ข้ามไปเนื้อหา

ภูวนิดา คุนผลิน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ภูวนิดา คุนผลิน
ไฟล์:ภูวนิดา คุนผลิน.jpg
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด23 ตุลาคม พ.ศ. 2511 (56 ปี)

ผศ.ดร.ภูวนิดา คุนผลิน รองเลขาธิการสมาคมวัฒนธรรมและเศรษฐกิจไทย-จีน [1] ผู้ช่วยศาสตราจารย์​มหาวิทยาลัยรังสิต[2] สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แบบบัญชีรายชื่อ (เดิมเป็น ส.ส.เขต 18 กรุงเทพมหานคร พรรคพลังประชาชน) อดีตโฆษกกระทรวงคมนาคมและกระทรวงวัฒนธรรม[3] อดีตเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศและเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ผู้ร่วมก่อตั้งพรรคไทยรักไทย พี่สาวดีเจนักร้อง ภูวนาท คุนผลินซึ่งเคยสมัคร ส.ก.เขตวังทองหลาง เขต 1 เมื่อ 23กรกฎาคม พ.ศ. 2549 แต่ไม่ได้ตำแหน่ง เป็นหนึ่งในกลุ่มพลังหญิง[4]

ในวันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2553 ได้เข้าร่วมกับกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ กล่าวปราศรัยโจมตีความล้มเหลวนโยบายรัฐบาลนายอภิสิทธิ์[5] ในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2554 ได้ลงสมัคร ส.ส.ระบบบัญชีรายชื่อ ลำดับที่ 25 ของพรรคเพื่อไทย[6]วันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2563 ภูวนิดา คุนผลิน ได้ลาออกจากสมาชิกพรรคเพื่อไทย[7]

ประวัติ

[แก้]

ดร.ภูวนิดา คุนผลิน เกิดเมื่อวันที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2511 เป็นบุตรของร้อยเอกชม คุนผลิน กับ ดร.มาลีรัตน์ คุนผลิน เป็นบุตรคนโตในจำนวนพี่น้อง 4 คน ได้แก่[8]

  • ดร.ภูวนิดา คุนผลิน
  • น.ส.ภูวดี คุนผลิน
  • นายภูวไนย คุนผลิน
  • ดร.ภูวนาท คุนผลิน นักร้อง นักแสดง สังกัดจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่

การศึกษา

[แก้]

ภูวนิดา จบการศึกษาวิทยาศาสตรบัณฑิต (คอมพิวเตอร์) จากมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อปี พ.ศ. 2532 จบปริญญาโท พัฒนบริหารศาสตรมหาบัณฑิต จากสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ ปี พ.ศ. 2537 และจบปริญญาเอก รปศ.ด. (การบริหารการจัดการภาครัฐและภาคเอกชน) จากมหาวิทยาลัยรามคำแหง ในปี พ.ศ. 2550

ต่อมาในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 เขาได้สมัครรับเลือกตั้งในระบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคเพื่อไทย ลำดับที่ 46[9] แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง เนื่องจากพรรคเพื่อไทยมีจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมากกว่าจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพึงมีตามที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. คำสั่งสมาคมวัฒนธรรมและเศรษฐกิจไทย-จีน
  2. ข้อมูลอาจารย์มหาวิทยาลัยรังสิต[ลิงก์เสีย]
  3. น.ส.ภูวนิดา คุณผลิน โฆษกกระทรวงวัฒนธรรม[ลิงก์เสีย]
  4. "กลุ่มพลังหญิงร่วมกับเสื้อแดงออกแถลงการณ์25มกราคมพ.ศ. 2554". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-01-25. สืบค้นเมื่อ 2011-01-27.
  5. นปช.คึกเสื้อแดงต่างจังหวัดทยอยร่วมชุมนุม[ลิงก์เสีย]
  6. รายชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้ง ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ เก็บถาวร 2011-06-26 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนจากเว็บไซต์ สำนักงาน กกต. สืบค้นวันที่ 3 มิถุนายน 2554
  7. เพื่อไทย : ลาออกอีก 5 ราย รวม ดร.ภูวนิดา อดีต ส.ส.กทม.
  8. บัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินของ นางสาวภูวนิดา คุนผลิน[ลิงก์เสีย]
  9. เปิด 97 บัญชีรายชื่อเพื่อไทย 'บรรยิน'ลุ้นได้เป็นส.ส.
  10. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๔ เก็บถาวร 2022-09-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๘ ตอนที่ ๒๔ ข หน้า ๓๐, ๒ ธันวาคม ๒๕๕๔
  11. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2022-06-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๑ ตอนที่ ๒๓ ข หน้า ๖๖, ๒๖ พฤศจิกายน ๒๕๔๗

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]