ยุทธการที่โกหิมา

พิกัด: 25°39′59″N 94°06′01″E / 25.66639°N 94.10035°E / 25.66639; 94.10035
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ยุทธการที่โกหิมา
ส่วนหนึ่งของ ปฏิบัติการอู-โกในช่วงการทัพพม่าในเขตสงครามเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในสงครามโลกครั้งที่สอง

ภาพถ่ายของสมรภูมิเนินเขาแกริสัน, กุญแจสำคัญในการป้องกันของอังกฤษที่โกหิมา
วันที่4 เมษายน – 22 มิถุนายน ค.ศ. 1944
สถานที่25°39′59″N 94°06′01″E / 25.66639°N 94.10035°E / 25.66639; 94.10035
ผล ฝ่ายสัมพันธมิตรได้รับชัยชนะ
คู่สงคราม

สหราชอาณาจักร สหราชอาณาจักร

จักรวรรดิญี่ปุ่น ญี่ปุ่น
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ
สหราชอาณาจักร มอนตากู สต็อปฟอร์ด จักรวรรดิญี่ปุ่น โคโตกุ ซาโต้
กำลัง
เริ่มต้น:
1 กองพลน้อยทหารราบ (1,500 นาย)
จุดจบ:
2 กองพลทหารราบ
1 กองพลน้อย ชินดิต
1 กองพลน้อยยานยนต์
1 กองพลทหารราบ (15,000–20,000 นาย)[1]
ความสูญเสีย
4,064 นาย[2] 5,764–7,000 นาย[2]
(เสียชีวิตจากการสู้รบเท่านั้น, การสูญเสียเพิ่มเติมจากโรคภัยและความอดอยาก)[3][4]

ยุทธการที่โกหิมา เป็นจุดเปลี่ยนของการรุกอู-โกของญี่ปุ่นในการเข้าสู่อินเดีย ใน ค.ศ. 1944 ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง การรบครั้งนี้ได้เกิดขึ้นในสามระยะ ตั้งแต่วันที่ 4 เมษายน ถึง 22 มิถุนายน ค.ศ. 1944 บริเวณรอบเมืองโกหิมา ซึ่งปัจจุบันเป็นเมืองหลวงของรัฐนาคาแลนด์ในอินเดียภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ตั้งแต่วันที่ 3 ถึง 16 เมษายน ญุี่ปุ่นได้พยายามที่จะเข้ายึดสันเขาโกหิมา ภูมิประเทศที่ครอบงำถนนซึ่งกองทหารอังกฤษและอินเดียของกองทัพน้อยที่ 4 ที่ถูกปิดล้อม ณ อิมผาล ได้รับการเสริมกำลัง ในช่วงกลางเดือนเมษายน กองกำลังขนาดเล็กของอังกฤษและอินเดียที่โกหิมาได้รับการปลดปล่อย

ตั้งแต่วันที่ 18 เมษายน ถึง 13 พฤษภาคม กองกำลังหนุนของอังกฤษและอินเดียได้โจมตีตอบโต้กลับเพื่อขับไล่ญี่ปุ่นออกไปจากตำแหน่งที่พวกเขายึดครอง ญี่ปุ่นต้องละทิ้งสันเขา ณ จุดนี้แต่ยังคงปิดกั้นถนนโกหิมา-อิมผาลต่อไป ตั้งแต่วันที่ 16 พฤษภาคม ถึง 22 มิถุนายน กองทหารอังกฤษและอินเดียได้ไล่ตามพวกญี่ปุ่นที่กำลังล่าถอยและเปิดถนนอีกครั้ง การรบครั้งนี้ได้สิ้นสุดลงในวันที่ 22 มิถุนายน เมื่อกองทหารอังกฤษและอินเดียจากโกหิมาและอิมผาลได้พบกันที่หลักไมล์ 109 เป็นจุดสิ้นสุดของการล้อมอิมผาล

ใน ค.ศ. 2013 การสำรวจความคิดเห็นที่ถูกจัดทำขึ้นโดยพิพิธภัณฑ์กองทัพบกแห่งชาติอังกฤษได้โหวตให้ยุทธการที่โกหิมาและอิมผาลเป็น "การรบที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของอังกฤษ"[5] ยุทธการที่โกหิมาและอิมผาลได้ถูกเรียกโดยนักเขียน เช่น มาร์ติน โดเฮอร์ตีและโจนาธาน ริตเตอร์ ว่าเป็น "สตาลินกราดตะวันออก"[6][7] นักประวัติศาสตร์การทหารนามว่า โรเบิร์ต ไลแมนได้กล่าวว่า ยุทธการที่โกหิมาและอิมผาล "ได้เปลี่ยนเส้นทางของสงครามโลกครั้งที่สองในเอเชีย... เป็นครั้งแรกที่ญี่ปุ่นได้พ่ายแพ้ในการสู้รบและพวกเขาไม่เคยฟื้นฟูจากสงครามเลย"[8] อย่างไรก็ตาม การประเมินผลนี้ได้เพิกเฉยหลายครั้งต่อยุทธการที่ฉางซา (เริ่มต้นใน ค.ศ. 1939) ยุทธการที่อ่าวมิลน์ (กันยายน ค.ศ. 1942) และยุทธการที่กัวดาคาแนล (สิงหาคม ค.ศ. 1942 - กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1943) ความพ่ายแพ้ครั้งใหญ่ของญี่ปุ่นบนบกทั้งหมด นอกนี้ยังได้เพิกเฉยต่อข้อเท็จจริงที่ว่า กองกำลังทางบกของญี่ปุ่นส่วนใหญ่ที่ได้เข้าต่อสู้รบกับจีน - ในปฏิบัติการอิชิโก พวกเขาสูญเสียทหารไป 10,000 นายใน ค.ศ. 1944 เพียงปีเดียว

อ้างอิง[แก้]

  1. Allen 2000, p. 228.
  2. 2.0 2.1 Allen 2000, p. 643.
  3. Rooney 1992, pp. 103–104.
  4. Allen 2000, pp. 313–314.
  5. "Britain's Greatest Battles". National Army Museum. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 December 2013. สืบค้นเมื่อ 15 December 2015.
  6. Dougherty 2008, p. 159.
  7. Ritter 2017, p. 123.
  8. Ethirajan, Anbarasan (14 February 2021). "Kohima: Britain's 'forgotten' battle that changed the course of WWII". BBC News.