ยุทธการที่อัยน์ญาลูต

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ยุทธการที่อัยน์ญาลูต
ส่วนหนึ่งของ การตีโฉบฉวยในปาเลสไตน์ของทัพมองโกล
วันที่3 กันยายน ค.ศ. 1260
สถานที่
อัยน์ญาลูต, กาลิลี[1]
ผล

ฝ่ายมัมลูกชนะอย่างเด็ดขาด

คู่สงคราม
รัฐสุลต่านมัมลูก
เอมีร์แห่งเครักกับฮามะฮ์แห่งอัยยูบิด

จักรวรรดิข่านอิล (จักรวรรดิมองโกล)
* ราชอาณาจักรจอร์เจีย
* ราชอาณาจักรซิลิเชีย

เอมีร์แห่งฮอมส์กับบาเนียสแห่งอัยยูบิด
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ
ซัยฟุดดีน กุฏุซ
บัยบัรส์
อัลมันศูรแห่งฮามะฮ์
คิตบูกา  
อัลอัชร็อฟแห่งฮอมส์
อัสซะอีดแห่งบาเนียส
หน่วยที่เกี่ยวข้อง
ทหารม้าเบากับคนยิงม้า, ทหารม้าหนัก, ทหารราบ ทหารม้าถือทวนกับคนยิงม้ามองโกล, ทหารชาวอาร์มีเนียซีลีเซีย, กองทหารจอร์เจีย, กองทหารท้องถิ่นอัยยูบิด
กำลัง
15–20,000 คน[2][3][4] 10–20,000 คน[5][6][7][8][9][10]
ความสูญเสีย
ไม่ทราบ ทหารส่วนใหญ่[11][12][13]

ยุทธการที่อัยน์ญาลูต (อาหรับ: معركة عين جالوت หรือ เอนจาลูต; อัยน์ญาลูต แปลว่า "บ่อน้ำพุของโกลิอัท"[14]) เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 3 กันยายน ค.ศ. 1260 เป็นการสู้รบระหว่างมุสลิมมัมลุกกับชาวมองโกล สนามรบอยู่ทางตะวันออกเฉียงใต้ของกาลิลี ยุทธการครั้งนี้เป็นครั้งแรกที่ทัพมองโกลต้องถอยร่นหลังจากเข้าปะทะ[15]

หลังมองเกอ ข่านขึ้นเป็นข่านผู้ยิ่งใหญ่ในปี ค.ศ. 1251 พระองค์ก็สานต่อแผนการของเจงกีส ข่าน พระอัยกา (ปู่) ในการขยายจักรวรรดิมองโกล พระองค์ทรงเลือกฮูเลกู ข่าน ในการนำทัพ[16] ห้าปีต่อมา ฮูเลกูนำทัพลงทางใต้ บดขยี้เมืองที่ไม่ยอมสวามิภักดิ์ด้วย เช่น ดินแดนของราชวงศ์อับบาซียะฮ์[17] ซึ่งตอนนั้นเป็นหนึ่งในมหาอำนาจของภูมิภาคตะวันออกกลาง ฮูเลกูวางแผนบุกอียิปต์ต่อ และให้คณะทูตส่งสาส์นให้ชาวมัมลุกยอมแพ้[18] ซาอิฟ อัด-ดิน ควูทุซ สุลต่านมัมลุก ตอบโต้ด้วยการสั่งประหารคณะทูต และเสียบศีรษะประจานที่ประตูเมือง ในขณะนั้นมีข่าวการสวรรคตของมองเกอ ข่าน ฮูเลกูและนายพลอาวุโสหลายคนจึงต้องกลับไปเลือกข่านองค์ต่อไป แต่เขาก็จัดทัพไว้รับศึกชาวมัมลุก ทั้งสองฝ่ายพบกันที่เอนจาลูต ในหุบเขาเจซรีล โดยทัพมองโกลซึ่งมีกำลังผสมจากราชอาณาจักรจอร์เจียและอัศวินจากราชอาณาจักรซิลิเซีย เป็นฝ่ายบุก แต่มัมลุกซึ่งชำนาญพื้นที่มากกว่า บุกตีและถอยร่นเพื่อล่อให้ทัพมองโกลบุกเข้ามาจนสุดท้ายตกอยู่ในวงล้อม ทั้งสองฝ่ายเข้าปะทะกันอย่างรุนแรง หลังการสู้รบ ทัพมองโกลเกือบทั้งหมด รวมทั้งแม่ทัพคิตบูกาถูกสังหาร[19] ส่วนทัพมัมลุกเสียหายหนัก และควูทุซถูกลอบสังหารหลังจากนั้นไม่นานโดยไบบาร์ส[20] ฮูเลกู ข่าน ผู้ทราบข่าวความพ่ายแพ้ของทัพมองโกลที่เอนจาลูต เตรียมจัดทัพเพื่อเอาคืนมัมลุก แต่ความขัดแย้งภายในจักรวรรดิทำให้เขาไม่มีโอกาสได้ทำเช่นนั้น[21]

