มักนุส มันส์เคอ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
มักนุส มันส์เคอ
มักนุส มันส์เคอ ในปี ค.ศ. 2012
เกิดไฮน์ริช มักนุส มันส์เคอ
(1974-05-24) 24 พฤษภาคม ค.ศ. 1974 (49 ปี)
โคโลญ รัฐนอร์ทไรน์-เว็สท์ฟาเลิน ประเทศเยอรมนีตะวันตก
สัญชาติเยอรมนี เยอรมัน
ศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยโคโลญ
มีชื่อเสียงจาก
อาชีพทางวิทยาศาสตร์
สาขา
สถาบันที่ทำงาน
วิทยานิพนธ์เจนเทิล เครื่องมือชีววิทยาระดับโมเลกุลอเนกประสงค์แบบเสรี (ค.ศ. 2006)
อาจารย์ที่ปรึกษาในระดับปริญญาเอก
  • เฮลมุท เว ไคลน์
  • ซาบีเน วัฟเฟนชมิดท์[2]
เว็บไซต์MagnusManske.de

ไฮน์ริช มักนุส มันส์เคอ (เยอรมัน: Heinrich Magnus Manske) เป็นเจ้าหน้าที่วิทยาศาสตร์อาวุโสที่สถาบันเวลล์คัมทรัสต์แซงเจอร์ ในเคมบริดจ์ สหราชอาณาจักร[1][3][4][5][6] และเป็นนักพัฒนาซอฟต์แวร์รุ่นแรกของซอฟต์แวร์มีเดียวิกิ[7]

ชีวิตช่วงต้นและการศึกษา[แก้]

มันส์เคอ เกิดในโคโลญ ประเทศเยอรมนี

เขาศึกษาชีวเคมีที่มหาวิทยาลัยโคโลญ และสำเร็จการศึกษาในปี ค.ศ. 2006 ด้วยคุณวุฒิปริญญาเอก วิทยานิพนธ์ของเขาคือเครื่องมือโอเพนซอร์ซสำหรับอณูชีววิทยาที่เรียกว่าเจนเทิล[2][8]

ผลงานในระดับอาชีพ[แก้]

ในฐานะนักเรียน มันส์เคอเป็นหนึ่งในผู้เขียนบทความรายแรกของสารานุกรมอินเทอร์เน็ตนูพีเดีย ที่มาก่อนวิกิพีเดีย และต่อมาได้เขียนซอฟต์แวร์มีเดียวิกิเวอร์ชันแรกที่วิกิพีเดียใช้อยู่[9] มันส์เคอเคยทำงานที่เคมบริดจ์กับสถาบันเวลล์คัมทรัสต์แซงเจอร์ตั้งแต่เดือนเมษายนปี ค.ศ. 2007 [10][11][12][13][14] แต่ยังคงมีบทบาทในการพัฒนาเครื่องมือสำหรับวิกิพีเดีย[15] รวมถึงโครงการพี่น้องอย่างวิกิสนเทศและวิกิมีเดียคอมมอนส์[16]

ในปี ค.ศ. 2012 มันส์เคอเป็นผู้ร่วมเขียนบทความที่ตีพิมพ์ในนิตยสารเนเจอร์ ซึ่งแสดงให้เห็นถึงวิธีใหม่ในการระบุพื้นที่ที่มีการพัฒนาปรสิตมาลาเรีย และอธิบายเทคนิคในการวางแผนความต้านทานต่อยามาลาเรีย นักวิจัยได้พัฒนาเทคนิคในการสกัดดีเอ็นเอปรสิตมาลาเรียออกจากเลือดโดยตรง ซึ่งช่วยลดข้อผิดพลาดในการเรียงลำดับ[10][17]

การพัฒนามีเดียวิกิ[แก้]

ในฐานะนักเรียน มันส์เคอเป็นหนึ่งในผู้ที่มีบทบาทมากที่สุดในโครงการนูพีเดีย[18] ด้วยการเขียนเนื้อหาเกี่ยวกับหัวข้อชีววิทยา[9] และการพัฒนาเครื่องมือรวมถึงส่วนขยายสำหรับนูพีเดีย[19] ต่อมา เขาไม่พอใจกับข้อจำกัดของซอฟต์แวร์ที่มีอยู่[18] มันส์เคอได้พัฒนาหนึ่งในรุ่นแรกของสิ่งที่ต่อมากลายเป็นมีเดียวิกิ[19][20] โดยซอฟต์แวร์รุ่นใหม่ของเขาได้รับการติดตั้งในปี ค.ศ. 2002 [18]

