รถชี้ทิศใต้
รถชี้ทิศใต้ | |||||||||||||
ชื่อภาษาจีน | |||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
อักษรจีนตัวเต็ม | 指南車 | ||||||||||||
อักษรจีนตัวย่อ | 指南车 | ||||||||||||
| |||||||||||||
ชื่อภาษาเวียดนาม | |||||||||||||
จื๋อโกว๊กหงือ | xe chỉ nam chỉ nam xa | ||||||||||||
ฮ้าน-โนม | 車指南 指南車 | ||||||||||||
ชื่อภาษาเกาหลี | |||||||||||||
ฮันกึล | 지남차 | ||||||||||||
ฮันจา | 指南車 | ||||||||||||
|
รถชี้ทิศใต้ หรือ จื่อหนานเชอ (จีนตัวย่อ: 指南车; จีนตัวเต็ม: 指南車; พินอิน: zhǐ nán chē) เป็นยานพาหนะสองล้อของจีนโบราณที่บรรทุกตัวชี้ที่เคลื่อนย้ายได้เพื่อระบุทิศใต้ไม่ว่ารถจะหันไปทางใด ตัวชี้มักอยู่รูปของตุ๊กตาหรือรูปคนที่มีแขนยื่นออกมา เชื่อว่ารถถูกใช้เป็นเข็มทิศสำหรับการเดินเรือและอาจมีวัตถุประสงค์อื่น ๆ ด้วย
ชาวจีนโบราณประดิษฐ์รถหุ้มเกราะเมื่อศตวรรษที่ 5 ก่อนคริสตกาลเรียกว่าต้งอูเชอ (จีน: 洞屋车) ใช้เพื่อจุดประสงค์ในการปกป้องนักรบในสมรภูมิ รถศึกของจีนได้รับการออกแบบให้เป็นรถป้องกันประเภทหนึ่งที่มีหลังคาคล้ายเพิง ใช้สำหรับแล่นบนกำแพงป้อมปราการของเมืองเพื่อป้องกันป้อมปราการจากทหารข้าศึกที่ขุดอุโมงค์อยู่ด้านล่างเพื่อบั่นทอนรากฐานของกำแพง รถศึกของจีนในยุคต้นกลายเป็นพื้นฐานของเทคโนโลยีในการสร้างรถชี้ทิศใต้ของจีนโบราณ[1][2]
มีตำนานเกี่ยวกับรถชี้ทิศใต้ในยุคต้น ๆ แต่รถชี้ทิศใต้ที่มีบันทึกถึงการสร้างที่เชื่อถือได้เป็นครั้งแรก ถูกสร้างขึ้นโดยม้ากิ้น (ป. ค.ศ. 200 - 265) วิศวกรเครื่องกลชาวจีนของรัฐวุยก๊กในยุคสามก๊ก ปัจจุบันไม่มีรถโบราณหลงเหลืออยู่ แต่มีตำราจีนโบราณจำนวนมากที่ยังหลงเหลืออยู่ที่มีการกล่าวถึงรถเหล่านี้ กล่าวว่ารถเหล่านี้ถูกใช้เป็นระยะ ๆ จนถึงราวปี ค.ศ. 1300 ตำราบางส่วนมีข้อมูลเกี่ยวกับส่วนประกอบภายในและกลไกการทำงาน
อาจมีรถชี้ทิศใต้หลายประเภทที่มีกลไกการทำงานที่แตกต่างกัน ในรถส่วนใหญ่หรือทั้งหมด ล้อที่หมุนบนพื้นจะมีผลต่อกลไกเฟืองเพื่อให้ตัวชี้ยังคงเล็งตำแหน่งที่ถูกต้อง กลไกนี้ไม่มีแม่เหล็กและไม่สามารถตรวจจับทิศทางว่าเป็นทิศใต้ได้โดยอัตโนมัติ ตัวชี้ถูกเล็งตำแหน่งไปทางทิศใต้ด้วยมือเมื่อเริ่มต้นเดินทาง ต่อมาเมื่อรถเลี้ยว กลไกจะหมุนตัวชี้ให้สัมพันธ์กับตัวรถเพื่อตอบสนองต่อการเลี้ยวและให้ตัวชี้ยังคงเล็งไปยังทิศทางที่คงที่คือทางทิศใต้ ดังนั้นกลไกนี้จึงทำสิ่งที่เป็นเหมือนการเดินเรือรายงาน (dead reckoning) ประเภทหนึ่ง ซึ่งมีแนวโน้มทำให้เกิดความคลาดเคลื่อนสะสมและความไม่แน่นอน กลไกของรถบางคันอาจมีเฟืองท้าย
ดูเพิ่ม
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ Haskew, Michael E; Jorgensen, Christer; McNab, Chris; Niderost, Eric (2008). Fighting Techniques of the Oriental World 1200-1860. Metro Books. p. 179. ISBN 978-1905704965.
- ↑ Lu, Yongxiang (2014). A History of Chinese Science and Technology. Vol. 3. Springer (ตีพิมพ์ October 20, 2014). p. 516. ISBN 978-3662441626.
บรรณานุกรม
[แก้]- The Chinese South-Seeking chariot: A simple mechanical device for visualizing curvature and parallel transport M. Santander, American Journal of Physics – September 1992 – Volume 60, Issue 9, pp. 782–787
- Needham, Joseph (1986). Science and Civilization in China: Volume 4, Part 2. Taipei: Caves Books, Ltd.
- Kit Williams, Engines of Ingenuity, Gingko Press (February 2002), ISBN 978-1-58423-106-6
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- South Pointing Things – Useful site with lot of info, images and plans for building chariots
- RLT – Fully functional model kit
- A video of a 3D model of an open differential