ยุทธการที่อินช็อน
ยุทธการที่อินช็อน | |||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|
ส่วนหนึ่งของ สงครามเกาหลี | |||||||
เรือลำเลียงรถถังขึ้นบกสี่ลำซึ่งขนมาทั้งคนและอุปกรณ์บนหาดแดง หนึ่งวันหลังยกพลขึ้นบกที่อินช็อน | |||||||
| |||||||
คู่สงคราม | |||||||
เกาหลีเหนือ | |||||||
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ | |||||||
| |||||||
หน่วยที่เกี่ยวข้อง | |||||||
|
| ||||||
กำลัง | |||||||
|
| ||||||
ความสูญเสีย | |||||||
224 killed 809 wounded 2 cruisers damaged 3 destroyers damaged 1 LST lost and 3 damaged 1 aircraft destroyed |
|
ยุทธการที่อินช็อน (เกาหลี: 인천상륙작전; ฮันจา: 仁川上陸作戰; อาร์อาร์: Inchon Sangnyuk Jakjeon) เป็นการบุกครองด้วยการยกพลขึ้นบกและการสู้รบในสงครามเกาหลี ซึ่งส่งผลลัพธ์ให้ได้รับชัยชนะที่เด็ดขาดและการพลิกกลับสถานการณ์ทางยุทธศาสตร์เพื่อสนับสนุนแก่กองบัญชาการสหประชาชาติ(UN) ปฏิบัติการดังกล่าวเกี่ยวข้องกับกองกำลังทหารจำนวน 75,000 นาย และเรือรบ 261 ลำ และนำไปสู่การยึดครองกรุงโซล เมืองหลวงของเกาหลีใต้กลับคืนมาในอีกสองสัปดาห์ต่อมา ชื่อรหัสสำหรับปฏิบัติการครั้งนี้คือ ปฏิบัติการโครไมต์
การสู้รบเริ่มต้นขึ้นในวันที่ 15 กันยายน ค.ศ. 1950 และสิ้นสุดลงในวันที่ 19 กันยายน ด้วยการจู่โจมยกพลขึ้นบกที่น่าประหลาดใจซึ่งอยู่ห่างไกลจากวงรอบปูซาน ซึ่งกองทัพสหประชาชาติและกองทัพสาธารณรัฐเกาหลี(ROK) ได้ทำการป้องกันอย่างเอาเป็นเอาตาย เมืองอินช็อนที่ไร้การป้องกันส่วนใหญ่ได้ถูกรักษาการณ์ ภายหลังจากถูกทิ้งระเบิดโดยกองทัพสหประชาชาติ การสู้รบครั้งนี้ได้ทำให้ชัยชนะของกองทัพประชาชนเกาหลี(KPA) ของเกาหลีเหนือต้องจบลง ภายหลังจากสหประชาชาติได้ยึดครองกรุงโซลกลับคืนมาได้แล้ว ทำให้สายส่งเสบียงของกองทัพประชาชนเกาหลีเหนือในเกาหลีใต้ได้ถูกตัดขาดไปเพียงบางส่วน
กองทัพสหประชาชาติและกองทัพสาธารณรัฐเกาหลีได้รับคำสั่งจากนายพลแห่งกองทัพ ดักลาส แมกอาเธอร์ แห่งกองทัพบกสหรัฐ แมกอาเธอร์ได้เป็นแรงผลักดันที่อยู่เบื้องหลังปฏิบัติการ การเอาชนะความเคลือบแคลงอย่างรุนแรงของเหล่านายพลที่คอยระมัดระวังมากขึ้นที่จะเข้าโจมตีที่มีความเสี่ยงในภูมิประเทศที่ไม่เอื้ออำนวยอย่างมาก การสู้รบที่ตามมาด้วยการล่มสลายอย่างรวดเร็วของกองทัพประชาชนเกาหลี ภายในหนึ่งเดือนของการยกพลขึ้นบกที่อินช็อน อเมริกันได้จับกุมเชลยศึกจากทหารของกองทัพประชาชนเกาหลีจำนวน 135,000 นาย[4]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Halberstam 2007, p. 302
- ↑ Utz, Curtis (2000). Assault from the Sea: The Amphibious Landing at Inchon. Washington: Naval Historical Center, Dept. of the Navy. p. 24. ISBN 0945274270.
- ↑ Hoyt 1984, p. 11 . They did not anticipate any air opposition for, as far as intelligence knew, the North Koreans had only nineteen planes left.
- ↑ Stueck, William W. (2002), Rethinking the Korean War: A New Diplomatic and Strategic History, Princeton, NJ: Princeton University Press, ISBN 978-0691118475 Page 202.