ภาษาลูอา
กระบวนทัศน์ | หลายกระบวนทัศน์: สคริปต์, เชิงคำสั่ง (procedural, prototype-based, เชิงวัตถุ), เชิงฟังก์ชัน |
---|---|
ผู้ออกแบบ | Roberto Ierusalimschy Waldemar Celes Luiz Henrique de Figueiredo |
เริ่มเมื่อ | 1993 |
รุ่นเสถียร | 5.4.2
/ 3 ธันวาคม 2020 |
ระบบชนิดตัวแปร | Dynamic, strong, duck |
ภาษาโปรแกรม | ANSI C |
ระบบปฏิบัติการ | ข้ามแพลตฟอร์ม |
สัญญาอนุญาต | สัญญาอนุญาต MIT |
นามสกุลของไฟล์ | .lua |
เว็บไซต์ | www |
ตัวแปลภาษาหลัก | |
Lua, LuaJIT, LuaVela | |
ภาษาย่อย | |
Metalua, Idle, GSL Shell, Luau | |
ได้รับอิทธิพลจาก | |
C++, CLU, Modula, Scheme, SNOBOL | |
ส่งอิทธิพลต่อ | |
GameMonkey, Io, JavaScript, Julia, MiniD, Red, Ring,[1] Ruby, Squirrel, MoonScript, C-- |
ลูอา (/ˈluːə/ loo-ə; จากโปรตุเกส: lua [ˈlu.(w)ɐ] แปลว่า ดวงจันทร์) เป็นภาษาโปรแกรมระดับสูง น้ำหนักเบา หลายกระบวนทัศน์ ออกแบบมาสำหรับการฝังตัวในแอพพลิเคชัน[2] ลูอาเป็นภาษาแบบข้ามแพลตฟอร์มเนื่องจากตัวแปลรหัสไบต์ที่คอมไพล์ถูกเขียนด้วย ANSI C[3] และลูอามี C API ที่แบบง่ายสำหรับฝังลงในแอปพลิเคชัน[4]
ลูอาได้รับการออกแบบในปี 1993 เพื่อเป็นภาษาสำหรับการเพิ่มเติมลงในแอพพลิเคชั่นซอฟต์แวร์เพื่อตอบสนองความต้องการสำหรับการปรับแต่งที่เพิ่มขึ้นในเวลานั้น มีสิ่งอำนวยความสะดวกพื้นฐานของภาษาโปรแกรมส่วนใหญ่ แต่ไม่รวมคุณสมบัติที่ซับซ้อนหรือเฉพาะโดเมน แต่มีกลไกในการขยายภาษาทำให้โปรแกรมเมอร์สามารถใช้คุณสมบัติดังกล่าวได้ เนื่องจากลูอาตั้งใจให้เป็นภาษาส่วนขยายที่ฝังได้ทั่วไป นักออกแบบของลูอาจึงมุ่งเน้นไปที่การปรับปรุงความเร็ว การพกพา ความสามารถในการขยาย และความสะดวกในการพัฒนา
คุณสมบัติ
[แก้]ไวยากรณ์
[แก้]โปรแกรมเฮลโลเวิลด์สามารถเขียนได้ดังนี้
print("Hello World!")
หรือ:
print 'Hello World!'
คำอธิบายเริ่มต้นด้วยสองยัติภังค์ (--
) และสิ้นสุดบนบรรทัดนั้น สำหรับคำอธิบายหลายบรรทัดสามารถใช้วงเล็บก้ามปูติดกันสองตัว (--[[ ]]--
)
ฟังก์ชันสำหรับแฟกทอเรียลสามารถเขียนได้ดังนี้
function factorial(n)
local x = 1
for i = 2, n do
x = x * i
end
return x
end
การควบคุมการไหล
[แก้]ลูอามีการทำซ้ำอยู่สี่แบบ: while
loop, repeat
loop (คล้ายกับ do while
loop), for
loop แบบตัวเลข และ for
loop ทั่วไป
--condition = true
while condition do
--statements
end
repeat
--statements
until condition
for i = first, last, delta do --delta may be negative, allowing the for loop to count down or up
--statements
--example: print(i)
end
for
loop แบบทั่วไป:
for key, value in pairs(_G) do
print(key, value)
end
จะวนซ้ำบนตาราง _G
โดยใช้ฟังก์ชันมาตรฐาน pairs
วนซ้ำจนกว่าจะคืนค่า nil
การวนซ้ำยังสามารถใช้ซ้อนทับกันได้
local grid = {
{ 11, 12, 13 },
{ 21, 22, 23 },
{ 31, 32, 33 }
}
for y, row in ipairs(grid) do
for x, value in ipairs(row) do
print(x, y, grid[y][x])
end
end
ฟังก์ชัน
[แก้]การที่ลูอาใช้ฟังก์ชันแบบค่า first-class แสดงให้เห็นในตัวอย่าง โดยที่ฟังก์ชัน print ถูกแก้ไข:
do
local oldprint = print
-- เก็บฟังก์ชั้น print ปัจจุบันเป็น oldprint
function print(s)
--[[ ตั้งฟังก์ชัน print ใหม่. print เดิมยังสามารถใช้งานได้ผ่าน oldprint
อันใหม่มีแค่ argument เดียว]]
oldprint(s == "foo" and "bar" or s)
end
end
การเรียกใช้ print
ต่อจากนี้จะย้ายไปยังฟังก์ชันใหม่ และเพราะ lexical scoping ของลูอา ฟังก์ชัน print เก่าจะสามารถเข้าถึงได้เฉพาะฟังก์ชัน print ใหม่ที่ถูกแก้ไขแล้ว
