ข้ามไปเนื้อหา

รอบหัวใจเต้น

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เหตุการณ์ของหัวใจระหว่างรอบหัวใจเต้น ในแผนภาพแสดงรอบหัวใจเต้นสองรอบสมบูรณ์

รอบหัวใจเต้น หมายถึง การเต้นของหัวใจสมบูรณ์ตั้งแต่การสร้างจนถึงเริ่มการเต้นครั้งถัดไป จึงรวมทั้งช่วงหัวใจคลายตัว (diastole) ช่วงการบีบตัวของหัวใจ (systole) และการพักแทรก (intervening pause) ความถี่ของรอบหัวใจเต้นอธิบายด้วยอัตราหัวใจเต้น ซึ่งตรงแบบแสดงเป็นครั้งต่อนาที การเต้นของหัวใจแต่ละครั้งมีห้าขั้น สองขั้นแรกซึ่งมักอธิบายร่วมกันเป็นขั้น "เติมหัวใจห้องล่าง" (ventricular filling) เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนที่ของเลือดจากหัวใจห้องบนลงสู่หัวใจห้องล่าง สามขั้นถัดมาเกี่ยวข้องกับการเคลื่อนที่ของเลือดจากหัวใจห้องล่างสู่หลอดเลือดแดงปอด (กรณีเป็นหัวใจห้องล่างขวา) และเอออร์ตา (กรณีเป็นหัวใจห้องซ้ายล่าง)[1]

ขั้นแรก "ช่วงหัวใจคล้ายตัวต้น" (early diastole) คือ เมื่อลิ้นจันทร์ครึ่งเสี้ยว (ลิ้นพัลโมนารีและเอออร์ติก) ปิด ลิ้นหัวใจห้องบนห้องล่าง (เอวี) (ลิ้นไมทรัลและไตรคัสพิด) เปิด และหัวใจทั้งหมดคลายตัว ขั้นที่สอง "ช่วงการบีบตัวของหัวใจห้องบน" (atrial systole) คือ เมื่อหัวใจห้องบนบีบตัว และเลือดไหลจากหัวใจห้องบนสู่หัวใจห้องล่าง ขั้นที่สาม "การบีบตัวคงปริมาตร" (isovolumic contraction) คือ เมื่อหัวใจห้องล่างเริ่มบีบตัว ลิ้นเอวีและลิ้นจันทร์ครึ่งเสี้ยวปิด และไม่มีการเปลี่ยนแปลงปริมาตร ขั้นที่สี่ "การขับของหัวใจห้องล่าง" (ventricular ejection) คือ เมื่อหัวใจห้องล่างบีบตัวและขจัดของที่บรรจุอยู่ และลิ้นจันทร์ครึ่งเสี้ยวเปิด ระหว่างขั้นที่ห้า "เวลาหย่อนคงปริมาตร" (isovolumic relaxation time) ความดันลดลง ไม่มีเลือดเข้าสู่หัวใจห้องล่าง หัวใจห้องล่างหยุดบีบตัวและเริ่มคลายตัว และลิ้นจันทร์ครึ่งเสี้ยวปิดเพราะความดันของเลือดในเอออร์ตา

ตลอดทั้งรอบหัวใจเต้น ความดันเลือดเพิ่มขึ้นและลดลง ชุดพลังผลักดันไฟฟ้าซึ่งผลิตจากเซลล์หัวใจที่เปลี่ยนไปทำหน้าที่เฉพาะซึ่งพบในไซโนเอเตรียลโนดและเอตริโอเวนตริคูลาร์โนดประสานงานรอบหัวใจเต้น กล้ามเนื้อหัวใจประกอบด้วยเซลล์หัวใจซึ่งเริ่มการหดตัวของมันเองโดยไม่ต้องอาศัยเส้นประสาทจากภายนอก (ยกเว้นการดัดแปลงอัตราหัวใจเต้นเนื่องจากความต้องการทางเมแทบอลิซึม) ภายใต้สภาพแวดล้อมปกติ รอบหัวใจเต้นแต่ละรอบกินเวลา 0.8 วินาที[2]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Guyton, A.C. & Hall, J.E. (2006) Textbook of Medical Physiology (11th ed.) Philadelphia: Elsevier Saunder ISBN 0-7216-0240-1
  2. "Heart cycle time interval". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-03-18. สืบค้นเมื่อ 9 September 2013.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]