี่ปุ่น (ค.ศ. 1913 – 2005)
- พ.ศ. 2531 (ค.ศ. 1988) กอร์ดอน บันชาฟต์ (Gordon Bunshaft) สหรัฐอเมริกา (ค.ศ. 1909 – 1990) และออสการ์ นีเอไมเยร์ (Oscar Niemeyer) บราซิล
- พ.ศ. 2532 (ค.ศ. 1989) แฟรงก์ เกห์รี (Frank Gehry) สหรัฐอเมริกา (เกิดในแคนาดา)
- พ.ศ. 2533 (ค.ศ. 1990) อัลโด รอสซี (Aldo Rossi) อิตาลี (ค.ศ. 1931 – 1997)
- พ.ศ. 2534 (ค.ศ. 1991) โรเบิร์ต เวนทูรี (Robert Venturi) สหรัฐอเมริกา
- พ.ศ. 2535 (ค.ศ. 1992) อัลวารู ซีซา วีไอรา (Álvaro Siza Vieira) โปรตุเกส
- พ.ศ. 2536 (ค.ศ. 1993) ฟูมิฮิโกะ มากิ (Fumihiko Maki) ญี่ปุ่น
- พ.ศ. 2537 (ค.ศ. 1994) คริสตีย็อง เดอ ปอร์ตซ็องปาร์ก (Christian de Portzamparc) ฝรั่งเศส
- พ.ศ. 2538 (ค.ศ. 1995) ทะดะโอะ อันโด (Tadao Ando) ญี่ปุ่น
- พ.ศ. 2539 (ค.ศ. 1996) ราฟาเอล โมเนโอ (Rafael Moneo) สเปน
- พ.ศ. 2540 (ค.ศ. 1997) สแวร์เรอ เฟน (Sverre Fehn) นอร์เวย์
- พ.ศ. 2541 (ค.ศ. 1998) เรนโซ เปียโน (Renzo Piano) อิตาลี
- พ.ศ. 2542 (ค.ศ. 1999) นอร์มัน ฟอสเตอร์ (Norman Foster) สหราชอาณาจักร
- พ.ศ. 2543 (ค.ศ. 2000) แร็ม โกลฮาส (Rem Koolhaas) เนเธอร์แลนด์
- พ.ศ. 2544 (ค.ศ. 2001) แอร์ซอกแอนด์เดอเมอรง (Herzog & de Meuron) สวิตเซอร์แลนด์
- พ.ศ. 2545 (ค.ศ. 2002) เกลนน์ เมอร์คัตต์ (Glenn Murcutt) ออสเตรเลีย
- พ.ศ. 2546 (ค.ศ. 2003) เยิร์น อุตซอน (Jørn Utzon) เดนมาร์ก
- พ.ศ. 2547 (ค.ศ. 2004) ซาฮา ฮาดิด (Zaha Hadid) อิรัก-สหราชอาณาจักร
- พ.ศ. 2548 (ค.ศ. 2005) ทอม เมย์น (Thom Mayne) สหรัฐอเมริกา
- พ.ศ. 2549 (ค.ศ. 2006) เปาลู เมงจิส ดา รอชา (Paulo Mendes da Rocha) บราซิล
- พ.ศ. 2550 (ค.ศ. 2007) ริชาร์ด รอเจอส์ (Richard Rogers) สหราชอาณาจักร
- พ.ศ. 2551 (ค.ศ. 2008) ฌ็อง นูแวล (Jean Nouvel) ฝรั่งเศส
- พ.ศ. 2552 (ค.ศ. 2009) เพเทอร์ ซุมทอร์
- พ.ศ. 2553 (ค.ศ. 2010) คะซึโยะ เซะจิมะ และริวเอะ นิชิซะวะ ญี่ปุ่น[1]
- พ.ศ. 2554 (ค.ศ. 2011) เอดูอาร์ดู โซตู ดี โมรา (Eduardo Souto de Moura) โปรตุเกส
- พ.ศ. 2555 (ค.ศ. 2012) หวัง ชู (Wang Shu) จีน
- พ.ศ. 2556 (ค.ศ. 2013) โทะโยะโอะ อิโต (Toyo Ito) ญี่ปุ่น
- พ.ศ. 2557 (ค.ศ. 2014) ชิเงรุ บัน (Shigeru Bun) ญี่ปุ่น
- พ.ศ. 2558 (ค.ศ. 2015) ไฟร ออทโท (Frei Paul) เยอรมัน
- พ.ศ. 2559 (ค.ศ. 2016) อาเลคันโดร อาเรเบนา (Alejandro Aravena) ชิลี
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "Sejima and Nishizawa Win 2010 Pritzker Prize". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-04-01. สืบค้นเมื่อ 2010-04-05.