ข้ามไปเนื้อหา

ยุทธการที่อินช็อน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ยุทธการที่อินช็อน
ส่วนหนึ่งของ สงครามเกาหลี

เรือลำเลียงรถถังขึ้นบกสี่ลำซึ่งขนมาทั้งคนและอุปกรณ์บนหาดแดง หนึ่งวันหลังยกพลขึ้นบกที่อินช็อน
วันที่10–19 กันยายน ค.ศ. 1950
(10–15 กันยายน – จุดระดมยิงปืนใหญ่ในโวลมิโดและอินช็อน)
(15–19 กันยายน – การยกพลขึ้นบกที่อินช็อน)
สถานที่
ผล สหประชาชาติชนะ
คู่สงคราม
 เกาหลีเหนือ
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ
หน่วยที่เกี่ยวข้อง

สหรัฐอเมริกา X Corps

  • 226th Marine Regiment
  • 918th Artillery Regiment
กำลัง
ความสูญเสีย
สหรัฐอเมริกา 224 killed
809 wounded
2 cruisers damaged
3 destroyers damaged
1 LST lost and 3 damaged
1 aircraft destroyed
  • 1,350 killed
  • 1 fortress damaged
  • 1 patrol boat sunk
  • 1 aircraft destroyed

ยุทธการที่อินช็อน (เกาหลี인천상륙작전; ฮันจา仁川上陸作戰; อาร์อาร์Inchon Sangnyuk Jakjeon) เป็นการบุกครองด้วยการยกพลขึ้นบกและการสู้รบในสงครามเกาหลี ซึ่งส่งผลลัพธ์ให้ได้รับชัยชนะที่เด็ดขาดและการพลิกกลับสถานการณ์ทางยุทธศาสตร์เพื่อสนับสนุนแก่กองบัญชาการสหประชาชาติ(UN) ปฏิบัติการดังกล่าวเกี่ยวข้องกับกองกำลังทหารจำนวน 75,000 นาย และเรือรบ 261 ลำ และนำไปสู่การยึดครองกรุงโซล เมืองหลวงของเกาหลีใต้กลับคืนมาในอีกสองสัปดาห์ต่อมา ชื่อรหัสสำหรับปฏิบัติการครั้งนี้คือ ปฏิบัติการโครไมต์

การสู้รบเริ่มต้นขึ้นในวันที่ 15 กันยายน ค.ศ. 1950 และสิ้นสุดลงในวันที่ 19 กันยายน ด้วยการจู่โจมยกพลขึ้นบกที่น่าประหลาดใจซึ่งอยู่ห่างไกลจากวงรอบปูซาน ซึ่งกองทัพสหประชาชาติและกองทัพสาธารณรัฐเกาหลี(ROK) ได้ทำการป้องกันอย่างเอาเป็นเอาตาย เมืองอินช็อนที่ไร้การป้องกันส่วนใหญ่ได้ถูกรักษาการณ์ ภายหลังจากถูกทิ้งระเบิดโดยกองทัพสหประชาชาติ การสู้รบครั้งนี้ได้ทำให้ชัยชนะของกองทัพประชาชนเกาหลี(KPA) ของเกาหลีเหนือต้องจบลง ภายหลังจากสหประชาชาติได้ยึดครองกรุงโซลกลับคืนมาได้แล้ว ทำให้สายส่งเสบียงของกองทัพประชาชนเกาหลีเหนือในเกาหลีใต้ได้ถูกตัดขาดไปเพียงบางส่วน

กองทัพสหประชาชาติและกองทัพสาธารณรัฐเกาหลีได้รับคำสั่งจากนายพลแห่งกองทัพ ดักลาส แมกอาเธอร์ แห่งกองทัพบกสหรัฐ แมกอาเธอร์ได้เป็นแรงผลักดันที่อยู่เบื้องหลังปฏิบัติการ การเอาชนะความเคลือบแคลงอย่างรุนแรงของเหล่านายพลที่คอยระมัดระวังมากขึ้นที่จะเข้าโจมตีที่มีความเสี่ยงในภูมิประเทศที่ไม่เอื้ออำนวยอย่างมาก การสู้รบที่ตามมาด้วยการล่มสลายอย่างรวดเร็วของกองทัพประชาชนเกาหลี ภายในหนึ่งเดือนของการยกพลขึ้นบกที่อินช็อน อเมริกันได้จับกุมเชลยศึกจากทหารของกองทัพประชาชนเกาหลีจำนวน 135,000 นาย[4]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Halberstam 2007, p. 302
  2. Utz, Curtis (2000). Assault from the Sea: The Amphibious Landing at Inchon. Washington: Naval Historical Center, Dept. of the Navy. p. 24. ISBN 0945274270.
  3. Hoyt 1984, p. 11. They did not anticipate any air opposition for, as far as intelligence knew, the North Koreans had only nineteen planes left.
  4. Stueck, William W. (2002), Rethinking the Korean War: A New Diplomatic and Strategic History, Princeton, NJ: Princeton University Press, ISBN 978-0691118475 Page 202.