ซอฟต์แวร์วิกิที่ใช้ในวิกิพีเดียแรกเริ่มเดิมทีเรียกว่ายูสมอดวิกิและได้รับการเขียนในภาษาเพิร์ล ซึ่งมีปัญหาของขนาดเริ่มต้นที่จะนำเสนอตัวเองเมื่อวิกิพีเดียเติบโตขึ้น ในช่วงฤดูร้อนปี ค.ศ. 2001 มันส์เคอเริ่มทำงานแทนยูสมอดวิกิซึ่งจะได้รับการสนับสนุนจากฐานข้อมูลและจะมี "คุณลักษณะเฉพาะของวิกิพีเดีย"[21] เมื่อวันที่ 25 มกราคม ค.ศ. 2002 มันส์เคอได้เปิดตัวเอนจินวิกิภาษาพีเอชพีที่ใช้มายเอสคิวเอลเวอร์ชันแรก เรียกว่าเฟส II[22] หนึ่งในนวัตกรรมที่ดำเนินการโดยมันส์เคอในเฟส II คือการใช้เนมสเปซเพื่อแยกหน้าเว็บประเภทต่าง ๆ เช่นเนมสเปซ "พูดคุย" หรือ "ผู้ใช้" ซึ่งแตกต่างจากซอฟต์แวร์วิกิที่เก่ากว่าซึ่งไม่มีเนมสเปซที่แตกต่างกัน[21] เฟส II ยังนำเสนอคุณลักษณะอื่น ๆ อีกหลายอย่างที่ยังคงมีอยู่ในปัจจุบัน รวมทั้งการอัปโหลดไฟล์, รายการเฝ้าดู, ลายเซ็นอัตโนมัติ และรายชื่อการมีส่วนร่วมของผู้ใช้[23][24] การเขียนใหม่ของมันส์เคอทำให้การรวบรวมรูปภาพในบทความวิกิพีเดียทำได้ง่ายขึ้น และสร้างกลุ่มผู้ใช้ใหม่: ผู้ดูแลระบบสามารถลบหน้าและบล็อกผู้ก่อกวน[18][25]

มันส์เคอเป็นผู้สนับสนุนโอเพนซอร์สและโดยเฉพาะใบสัญญาอนุญาตจีพีแอล และการทำงานของมีเดียวิกิเวอร์ชันก่อนหน้านี้ได้รับการเปิดตัวภายใต้สัญญาอนุญาตจีพีแอล[26]

ซอฟต์แวร์เฟส II ของมันส์เคอพบปัญหาเกี่ยวกับการโหลดเนื่องจากวิกิพีเดียยังคงเติบโตต่อไป ดังนั้น ลี แดเนียล คร็อกเกอร์ จึงเขียนใหม่ ซึ่งนำไปสู่เฟส III โดยได้ใช้ตั้งแต่เดือนมิถุนายน ค.ศ. 2002 และตั้งแต่ ค.ศ. 2003 เป็นต้นไป เรียกว่า "มีเดียวิกิ"[22] ปัจจุบันซอฟต์แวร์มีเดียวิกิได้รับการใช้เป็นแพลตฟอร์มหลักสำหรับทั้งวิกิพีเดียและโครงการวิกิมีเดียหลายโครงการ เช่นเดียวกับในหลายองค์กรและในหลายสถาบัน

มันส์เคอยังคงพัฒนาเครื่องมือและส่วนขยายสำหรับมีเดียวิกิ รวมทั้งเครื่องมือสำหรับการเป็นสมาชิกหมวดหมู่แผนที่, คำนวณทางแยกหมวดหมู่ และนำเข้าภาพจากฟลิคเกอร์ไปยังคอมมอนส์[27][28] มันส์เคอยังได้พัฒนาส่วนขยายไซต์ซึ่งนำวากยสัมพันธ์อย่างเอกซ์เอ็มแอลมาใช้กับการจัดการอ้างอิง[29]

คำกล่าวขวัญ[แก้]

มันส์เคอในอีเวนต์วิกิสนเทศเมื่อปี ค.ศ. 2015

มันส์เคอได้รับการยอมรับว่าเป็นผู้สร้างบทความแรกในวิกิพีเดียภาษาเยอรมัน ซึ่งเป็นบทความปฏิกิริยาลูกโซ่พอลิเมอเรส ที่เขียนครั้งแรกโดยเขาในปี ค.ศ. 2001 [30][31][32]

ในปี ค.ศ. 2002 จิมมี เวลส์ ได้ตั้งให้วันที่ 25 มกราคมเป็นวันมักนุส มันส์เคอ เพื่อเป็นเกียรติแก่การมีส่วนร่วมของเขาในวิกิพีเดีย เขาประกาศว่า "คืนนี้ตอนเย็น ชาววิกิพีเดียทุกคนควรดื่มอวยพรให้แก่มักนุสและการสร้างสรรค์มากมายของเขา"[33] ส่วนแลร์รี แซงเจอร์ ในความทรงจำของเขาช่วงต้นของประวัติศาสตร์วิกิพีเดีย ได้เน้นการมีส่วนร่วมของมันส์เคอในโครงการ และระบุถึงความสำเร็จในขั้นสุดท้ายของวิกิพีเดียต่อกลุ่มผู้กระทำหลัก ร่วมกันในบทบาทสำคัญ:

วิกิพีเดียเริ่มต้นกับกลุ่มคนจำนวนมากจากนูพีเดีย อิทธิพลของชาวนูพีเดียเป็นส่วนสำคัญในช่วงต้น ผมคิดว่าโดยเฉพาะอย่างยิ่งต่อความไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อยของมักนุส มันส์เคอ (ที่ทำงานเกี่ยวกับซอฟต์แวร์สำหรับทั้งสองโครงการ), ผู้มีความพิถีพิถันขาประจำของเราอย่างรูธ อิฟเชอร์ และนักเขียนโปรแกรมโป๊กเกอร์ที่ฉลาดมากอย่างลี แดเนียล คร็อกเกอร์—ก็ยังคงมีชื่ออยู่ เนื่องจากโครงการเริ่มต้นกับคนเก่งเหล่านี้ และเราก็สามารถที่จะนำมาใช้, อธิบาย และส่งเสริมกิจวัตรที่ดี รวมถึงนโยบายกับคนหน้าใหม่ รากของชาวนูพีเดียของโครงการช่วยในการพัฒนาที่แข็งแกร่ง, ชุมชนที่มีประสิทธิภาพ และประสบความสำเร็จ[34]

มันส์เคอ พร้อมกับคนอื่น ๆ ได้รับการยอมรับว่าเป็นผู้สนับสนุนหลักของมีเดียวิกิโดยสมาคมเทคนิคคอมพิวเตอร์ขั้นสูงยูสนิกซ์ในปี ค.ศ. 2010 เมื่อมีเดียวิกิและมูลนิธิวิกิมีเดียได้รับรางวัลสตัก (กลุ่มผู้ใช้เครื่องมือซอฟต์แวร์)[35]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 แม่แบบ:GoogleScholar
  2. 2.0 2.1 Magnus Manske (2006). GENtle, a free multi-purpose molecular biology tool (วิทยานิพนธ์ PhD). University of Cologne. สืบค้นเมื่อ 27 March 2016.
  3. แม่แบบ:DBLP
  4. แม่แบบ:AcademicSearch
  5. แม่แบบ:Scopus
  6. Daub, J.; Gardner, P. P.; Tate, J.; Ramsköld, D.; Manske, M.; Scott, W. G.; Weinberg, Z.; Griffiths-Jones, S.; Bateman, A. (2008). "The RNA WikiProject: Community annotation of RNA families". RNA. 14 (12): 2462–2464. doi:10.1261/rna.1200508. PMC 2590952. PMID 18945806.
  7. มักนุส มันส์เคอ ที่เอกซ์ (ชื่อเก่า: ทวิตเตอร์)
  8. Alastair Kerr (21 June 2011). "Desktop Sequence Analysis: software review". Bioinformatics Knowledge Blog. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-06-27. สืบค้นเมื่อ 4 June 2013.
  9. 9.0 9.1 Claudia Lehnen (2 February 2008). "Der Wikipedia-Pionier aus Köln" [The Wikipedia pioneer from Cologne]. Kölner Stadt-Anzeiger (ภาษาเยอรมัน). สืบค้นเมื่อ 22 June 2013.
  10. 10.0 10.1 Manske, M.; Miotto, O.; Campino, S.; Auburn, S.; Almagro-Garcia, J.; Maslen, G.; o’Brien, J.; Djimde, A.; Doumbo, O.; Zongo, I.; Ouedraogo, J. B.; Michon, P.; Mueller, I.; Siba, P.; Nzila, A.; Borrmann, S.; Kiara, S. M.; Marsh, K.; Jiang, H.; Su, X. Z.; Amaratunga, C.; Fairhurst, R.; Socheat, D.; Nosten, F.; Imwong, M.; White, N. J.; Sanders, M.; Anastasi, E.; Alcock, D.; และคณะ (2012). "Analysis of Plasmodium falciparum diversity in natural infections by deep sequencing". Nature. 487 (7407): 375–9. doi:10.1038/nature11174. PMC 3738909. PMID 22722859.
  11. Manske, H. M.; Kwiatkowski, D. P. (2009). "Look Seq: A browser-based viewer for deep sequencing data". Genome Research. 19 (11): 2125–32. doi:10.1101/gr.093443.109. PMC 2775587. PMID 19679872.
  12. Manske, H. M.; Kwiatkowski, D. P. (2009). "SNP-o-matic". Bioinformatics. 25 (18): 2434–5. doi:10.1093/bioinformatics/btp403. PMC 2735664. PMID 19574284.
  13. Robinson, T.; Campino, S. G.; Auburn, S.; Assefa, S. A.; Polley, S. D.; Manske, M.; MacInnis, B.; Rockett, K. A.; Maslen, G. L.; Sanders, M.; Quail, M. A.; Chiodini, P. L.; Kwiatkowski, D. P.; Clark, T. G.; Sutherland, C. J. (2011). "Drug-Resistant Genotypes and Multi-Clonality in Plasmodium falciparum Analysed by Direct Genome Sequencing from Peripheral Blood of Malaria Patients". PLoS ONE. 6 (8): e23204. doi:10.1371/journal.pone.0023204. PMC 3154926. PMID 21853089.
