มิชลินไกด์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
มิชลินไกด์
ประเภท วิทยาการทำอาหาร, การท่องเที่ยว
นิตยสารราย ประจําปี
วันจำหน่ายฉบับแรก 2443 (124 ปี)
บริษัท มิชลิน
ประเทศ ประเทศฝรั่งเศส
เว็บไซต์ guide.michelin.com
หน้าปกมิชลินไกด์ฉบับปี ค.ศ. 1929
สัญลักษณ์ดาวหนึ่งดวง
สัญลักษณ์ดาวสองดวง
สัญลักษณ์ดาวสามดวง

มิชลินไกด์ (อังกฤษ: Michelin Guide) หรือ กีดมิชแล็ง (ฝรั่งเศส: Guide Michelin) เป็นหนังสือคู่มือที่บรรจุเนื้อหาเกี่ยวกับข้อมูลการเดินทาง แผนที่ สถานที่ท่องเที่ยว สถานที่พักแรม รวมถึงร้านอาหารขึ้นชื่อของสถานที่หรือประเทศต่าง ๆ โดยบริษัทมิชลิน บริษัทยางรถยนต์รายใหญ่ของโลกสัญชาติฝรั่งเศส ที่ก่อตั้งขึ้นในปี ค.ศ. 1888 จุดประสงค์ของมิชลินไกด์ คือ การกระตุ้นให้ผู้คนออกมาใช้การเดินทางโดยรถยนต์มากขึ้น เพื่อเพิ่มยอดจำหน่ายยางรถยนต์[1]

ประวัติและรางวัล[แก้]

แรกเริ่มมิชลินไกด์ใช้ชื่อว่า "กีดรูฌ" (Guide rouge) เนื่องจากเล่มหนังสือเป็นสีแดง แรกเริ่มเป็นหนังสือแจกฟรีมานานถึง 20 ปี แต่ต่อมาได้ถูกใช้เป็นกระดาษรองแก้วน้ำ จึงเริ่มจัดจำหน่ายในราคา 7 ฟรังก์ ในปี ค.ศ. 1920 และมีการใส่รายชื่อโรงแรมและร้านอาหารแบ่งตามประเภทเป็นครั้งแรกด้วย ในคริสต์ศตวรรษที่ 20 มิชลินไกด์ได้กลายเป็นหนังสือขายดี ปัจจุบันมิชลินจัดอันดับร้านอาหารและโรงแรมกว่า 40,000 แห่งในกว่า 24 ประเทศและดินแดน[2]

ได้มีการมอบรางวัลต่าง ๆ ให้ เรียกว่า "ดาวมิชลิน" โดยการมอบดาวหรือรางวัลให้แก่ร้านอาหารต่าง ๆ ในปี ค.ศ. 1926 โดยมีการแบ่งขั้นของดาว ตั้งแต่หนึ่งดาวจนถึงสามดาว โดยร้านอาหารที่ได้รับดาวนี้จะผ่านการพิจารณาจากคณะกรรมการหลายคน ในหลากหลายอาชีพ เพื่อให้ได้รับมุมมองที่มากที่สุด บางครั้งคณะกรรมการจะเข้าไปรับประทานโดยที่ไม่แจ้งให้กับทางร้านทราบล่วงหน้า และอาจต้องใช้เวลาในการชิมมากกว่าหนึ่งปี เพื่อให้ได้รับรู้มาตรฐานของร้านนั้น ๆ อย่างแท้จริง

  • หนึ่งดาว : ร้านอาหารที่ดีมากในกลุ่มร้านอาหารประเภทเดียวกัน (Une très bonne table dans sa catégorie)
  • สองดาว : อาหารอร่อยเลิศ คุ้มค่าแก่การขับออกนอกเส้นทางเพื่อแวะชิม (Table excellente, mérite un détour)
  • สามดาว : หนึ่งในบรรดาร้านอาหารยอดเยี่ยม ควรค่าแก่การเดินทางไปกิน (Une des meilleures tables, vaut le voyage)[3]

นอกจากนี้แล้วยังมีร้านอาหารประเภท "บีบกูร์ม็อง" (Bib Gourmand) คือ ร้านอาหารที่ดีเป็นพิเศษในราคาย่อมเยา

ในส่วนของประเทศไทย มิชลินไกด์ได้เริ่มมอบรางวัลเป็นครั้งแรกในปลายปี ค.ศ. 2017 สำหรับร้านอาหารในปีเดียวกัน นับเป็นประเทศที่ห้าในทวีปเอเชียที่มีการจัดอันดับ และเป็นลำดับที่สองของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้รองจากสิงคโปร์ ในระยะแรกดำเนินการเฉพาะร้านอาหารในพื้นที่กรุงเทพมหานครเท่านั้น ในครั้งแรกของการมอบรางวัล มีร้านที่ได้มิชลินสตาร์ทั้งหมด 17 ร้าน โดยบางร้านยังเป็นร้านอาหารริมทาง ทั้งนี้เนื่องจากมิชลินได้รับการวิจารณ์ว่าให้รางวัลแต่เฉพาะร้านอาหารที่หรูหราและโน้มเอียงไปทางอาหารฝรั่งเศส[4] และมีอีก 35 ร้านที่ได้บีบกูร์ม็อง[5] [1]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 "'มิชลินสตาร์' ที่ 'เจ๊ไฝ' ได้ เกี่ยวอะไรกับ 'ยางรถมิชลิน'?". บีบีซีไทย. 8 ธันวาคม 2017. สืบค้นเมื่อ 14 มกราคม 2018.
  2. Fairburn, Carolyn. "Fading stars – Michelin Red Guide" เก็บถาวร 10 พฤศจิกายน 2013 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, The Times, 29 February 1992; Beale, Victoria and James Boxell "Falling stars" เก็บถาวร 10 พฤศจิกายน 2013 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, The Financial Times, 16 July 2011
  3. "Michelin Guide History" เก็บถาวร 4 มีนาคม 2016 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, Provence and Beyond, accessed 19 May 2013.
  4. "มิชลิน ไกด์ กรุงเทพ". มิชลิน. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 10 เมษายน 2019. สืบค้นเมื่อ 14 มกราคม 2018.
  5. naNutt (6 ธันวาคม 2017). "มิชลินสตาร์มาแล้ว! เผยรายชื่อ 17 ร้านอาหารในกรุงเทพฯ รับรางวัล "ดาวมิชลิน"". dplusguide. สืบค้นเมื่อ 14 มกราคม 2018.

เอกสารเพิ่มเติม[แก้]

สิ่งพิมพ์ในคริสต์ศตวรรษที่ 20[แก้]

สิ่งพิมพ์ในคริสต์ศตวรรษที่ 21[แก้]

  • Trois étoiles au Michelin: Une histoire de la haute gastronomie française et européenne, by Jean-François Mesplède and Alain Ducasse, 2004. ISBN 2-7000-2468-0. Follows the 60-odd chefs who have been awarded three stars.
  • The Perfectionist: Life and Death in Haute Cuisine, by Rudolph Chelminski, 2006. ISBN 978-0-14-102193-5. The story of Bernard Loiseau.
  • From behind the wall: Danish Newspaper Berlingske Employee 'Awards'

ดูเพิ่ม[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]