ยุทธการที่โกหิมา
บทความนี้อาจต้องการตรวจสอบต้นฉบับ ในด้านไวยากรณ์ รูปแบบการเขียน การเรียบเรียง คุณภาพ หรือการสะกด คุณสามารถช่วยพัฒนาบทความได้ |
ยุทธการที่โกหิมา | |||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|
ส่วนหนึ่งของ ปฏิบัติการอู-โกในช่วงการทัพพม่าในเขตสงครามเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในสงครามโลกครั้งที่สอง | |||||||
ภาพถ่ายของสมรภูมิเนินเขาแกริสัน, กุญแจสำคัญในการป้องกันของอังกฤษที่โกหิมา | |||||||
| |||||||
คู่สงคราม | |||||||
ญี่ปุ่น | |||||||
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ | |||||||
มอนตากู สต็อปฟอร์ด | โคโตกุ ซาโต้ | ||||||
กำลัง | |||||||
เริ่มต้น: 1 กองพลน้อยทหารราบ (1,500 นาย) จุดจบ: 2 กองพลทหารราบ 1 กองพลน้อย ชินดิต 1 กองพลน้อยยานยนต์ | 1 กองพลทหารราบ (15,000–20,000 นาย)[1] | ||||||
ความสูญเสีย | |||||||
4,064 นาย[2] |
5,764–7,000 นาย[2] (เสียชีวิตจากการสู้รบเท่านั้น, การสูญเสียเพิ่มเติมจากโรคภัยและความอดอยาก)[3][4] |
ยุทธการที่โกหิมา เป็นจุดเปลี่ยนของการรุกอู-โกของญี่ปุ่นในการเข้าสู่อินเดีย ใน ค.ศ. 1944 ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง การรบครั้งนี้ได้เกิดขึ้นในสามระยะ ตั้งแต่วันที่ 4 เมษายน ถึง 22 มิถุนายน ค.ศ. 1944 บริเวณรอบเมืองโกหิมา ซึ่งปัจจุบันเป็นเมืองหลวงของรัฐนาคาแลนด์ในอินเดียภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ตั้งแต่วันที่ 3 ถึง 16 เมษายน ญุี่ปุ่นได้พยายามที่จะเข้ายึดสันเขาโกหิมา ภูมิประเทศที่ครอบงำถนนซึ่งกองทหารอังกฤษและอินเดียของกองทัพน้อยที่ 4 ที่ถูกปิดล้อม ณ อิมผาล ได้รับการเสริมกำลัง ในช่วงกลางเดือนเมษายน กองกำลังขนาดเล็กของอังกฤษและอินเดียที่โกหิมาได้รับการปลดปล่อย
ตั้งแต่วันที่ 18 เมษายน ถึง 13 พฤษภาคม กองกำลังหนุนของอังกฤษและอินเดียได้โจมตีตอบโต้กลับเพื่อขับไล่ญี่ปุ่นออกไปจากตำแหน่งที่พวกเขายึดครอง ญี่ปุ่นต้องละทิ้งสันเขา ณ จุดนี้แต่ยังคงปิดกั้นถนนโกหิมา-อิมผาลต่อไป ตั้งแต่วันที่ 16 พฤษภาคม ถึง 22 มิถุนายน กองทหารอังกฤษและอินเดียได้ไล่ตามพวกญี่ปุ่นที่กำลังล่าถอยและเปิดถนนอีกครั้ง การรบครั้งนี้ได้สิ้นสุดลงในวันที่ 22 มิถุนายน เมื่อกองทหารอังกฤษและอินเดียจากโกหิมาและอิมผาลได้พบกันที่หลักไมล์ 109 เป็นจุดสิ้นสุดของการล้อมอิมผาล
ใน ค.ศ. 2013 การสำรวจความคิดเห็นที่ถูกจัดทำขึ้นโดยพิพิธภัณฑ์กองทัพบกแห่งชาติอังกฤษได้โหวตให้ยุทธการที่โกหิมาและอิมผาลเป็น "การรบที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของอังกฤษ"[5] ยุทธการที่โกหิมาและอิมผาลได้ถูกเรียกโดยนักเขียน เช่น มาร์ติน โดเฮอร์ตีและโจนาธาน ริตเตอร์ ว่าเป็น "สตาลินกราดตะวันออก"[6][7] นักประวัติศาสตร์การทหารนามว่า โรเบิร์ต ไลแมนได้กล่าวว่า ยุทธการที่โกหิมาและอิมผาล "ได้เปลี่ยนเส้นทางของสงครามโลกครั้งที่สองในเอเชีย... เป็นครั้งแรกที่ญี่ปุ่นได้พ่ายแพ้ในการสู้รบและพวกเขาไม่เคยฟื้นฟูจากสงครามเลย"[8] อย่างไรก็ตาม การประเมินผลนี้ได้เพิกเฉยหลายครั้งต่อยุทธการที่ฉางซา (เริ่มต้นใน ค.ศ. 1939) ยุทธการที่อ่าวมิลน์ (กันยายน ค.ศ. 1942) และยุทธการที่กัวดาคาแนล (สิงหาคม ค.ศ. 1942 - กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1943) ความพ่ายแพ้ครั้งใหญ่ของญี่ปุ่นบนบกทั้งหมด นอกนี้ยังได้เพิกเฉยต่อข้อเท็จจริงที่ว่า กองกำลังทางบกของญี่ปุ่นส่วนใหญ่ที่ได้เข้าต่อสู้รบกับจีน - ในปฏิบัติการอิชิโก พวกเขาสูญเสียทหารไป 10,000 นายใน ค.ศ. 1944 เพียงปีเดียว
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Allen 2000, p. 228.
- ↑ 2.0 2.1 Allen 2000, p. 643.
- ↑ Rooney 1992, pp. 103–104.
- ↑ Allen 2000, pp. 313–314.
- ↑ "Britain's Greatest Battles". National Army Museum. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 December 2013. สืบค้นเมื่อ 15 December 2015.
- ↑ Dougherty 2008, p. 159.
- ↑ Ritter 2017, p. 123.
- ↑ Ethirajan, Anbarasan (14 February 2021). "Kohima: Britain's 'forgotten' battle that changed the course of WWII". BBC News.