ยุทธการที่เอนจาลูตเป็นเหตุการณ์ที่มีความสำคัญ เพราะเป็นครั้งแรกที่ชาวมองโกลพ่ายแพ้ในการสู้รบโดยตรง และทำให้จักรวรรดิมองโกลหยุดการขยายอำนาจในเวลาต่อมา[22]

อ้างอิง[แก้]

  1. Runciman, Steven, A History of The Crusades, Vol. III, The Kingdom of Acre and the Later Crusades, Cambridge University Press, 1995, p.312
  2. John, Simon (2014). Crusading and warfare in the Middle Ages : realities and representations. Burlington, VT: Ashgate Publishing Limited. ISBN 9781472407412.
  3. D. Nicolle, The Mongol Warlords: Genghis Khan, Kublai Khan, Hülägü, Tamerlane. Plates by R. Hook, Firebird books: Pole 1990, p. 116.
  4. Waterson, p. 75
  5. Fisher, William Bayne; Boyle, J. A.; Boyle, John Andrew; Frye, Richard Nelson (1968). — Cambridge: Cambridge University Press, 1968. — Vol. 5: The Saljuq and Mongol Periods. — P. 351. — 778 p. ISBN 9780521069366. สืบค้นเมื่อ October 17, 2020.
  6. Cowley, p.44, states that both sides were evenly matched at 20,000 men. Cline says that "In short, the . . . armies that were to meet at 'Ayn Jalut were probably of approximately the same size, with between ten thousand and twenty thousand men in each.", p. 145. Fage & Oliver, however, state that "the Mongol force at Ayn Jalut was nothing but a detachment, which was vastly outnumbered by the Mamluk army", p. 43.
  7. Smith Jr, J. M. (1984). Ayn Jālūt: Mamlūk Success or Mongol Failure?. Harvard Journal of Asiatic Studies, p.310.
  8. Blair, S. (1995). A compendium of chronicles: Rashid al-Din's illustrated history of the world. Nour Foundation.
  9. John Masson Smith, Jr. (1984) Mongol Armies And Indian Campaigns, University of California, Berkeley.
  10. "Battle of ʿAyn Jālūt". สืบค้นเมื่อ October 17, 2020.
  11. "Battle of ʿAyn Jālūt". สืบค้นเมื่อ October 17, 2020.
  12. "Battle of ʿAyn Jālūt". สืบค้นเมื่อ October 17, 2020.
  13. Amitai-Preiss, p. 43
  14. StrategyPage.com - Military Book Reviews
  15. Tschanz, David W. "Saudi Aramco World : History's Hinge: 'Ain Jalut".
  16. Man, John (2006). Kublai Khan: From Xanadu to Superpower. London: Bantam Books. pp. 74–87. ISBN 978-0-553-81718-8.
  17. "The Mongol Invasion and the Destruction of Baghdad -- Lost Islamic History". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-08-14. สืบค้นเมื่อ 2015-04-23.
  18. Tschanz, David W. "Saudi Aramco World : History's Hinge: 'Ain Jalut".
  19. History Decided At The 'Spring Of Goliath': The Battle Of Ain Jalut
  20. Medieval Islamic Civilization: An Encyclopedia by Josef W. Me
  21. Battle of 'Ayn Jalut | Syrian history | Encyclopedia Britannica
  22. Battle of Ayn Jalut - Asian History - About.com