  14. Logan, D. W.; Sandal, M.; Gardner, P. P.; Manske, M.; Bateman, A. (2010). "Ten Simple Rules for Editing Wikipedia". PLOS Computational Biology. 6 (9): e1000941. doi:10.1371/journal.pcbi.1000941. PMC 2947980. PMID 20941386. สิ่งพิมพ์เผยแพร่เข้าถึงแบบเปิด อ่านได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย
  15. "Magnus Manske". สืบค้นเมื่อ 4 June 2013.
  16. Wikimedia-related tools by Magnus Manske
  17. "DNA Research; Putting parasites on the world map". China Weekly News. 26 June 2012.
  18. 18.0 18.1 18.2 18.3 Kurt Jansson (14 January 2011). "Zehn Jahre Wikipedia – Der kurze Sommer der Anarchie". Der Spiegel.
  19. 19.0 19.1 Jennifer Joline Anderson (2011). Wikipedia: The Company and Its Founders. ABDO. p. 44. ISBN 978-1-61714-812-5.
  20. Torsten Kleinz (16 December 2012). "Neues Werkzeug soll Anfänger zur Wikipedia locken". Die Zeit.
  21. 21.0 21.1 Sumana Harihareswara; Guillaume Paumier (2012). "MediaWiki". ใน Amy Brown; Greg Wilson (บ.ก.). The Architecture of Open Source Applications. Kristian Hermansen. ISBN 978-1-105-57181-7. สืบค้นเมื่อ 27 March 2016.
  22. 22.0 22.1 Rajeev Kumar. "Wiki Installation and Customization". สืบค้นเมื่อ 4 June 2013.
  23. "Wikipedia:PHP script new features". Wikipedia (ภาษาอังกฤษ). 2002-01-27.
  24. Magnus Manske (27 January 2002). "[Wikipedia-l] New features list". สืบค้นเมื่อ 4 June 2013.
  25. Erik Möller (9 May 2003). "Das Wiki-Prinzip". Heise online.
  26. N. A. Polukarova (June 2007). "The concept of open editing from the copyright viewpoint". Automatic Documentation and Mathematical Linguistics. Allerton Press, Inc. 41 (3): 104–107. doi:10.3103/S0005105507030053. ISSN 1934-8371. In simpler words, while the developers of proprietary programs use their copyrights to deprive most of the users of most of their freedoms, GPL adherents, including above-mentioned Magnus Manske, use these privileges to guarantee these freedoms to users.
  27. "Magnus' toys'n'tools". สืบค้นเมื่อ 4 June 2013.
  28. "Magnus' tools on wmflabs". สืบค้นเมื่อ 4 June 2013.
  29. Mathias Schindler; Denny Vrandečić (March 2009). "Introducing new features to Wikipedia" (PDF). ใน Hendler, Jim; Margetts, Helen (บ.ก.). Proceedings of the First International Conference on Web Sciences WebSci09. Athens, Greece. สืบค้นเมื่อ 4 June 2013.
  30. "German Wikipedia reaches landmark millionth entry". Deutsche Welle. 28 December 2009.
  31. dpa/mos (28 December 2009). "Deutsche Wikipedia erreicht eine Million Einträge". Die Zeit.
  32. Achim Sawall (28 December 2009). "Deutschsprachige Wikipedia erreicht die Millionenmarke". golem.de.
  33. "[Wikipedia-l] Celebration". 25 January 2002. สืบค้นเมื่อ 4 June 2013.
  34. Larry Sanger (2008). "The Early History of Nupedia and Wikipedia: A Memoir". Open Sources 2.0: The Continuing Evolution. O'Reilly Media. p. 317. ISBN 978-0-596-55389-0. {{cite book}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |editors= ถูกละเว้น แนะนำ (|editor=) (help)
  35. "STUG award". สืบค้นเมื่อ 4 June 2013.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]