ข้ามไปเนื้อหา

รังกนาตจุวามิโกยิล (ติรุวรังกัม)

พิกัด: 10°51′45″N 78°41′23″E / 10.86250°N 78.68972°E / 10.86250; 78.68972
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
รังคนาถสวามีโกยิล
ติรุวรังฆัม
Some gopurams of the Ranganathaswamy Temple
ภาพมุมสูง สังเกตเห็นโคปุรัมโดดเด่นชัดเจน
ศาสนา
ศาสนาศาสนาฮินดู
เขตติรุจจิราปปัฬฬิ
เทพพระศรีรังคนาถ
เทศกาลVaikuntha Ekadasi
Uriyadi
Jeeyarpuram[1]
ที่ตั้ง
ที่ตั้งติรุวรังกัม
รัฐทมิฬนาฑู
ประเทศอินเดีย
รังกนาตจุวามิโกยิล (ติรุวรังกัม)ตั้งอยู่ในประเทศอินเดีย
รังกนาตจุวามิโกยิล (ติรุวรังกัม)
ที่ตั้งในประเทศอินเดีย
พิกัดภูมิศาสตร์10°51′45″N 78°41′23″E / 10.86250°N 78.68972°E / 10.86250; 78.68972
จารึกมากกว่า 600[note 1]
เว็บไซต์
www.srirangam.org

รังกนาตจุวามิโกยิล (ทมิฬ: அரங்கநாத சுவாமி கோயில்) เป็นโกยิลที่สร้างถวายพระศรีรังคนาถ คือปางไสยาสน์ของพระวิษณุ โกยิลนี้สร้างขึ้นตามสถาปัตยกรรมทราวิฑ ตั้งอยู่ในเมืองติรุวรังกัม เขตติรุจจิราปปัฬฬิ รัฐทมิฬนาฑู ประเทศอินเดีย[3] และโกยิลได้รับการเชิดชูโดยนักบวชอาฬวาร (Alvar) ใน ทิพยประพันธ์ (Divya Prabhandha)[4] และถือเป็นโกยิลสำคัญใน 108 โบสถ์พราหมณ์ "ทิพยเทศ" ที่สร้างถวายพระวิษณุ[3]

โกยิลนี้ถือเป็นโกยิลไวษณพที่มีสีสันฉูดฉาดและงดงามที่สุดในอินเดียใต้ โกยิลนี้ยังมีส่วนสำคัญยิ่งในประวัติของลัทธิไวษณพ เริ่มจากงานของรามานุชะ และนาถมุนีและยมุนาจารย์ซึ่งมาก่อนหน้าในติรุวรังกัม[5] สถานที่ตั้งซึ่งอยู่บนเกาะระหว่างแม่น้ำกลลิทัม และแม่น้ำกาเวรี[3] นั้นทำให้ประสบกับอุทกภัยได้ง่าย รวมทั้งทำให้ง่ายต่อการรุกรานและเปลี่ยนเป็นค่ายทหาร[6] โกยิลเคยถูกทำลายและปล้นชิงของมีค่าไปโดยกองทัพของรัฐสุลต่านเดลีซึ่งบุกเข้าโจมตีและทำลายล้างอาณาจักรปันทยะ (Pandya) เมื่อต้นคริสต์ศตวรรษที่ 14 และโกยิลก็ถูกสร้างขึ้นใหม่อีกในปลายคริสต์ศตวรรษเดียวกัน[7][8] โกยิลได้รับการสร้างให้แข็งแรงขึ้น ป้องกันมากขึ้น และสร้างโคปุรัมจำนวนมาก ขยายอาณาเขตของโกยิลมากในยุคคริสต์ศตวรรษที่ 16 และ 17[9][10] โกยิลนี้เคยเป็นหนึ่งในจุดศูนย์กลางสำคัญของขบวนการภักติ ร่วมไปกับการร่ายรำและขับร้อง[11]

อาณาเขตของติรุวรังกัมโกยิลคือ 155 เอเคอร์ มีศาลเจ้า 81 ศาล, หอและโคปุรัม 21 หอ, ศาลาและมณฑป 39 หลัง และแท็งก์น้ำจำนวนอีกมากมายที่ประกอบเข้ากับระบบไขน้ำและอนุชลประทานที่ซับซ้อนของโกยิล โกยิลนี้ในปัจจุบันถือว่าเป็นโบสถ์พราหมณ์ที่ใหญ่ที่สุดในโลกที่ยังคงมีการใช้ประกอบศาสนพิธีเป็นนิจอยู่[12][3]และถือเป็นแหล่งสำคัญของสถาปัตยกรรมทราวิฑดั้งเดิมที่ซับซ้อนและงดงามอย่างมีเสน่ห์

อ้างอิง

[แก้]
  1. Aguilar, Rafael; Torrealva, Daniel; Moreira, Susana; Pando, Miguel A.; Ramos, Luis F. (2018). Structural Analysis of Historical Constructions: An Interdisciplinary Approach (ภาษาอังกฤษ). Springer. ISBN 9783319994413. สืบค้นเมื่อ 26 February 2019.
  2. Stella Kramrisch 1988, p. 202-204 with footnotes.
  3. 3.0 3.1 3.2 3.3 3.4 อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ unescosrirang
  4. David N. Lorenzen 2005, pp. 52–54, 87–93.
  5. Spencer 1978, pp. 16–19.
  6. Spencer 1978, pp. 14–19.
  7. Hopkins 2002, pp. 68–69.
  8. Spencer 1978, pp. 19–21, Quote: "It was Malik Kafur's spectacular southern raid of 1310-11 AD which resulted in the initial plundering of the Srirangam, Chidambaram, and other famous temples of the Tamil country.".
  9. Abdur Rahman 1999, pp. 377–378.
  10. George Michell & Clare Arni 1999, pp. 76–77.
  11. T.S. Parthasarathy (1978), Music and Dance in Tamil Literature, Indian Literature, Vol. 21, No. 4, pages 137-148; Quote: "The hymns of the Divyaprabandham bad also been set to music and were being sung till the 14th century when the sack of Srirangam by Malik Kafur put an end to the practice."
  12. Mittal & Thursby 2005, p. 456.

บรรณานุกรม

[แก้]

ดูเพิ่ม

[แก้]


อ้างอิงผิดพลาด: มีป้ายระบุ <ref> สำหรับกลุ่มชื่อ "note" แต่ไม่พบป้ายระบุ <references group="note"/> ที่สอดคล้องกัน