ข้ามไปเนื้อหา

ระเบิดแสวงเครื่อง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อุปกรณ์อมภัณฑ์สำหรับระเบิดแสวงเครื่องที่ตำรวจอิรักค้นพบในกรุงแบกแดดเมื่อเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 2005
คูการ์คันนี้ในอัลอันบาร์ ประเทศอิรัก ถูกโจมตีโดยตรงจากระเบิดแสวงเครื่อง ที่มีขนาดประมาณ 300–500 ปอนด์

ระเบิดแสวงเครื่อง (อังกฤษ: Improvised explosive device; อักษรย่อ: IED) เป็นระเบิดที่สร้างขึ้นและใช้งานในรูปแบบอื่นนอกเหนือจากการปฏิบัติการทางการทหารแบบเดิม ๆ มันอาจจะสร้างขึ้นจากวัตถุระเบิดทางทหารตามแบบแผน เช่น ปืนใหญ่แนบกับกลไกการระเบิด ซึ่งระเบิดแสวงเครื่องมักใช้เป็นระเบิดข้างถนน[1]

ระเบิดแสวงเครื่องมักพบเห็นได้ในการกระทำของผู้ก่อการร้ายแบบรุนแรง หรือสงครามนอกแบบอสมมาตรโดยกองโจร หรือหน่วยคอมมานโดในปฏิบัติการเขตสงคราม ส่วนในสงครามอิรักครั้งที่สอง ระเบิดแสวงเครื่องถูกนำมาใช้อย่างกว้างขวางต่อกองกำลังของสหรัฐ และในช่วงท้ายปี ค.ศ. 2007 กองกำลังสหรัฐเสียชีวิตในประเทศอิรักด้วยระเบิดชนิดนี้ถึง 63 เปอร์เซ็นต์[2] และยังมีการใช้ในประเทศอัฟกานิสถานโดยกลุ่มผู้ประท้วง ทำให้เกิดการเสียชีวิตของพันธมิตรกว่า 66 เปอร์เซ็นต์จากสงครามในประเทศอัฟกานิสถาน ตั้งแต่ ค.ศ. 2001 จนถึงปัจจุบัน[3]

นอกจากนี้ ระเบิดแสวงเครื่องยังถูกนำมาใช้อย่างกว้างขวางโดยกลุ่มแกนนำพยัคฆ์ทมิฬอีแลม (LTTE) ซึ่งเป็นองค์กรต่อต้านเป้าหมายทางทหารในประเทศศรีลังกา[4][5]

ความพยายามต่อต้าน

[แก้]
นาวิกโยธินสหรัฐในประเทศอิรัก กับหุ่นยนต์ที่ใช้สำหรับการกำจัด
รถดันหุ้มเกราะไอดีเอฟ แคทเทอร์พิลลาร์ ดี9 ของอิสราเอล ซึ่งใช้โดยเหล่าทหารช่างกองกำลังป้องกันประเทศอิสราเอล สำหรับการกวาดล้างเบลลีชาร์จ และอาคารติดกับดัก

ความพยายามต่อต้านระเบิดแสวงเครื่องส่วนใหญ่ทำโดยทหาร, การบังคับใช้กฎหมาย, ในทางการทูต, การเงิน และชุมชนข่าวกรอง รวมถึงวิธีการที่ครอบคลุม เพื่อต่อต้านเครือข่ายภัยคุกคามที่ใช้ระเบิดแสวงเครื่อง โดยที่ไม่ใช่แค่ความพยายามในการกำจัดวัตถุระเบิดด้วยตัวเอง

การตรวจจับและการปลดอาวุธ

[แก้]

เนื่องจากส่วนประกอบของอุปกรณ์เหล่านี้มีการใช้งานในลักษณะที่ผู้ผลิตไม่ได้มุ่งหมายไว้ และเนื่องจากวิธีการผลิตระเบิดมีข้อจำกัดโดยวิชาและจินตนาการของผู้ก่อการเท่านั้น จึงเป็นไปไม่ได้ที่จะทำตามคำแนะนำทีละขั้นตอนเพื่อตรวจจับและปลดอุปกรณ์ที่บุคคลนั้นเพิ่งพัฒนาเมื่อไม่นานมานี้ อย่างเช่น ผู้ปฏิบัติการการทำลายล้างวัตถุระเบิด (IEDD) จะต้องสามารถย้อนกลับไปที่ความรู้ที่กว้างขวางของพวกเขาเกี่ยวกับหลักการแรกของวัตถุระเบิดและอมภัณฑ์ เพื่อลองและอนุมานสิ่งที่ผู้ก่อการได้กระทำ และจากนั้นจะทำให้ปลอดภัยและกำจัดหรือหาประโยชน์จากอุปกรณ์ นอกเหนือจากนี้ ในฐานะการเสี่ยงเพิ่มขึ้นและระเบิดแสวงเครื่องได้ถูกวางไว้ไม่เพียงแต่เพื่อให้บรรลุผลโดยตรง แต่เพื่อจงใจกำหนดเป้าหมายผู้ปฏิบัติการการทำลายล้างวัตถุระเบิดและบุคคลที่เกี่ยวข้องกับวงล้อม ผู้ปฏิบัติการการทำลายล้างวัตถุระเบิดจำเป็นต้องมีความเข้าใจอย่างลึกซึ้งเกี่ยวกับกลยุทธ์เพื่อให้แน่ใจว่าเขาไม่ได้ตั้งทีมใด ๆ หรือกองทหารวงล้อมสำหรับการถูกโจมตี หรือเดินเข้าหาตัวเขาเอง ส่วนการมีอยู่ของวัตถุสารเคมี, ชีวภาพ, รังสี หรือนิวเคลียร์ (CBRN) ในระเบิดแสวงเครื่องนั้นต้องมีการระมัดระวังเพิ่มเติม เช่นเดียวกับภารกิจอื่น ๆ ผู้ปฏิบัติการหน่วยทำลายล้างวัตถุระเบิดจะจัดเตรียมการประเมินสถานการณ์และการสนับสนุนที่จำเป็นเพื่อทำภารกิจให้สำเร็จ

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. ระเบิดแสวงเครื่อง : นักฆ่าในโลกปัจจุบัน! : ประชาชาติธุรกิจออนไลน์ (ไทย)
  2. iCasualties: OIF - Deaths by IED เก็บถาวร มกราคม 13, 2009 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  3. "home.mytelus.com". home.mytelus.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-03-14. สืบค้นเมื่อ 2012-05-11.
  4. "Suicide Terrorism: A Global Threat". Pbs.org. สืบค้นเมื่อ 2009-10-18.
  5. "13 killed in blasts, arson in Sri Lanka". Chennai, India: Hindu.com. 2006-04-13. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2006-04-14. สืบค้นเมื่อ 2009-10-18.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]