ลูอาสนับสนุนส่วนปิดคลุม ดังตัวอย่างข้างล่าง:
function addto(x)
-- ให้ฟังก์ชันใหม่ที่เพิ่ม x ลงใน argument คืน
return function(y)
--[=[ เมื่อเรียกใช้ตัวแปร x ซึ่งอยู่ข้างนอก scope ปัจจุบันและมีอายุน้อยกว่าฟังก์ชันนี้
ลูอาจะสร้างส่วนปิดคลุม]=]
return x + y
end
end
fourplus = addto(4)
print(fourplus(3)) -- แสดงผล 7
--นอกจากนั้นยังเรียกใช้ตามนี้ได้:
print(addto(4)(3))
--[[ เพราะว่าเราเรียกฟังก์ชันที่ส่งกลับมาจาก ด้วย argument 4 โดยตรง สิ่งนี้ช่วยลดราคาข้อมูลและประสิทธิภาพจากถูกเรียกซ้ำ ๆ
]]
ส่วนปิดคลุมสำหรับตัวแปร x
สร้างขึ้นทุกครั้งที่ addto
ถูกเรียก นั่นทำให้ฟังก์ชันใหม่ที่ถูกคินค่าจะเข้าถึง parameter x
ของตัวเองเสมอ ส่วนปิดคลุมควบคุมด้วยที่เก็บขยะของลูอาคล้ายกับวัตถุอื่น ๆ
ตาราง
[แก้]การใช้งาน
[แก้]ในการพัฒนาวิดีโอเกม ลูอาถูกใช้อย่างกว้างขวางในฐานะภาษาสคริปต์โดยโปรแกรมเมอร์ส่วนใหญ่ เนื่องจากความง่ายในการฝัง การดำเนินการที่รวดเร็ว และช่วงการเรียนรู้ที่สั้น[5]
ในปี 2003 การสำรวจความคิดเห็นของ GameDev.net พบว่าลูอาเป็นภาษาสคริปต์ที่ได้รับความนิยมมากที่สุดสำหรับการเขียนโปรแกรมเกม[6] เมื่อวันที่ 12 มกราคม 2012 ลูอาได้รับการประกาศให้เป็นผู้ชนะรางวัล Front Line Award 2011 จากนิตยสาร Game Developer ในหมวด Programming Tools[7]
ยังมีการใช้งานที่ไม่ใช่เกมจำนวนมากที่ใช้ลูอาสำหรับการขยายเช่น LuaTeX ซึ่งมาจากภาษาเรียงพิมพ์ TeX, Redis, ฐานข้อมูลคีย์-ค่า, Neovim, โปรแกรมแก้ไขข้อความ และเว็บเซิร์ฟเวอร์ Nginx
ผ่านส่วนขยาย Scribunto ลูอายังใช้เป็นภาษาสคริปต์ฝั่งเซิร์ฟเวอร์ในซอฟต์แวร์มีเดียวิกิที่ใช้ที่ขับเคลื่อนวิกิพีเดียและวิกิอื่น ๆ[8][9] ตัวอย่างการใช้งานเช่นเป็นตัวช่วยให้สามารถรวมข้อมูลจากวิกิสนเทศลงในบทความได้[10] และทำให้ใช้ระบบตารางจำแนกพันธุ์อัตโนมัติได้
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Ring Team (5 December 2017). "The Ring programming language and other languages". ring-lang.net. ring-lang. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-12-25. สืบค้นเมื่อ 2021-01-18.
- ↑ Ierusalimschy, Roberto; de Figueiredo, Luiz Henrique; Filho, Waldemar Celes (June 1996). "Lua—An Extensible Extension Language". Software: Practice and Experience. 26 (6): 635–652. doi:10.1002/(SICI)1097-024X(199606)26:6<635::AID-SPE26>3.0.CO;2-P. สืบค้นเมื่อ 24 October 2015.
- ↑ "About Lua". Lua.org. สืบค้นเมื่อ 2011-08-11.
- ↑ Yuri Takhteyev (21 April 2013). "From Brazil to Wikipedia". Foreign Affairs. สืบค้นเมื่อ 25 April 2013.
- ↑ "Why is Lua considered a game language?". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 20 August 2013. สืบค้นเมื่อ 2017-04-22.
{{cite web}}
: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์) - ↑ "Poll Results". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 7 December 2003. สืบค้นเมื่อ 2017-04-22.
{{cite web}}
: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์) - ↑ "Front Line Award Winners Announced". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 June 2013. สืบค้นเมื่อ 2017-04-22.
{{cite web}}
: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์) - ↑ "Extension:Scribunto - MediaWiki". MediaWiki.org. สืบค้นเมื่อ 21 February 2019.
- ↑ "Wikipedia:Lua". สืบค้นเมื่อ 2018-12-19.
- ↑ "Wikidata:Infobox Tutorial - Wikidata". www.wikidata.org. สืบค้นเมื่อ 2018-12-21.