ช่วงพีอาร์
หน้าตา
(เปลี่ยนทางจาก PR interval)

ในอิเล็กโทรคาร์ดิโอกราฟี ช่วงพีอาร์ (อังกฤษ: PR interval) เป็นช่วงที่กินเวลาตั้งแต่จุดเริ่มต้นคลื่นพี (เริ่มต้นการดีโพลาไรส์ของหัวใจห้องบน) จนถึงจุดเริ่มของชุดคิวอาร์เอส (เริ่มต้นการดีโพลาไรส์ของหัวใจห้องล่าง) โดยทั่วไปมีระยะเวลาอยู่ที่ 120 ถึง 200 มิลลิวินาที
บางทีปรากฏเรียกช่วงพีอาร์ว่า ช่วงพีคิว (อังกฤษ: PQ interval)
การแปลผล
[แก้]ลักษณะเปลี่ยนแปลงของช่วงพีอาร์สามารถแสดงถึงอาการทางการแพทย์บางประการได้ เช่น
- ช่วงพีอาร์ที่ยาว (มากกว่า 200 ms) แสดงการช้าลงของการส่งต่อสัญญาณระหว่างหัวใจห้องบนและล่าง โดยส่วนใหญ่เกิดจากเอวีโหนด[1] หรือรู้จักในชื่อบล็อคหัวใจปฐมภูมิ[1]
- ช่วงพีอาร์ที่มีความยาวสั้นลงอาจระบุถึงการบาดเจ็บของหัวใจห้องบน[2] หรือเพริคาร์เดียอักเสบ[3]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 Clinical cardiac electrophysiology in clinical practice. Huang, David T.,, Prinzi, Travis. Berlin. December 2014. ISBN 978-1-4471-5433-4. OCLC 897466910.
{{cite book}}
: CS1 maint: others (ลิงก์) - ↑ Rao, B.N. Vijay Raghawa (2009). "Evolution of ECG Changes". Clinical Examinations in Cardiology. pp. 561–2. ISBN 978-81-312-0964-6.
- ↑ Pedley, D. K.; Brett, C; Nichol, N (2002). "P-R segment depression: An early diagnostic feature in acute pericarditis: A telephone survey of UK accident and emergency departments". European Journal of Emergency Medicine. 9 (1): 43–5. doi:10.1097/00063110-200203000-00010. PMID 11989495.